หน้าแรก  »  บทความสุขภาพ  »  อัตราส่วน LDL ต่อ HDL คืออะไร ใช้บอกอะไรได้บ้าง

อัตราส่วน LDL ต่อ HDL คืออะไร ใช้บอกอะไรได้บ้าง

อัตราส่วน LDL ต่อ HDL คืออะไร ใช้บอกอะไรได้บ้าง

ค่าผลตรวจไขมันในเลือดที่คนส่วนใหญ่คุ้นเคยกันดีก็คงหนีไม่พ้น Total Cholesterol, LDL, HDL และ Triglyceride แต่นอกจาก 4 ค่านี้แล้ว ก็ยังมีการนำบางค่ามาคำนวณเป็นค่าอื่นๆ เพิ่มเติมอีก ซึ่งหนึ่งในนั้นก็จะมีอัตราส่วน LDL ต่อ HDL ที่ได้รับความสนใจมากเป็นพิเศษ

สำหรับท่านใดที่ยังไม่ทราบว่าอัตราส่วน LDL ต่อ HDL คืออะไร แล้วใช้บอกอะไรเราได้บ้าง เอินเวย์ ในฐานะของผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์สมุนไพรจีนสมัยใหม่ ก็ขออาสามาให้ข้อมูลในบทความนี้เองค่ะ

อัตราส่วน LDL ต่อ HDL คืออะไร

เป็นที่ทราบกันดีว่าคอเลสเตอรอลชนิด LDL (ไขมันเลว) ถ้ามีมากเกินไปก็จะทำให้เสี่ยงเกิดหลอดเลือดอุดตันมากขึ้น และในทางกลับกัน การมีคอเลสเตอรอลชนิด HDL (ไขมันดี) น้อยเกินไปก็จะทำให้เสี่ยงเกิดหลอดเลือดอุดตันมากขึ้นเช่นกัน

จากความตรงกันข้ามนี้ จึงเกิดแนวคิดการนำทั้ง 2 ค่ามาหารกัน ได้เป็นอัตราส่วน LDL ต่อ HDL (LDL/HDL Ratio) โดยจะมีจุดเด่นคือเป็นการนับรวมทั้งปัจจัยบวกและปัจจัยลบไว้ในค่าเดียวกัน (ค่าอัตราส่วนนี้จะสูงขึ้นทั้งในกรณีที่ LDL สูงขึ้น หรือ HDL ต่ำลง ซึ่งจะมีผลเสียทั้งคู่)

ตัวอย่างการคำนวณ

สมมติว่าผลตรวจ LDL คือ 100 mg/dL และผลตรวจ HDL คือ 50 mg/dL การคำนวณค่าอัตราส่วน LDL ต่อ HDL ก็จะสามารถทำได้ดังนี้

อัตราส่วน LDL ต่อ HDL = LDL/HDL = 100/50 = 2

อัตราส่วน LDL ต่อ HDL ใช้บอกอะไรได้บ้าง

มีงานวิจัยหลายชิ้นพบว่าอัตราส่วน LDL ต่อ HDL อาจเป็นค่าที่ใช้ประเมินความเสี่ยงของโรคหัวใจได้ดีกว่าการใช้ค่า LDL และ HDL โดยตรง จากข้อมูลนี้ แพทย์บางส่วนจึงนิยมใช้อัตราส่วน LDL ต่อ HDL ในการประเมินผู้ป่วยร่วมกับค่าไขมันในเลือดมาตรฐาน

สำหรับเกณฑ์ปกติของอัตราส่วน LDL ต่อ HDL นั้น ก็อาจต่างกันไปบ้างตามแต่ข้อมูลอ้างอิงที่ใช้ แต่คร่าวๆ แล้วก็ควรจะน้อยกว่า 3.5 หรือถ้าจะให้ดียิ่งขึ้นก็ควรจะน้อยกว่า 2.5

