ในปัจจุบันกว่า 75% ของผู้หญิง กำลังประสบปัญหากับอาการปวดท้องประจำเดือน โดยมีอาการปวดเกร็ง ปวดหน่วงท้องน้อย ปวดบั้นเอว หรือขณะที่เป็นประจำเดือน อาจพบอาการปวดศีรษะ มึนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย ในบางรายอาจรุนแรงถึงขั้นปวดบิด จนหมดสติเป็นลม ทำให้รบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน การทำงานหรือการเรียนเป็นอย่างมาก
อาการที่พบบ่อย
- ปวดท้องขณะมีประจำเดือน
- ปวดก่อนมีประจำเดือน
- ประจำเดือนมาผิดปกติ
- ประจำเดือนสีเข้ม มีลิ่มเลือดหรือมีก้อนเลือด
- พบความผิดปกติอื่นๆ ของมดลูก รังไข่ หรือภายในอุ้งเชิงกราน
- เจ็บคัดตึงเต้านม เจ็บเสียดชายโครง แน่นหน้าอก
อาการปวดจาก 2 สาเหตุสำคัญ
- ปวดท้องประจำเดือนชนิด “ปฐมภูมิ” สาเหตุหลักมักเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ส่งผลให้มดลูกมีการบีบและหดเกร็ง โดยที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากความผิดปกติใดๆ ของมดลูก รังไข่ หรือจากภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ
- ปวดท้องประจำเดือนชนิด “ทุติยภูมิ” สาเหตุหลักของการปวดท้องประจำเดือนชนิดนี้ เกิดจากความผิดปกติของมดลูก รังไข่หรือภายในอุ้งเชิงกราน เช่น เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เนื้องอกมดลูก เนื้องอกรังไข่ ถุงน้ำในรังไข่ ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ เป็นต้น
แนวทางการบำบัดแบบทั่วไป
การบำบัดทั่วไปจะเน้นรักษาโดยการรับประทานยาแก้ปวดเพื่อระงับอาการปวด หรือรับประทานยาฮอร์โมน ยาคุมกำเนิด เพื่อปรับฮอร์โมน แต่ผลข้างเคียงของการใช้ยาฮอร์โมนนั้น อาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน การมีเลือดออกกะปริดกะปรอย ส่งผลกระทบต่อโอกาสการตั้งครรภ์ เป็นต้น ถ้าความผิดปกตินั้นเกิดจากความผิดปกติของมดลูกหรือรังไข่ จะส่งผลให้เกิดอาการปวดท้องประจำเดือน มักจะทำการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดรักษา ในผู้ที่มีปัญหาจากความผิดปกติในมดลูกหรือรังไข่
สาเหตุของอาการปวดท้องประจำเดือน ในมุมมองการแพทย์จีน
- ปัจจัยภายนอก (外因) ปัจจัยภายนอกที่ส่งผลกระทบให้เกิดอาการปวดท้องประจำเดือนได้แก่ พิษเย็น พิษชื้น พิษร้อน เช่น การดื่มน้ำเย็นเป็นประจำ รับประทานอาหารที่มีฤทธิ์เย็น เช่น น้ำมะพร้าว หรือสระผมในช่วงที่เป็นประจำเดือน ทำให้พิษเย็นอุดกั้นเส้นลมปราณบริเวณมดลูก ส่งผลให้เลือดและพลังลมปราณบริเวณมดลูก เกิดการติดขัดไหลเวียนไม่สะดวก คั่งค้างกลายเป็นเลือดคั่ง ทำให้ปวดท้องประจำเดือน ซึ่งสอดคล้องตามทฤษฎีแพทย์จีน “ปวดแสดงว่าไม่โล่ง โล่งแล้วจะไม่ปวด” (不通则痛)
- ปัจจัยภายใน (内因) ปัจจัยภายในที่ส่งผลกระทบให้เกิดอาการปวดท้องประจำเดือนได้แก่ ความเครียดสะสม การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ คิดมาก วิตกกังวลเป็นประจำ ทำให้กระทบต่อการกระจายพลังลมปราณของตับ ส่งผลให้เลือดและพลังลมปราณไหลเวียนไม่สะดวก เกิดการติดขัด คั่งค้างกลายเป็นเลือดคั่ง ทำให้เกิดอาการปวดท้องประจำเดือน หรือร่างกายอ่อนแอ พักผ่อนไม่เพียงพอ เลือดและพลังลมปราณพร่องลง ส่งผลให้เส้นลมปราณบริเวณมดลูกและมดลูก ขาดการหล่อเลี้ยง ร่วมกับการมีภาวะเลือดคั่งทำให้เกิดอาการปวดท้องประจำเดือน ซึ่งสอดคล้องตามทฤษฎีแพทย์จีน “ปวดแสดงว่าขาดการหล่อเลี้ยง เมื่อได้รับการหล่อเลี้ยงแล้วก็จะไม่ปวด”(不荣则痛)
การแพทย์จีนมีวิธีบำบัดอย่างไร
การแพทย์จีนจึงนิยมใช้สมุนไพรจีนที่มีสรรพคุณในการบำบัดอาการปวดท้องประจำเดือน ดังนี้
- สลายเลือดคั่ง (化瘀)
- ลดอาการปวด (止痛)
- กระตุ้นการไหลเวียนเลือด (活血)
- สลายก้อน (消癥)
จากการศึกษาวิจัยและทดลองทางการแพทย์และเภสัชวิทยาในปัจจุบันพบว่า ยาสมุนไพรจีนที่อยู่ในรูปแบบสารสกัดเป็นรูปแบบที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งคงผลได้ยาวนาน เนื่องจากสามารถสกัดและควบคุมสารออกฤทธิ์ได้อย่างแม่นยำ
กลไกการออกฤทธิ์
- ลดอาการปวด ลดระดับอัตราส่วน PGF2 / TXB2
- ปรับสมดุลการไหลเวียนเลือดทั่วร่างกาย ลดความหนืดความข้นของเลือด ลด Hemotocrit
- ปรับสมดุลระบบภูมิคุ้มกัน เพิ่มระดับ IgG ,IgM, CD4+/CD8+, NK cell
- ลดการอักเสบ ลดระดับสารที่ทําให้อักเสบ เช่น IL-1β,IL-2 ,TNF-α และเพิ่มสารที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ เช่น IL-4, IL-10
- ปรับสมดุลฮอร์โมน ปรับสมดุลระดับ Estrogen / Progesterone เพื่อเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์
ผลการทดลองทางคลินิก
ผลการทดลองทางคลินิกตามหลักการแพทย์สากลพบว่า มีประสิทธิภาพในการบำบัด อาการปวดท้องประจำเดือน ลดระยะเวลาการกำเริบ ลดโอกาสการกลับมาเป็นซ้ำ รวมถึงบำบัดอาการปวดท้องประจำเดือน ที่เกิดจากภาวะเลือดคั่ง ตามศาสตร์การแพทย์จีน ส่งผลให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้นตามลำดับ พร้อมยังลดผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วยอีกด้วย
- บำบัดอาการปวดท้องประจำเดือนชนิดปฐมภูมิ และบำบัดอาการปวดท้องประจำเดือน ที่เกิดจากภาวะเลือดคั่งตามศาตร์การแพทย์จีน 95% [1]
- บำบัดอาการปวดท้องประจำเดือนชนิด ทุติยภูมิ 92% [2]
[1] 中华中医药学刊,2007,25(9):1810-1813.
[2] 社区中医药.2009,15:172-173.