ข้อจำกัดของอัตราส่วน LDL ต่อ HDL

แม้อัตราส่วน LDL ต่อ HDL อาจเป็นค่าที่ใช้ประเมินความเสี่ยงของโรคหัวใจได้ดี แต่ก็ยังมีข้อจำกัดอยู่หลายข้อ ซึ่งก็ได้แก่

  • ยังมีข้อมูลการศึกษาค่อนข้างจำกัด
  • ยังขาดเกณฑ์ประเมินมาตรฐาน เกณฑ์ประเมินที่ใช้ในปัจจุบันอาจต่างกันไปสำหรับแต่ละที่
  • แนวทางเวชปฏิบัติปัจจุบัน (เช่น แนวทางเวชปฏิบัติการใช้ยารักษาภาวะไขมันผิดปกติฯ และ ACC/AHA Guideline) ยังคงแนะนำให้ใช้ค่าไขมันในเลือดมาตรฐาน อย่างเช่น LDL, HDL และ Triglyceride รวมถึงค่า Non-HDL Cholesterol (ได้จากการลบ Total Cholesterol ด้วย HDL) ในการประเมินและวางแผนการรักษา

ด้วยข้อจำกัดเหล่านี้ อัตราส่วน LDL ต่อ HDL จึงยังไม่ควรถูกใช้โดดๆ หรือถูกใช้เป็นตัวชี้ขาดในการประเมินและวางแผนการรักษาผู้ป่วย

ค่าคำนวณไขมันในเลือดอื่นๆ

นอกจากอัตราส่วน LDL ต่อ HDL แล้ว ก็ยังมีค่าคำนวณอื่นๆ ที่มีความน่าสนใจไม่แพ้กัน ซึ่งก็ได้แก่

  • อัตราส่วน Total Cholesterol ต่อ HDL ได้จากการหาร Total Cholesterol ด้วย HDL
  • อัตราส่วน Triglyceride ต่อ HDL ได้จากการหาร Triglyceride ด้วย HDL

ค่าเหล่านี้หากมีการศึกษาจนเกิดเป็นข้อสรุปที่ชัดเจนแล้ว ก็มีโอกาสที่จะถูกนำไปใช้ในการประเมินความเสี่ยงและวางแผนการรักษาสำหรับโรคที่เกี่ยวข้องมากขึ้น

วิธีดูแลไขมันในเลือด

สำหรับคนทั่วไป การเลือกใช้ค่าใดในการประเมินความเสี่ยง อาจไม่ได้สำคัญเท่าการเลือกวิธีที่จะช่วยดูแลไขมันในเลือดได้อย่างเหมาะสม ซึ่งก็จะมีข้อแนะนำดังนี้

  • จำกัดไขมันอิ่มตัว ซึ่งพบมากในอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ติดมัน น้ำมันสัตว์ เนย น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว กะทิ ฯลฯ เนื่องจากไขมันอิ่มตัวจะทำให้ LDL สูงขึ้น หากได้รับมากเกินไป
  • เลี่ยงไขมันทรานส์ ซึ่งพบได้ในเนยขาวและเนยเทียมบางสูตร รวมถึงอาหารที่ใช้เนยเหล่านี้ (ประเทศไทยห้ามผลิต นำเข้า และจำหน่ายไขมันทรานส์ตั้งแต่ปี 2019) เนื่องจากไขมันทรานส์จะทำให้ LDL สูงขึ้น และทำให้ HDL ลดลง
  • จำกัดน้ำตาล ซึ่งพบมากในอาหารจำพวกน้ำหวาน น้ำอัดลม ขนมหวาน ไอศครีม เบเกอรี่บางชนิด ฯลฯ เนื่องจากการได้รับน้ำตาลเกินจะทำให้ LDL และ Triglyceride สูงขึ้น และยังทำให้ HDL ลดลงอีกด้วย
  • จำกัดแอลกอฮอล์ ซึ่งพบได้ในเหล้า เบียร์ ไวน์ ฯลฯ เนื่องจากการได้รับแอลกอฮอล์เกิน จะทำให้ Triglyceride สูงขึ้น
  • กินอาหารที่ดีต่อสุขภาพหลอดเลือดเพิ่มขึ้น เช่น ข้าวแป้งขัดสีน้อย ถั่ว ธัญพืช ผัก ผลไม้ นมไขมันต่ำ เนื้อสัตว์ไขมันต่ำ ฯลฯ เพื่อแทนที่อาหารที่มีผลเสีย
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เน้นเป็นประเภทแอโรบิค อย่างเช่น เดินเร็ว วิ่ง ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน กระโดดเชือก ฯลฯ ที่ความหนักระดับปานกลาง อย่างน้อยสัปดาห์ละ 150 นาที ซึ่งจะมีผลช่วยลด LDL และ Triglyceride และช่วยเพิ่ม HDL
  • ดูแลน้ำหนักตัว พยายามให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ผ่านการควบคุมพลังงานที่ได้รับจากอาหาร ร่วมกับการเพิ่มกิจกรรมทางกาย ซึ่งจะมีผลดีกับทั้ง LDL, HDL และ Triglyceride
  • งดสูบบุหรี่ ทั้งการสูบเองและการได้รับควันบุหรี่จากผู้อื่น เนื่องจากสารพิษจากควันบุหรี่จะทำให้ LDL สูงขึ้น HDL ต่ำลง และยังส่งผลทำร้ายหลอดเลือดโดยตรงอีกด้วย
  • ดูแลโรคประจำตัวที่เกี่ยวข้อง เช่น โรคเบาหวาน ภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ ฯลฯ เนื่องจากโรคประจำตัวเหล่านี้ หากควบคุมไม่ดี ก็จะมีผลเสียต่อไขมันในเลือด
  • ปรับยาที่ใช้ หากยาที่ใช้อยู่มีผลข้างเคียงต่อไขมันในเลือด ก็ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรผู้ดูแล ทั้งนี้ ผู้ป่วยไม่ควรปรับหรือหยุดยาเองเป็นอันขาด
  • ใช้ยาลดไขมันในเลือด หากการปรับพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดไขมันในเลือดไม่ได้ผล หรือแพทย์พิจารณาแล้วเห็นว่าควรใช้ยาช่วย แพทย์ก็จะจ่ายยาลดไขมันให้ตามความเหมาะสม

การดูแลสุขภาพหลอดเลือดตามทัศนะการแพทย์จีน

การแพทย์จีนนิยมใช้วิธีบำบัดแบบองค์รวมและปรับสมดุลร่างกาย ผ่านตำรับยาที่สกัดจากพืชสมุนไพรธรรมชาติหลายชนิด เพื่อการดูแลสุขภาพหลอดเลือดที่ครอบคลุมและยั่งยืน ซึ่งก็จะมีหลักการทำงานดังนี้

  • ปรับสมดุลตับ เพื่อให้ตับผลิตไขมันในปริมาณที่เหมาะสม ไม่ผลิตไขมันมากหรือเร็วเกินไป
  • ลดระดับไตรกลีเซอไรด์ เพิ่ม HDL เพื่อส่งเสริมการนำ LDL ซึ่งเป็นคอเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดีไปทำลายที่ตับ
  • สลายภาวะเลือดคั่ง ลดความข้นหนืดของเซลล์เม็ดเลือด
  • ยับยั้งการก่อตัวของลิ่มเลือด
  • ผลักดันการไหลเวียนของเลือด เพิ่มประสิทธิภาพการไหลเวียนของเลือดในหลอดเลือดฝอย
  • ลดการแข็งตัวและเพิ่มความยืดหยุ่นของหลอดเลือด

ท่านที่สนใจดูแลไขมันในเลือดและสุขภาพหลอดเลือดตามทัศนะการแพทย์จีน ก็สามารถขอรับคำปรึกษาจากแพทย์แผนจีนและผู้เชี่ยวชาญได้ที่ไอดีไลน์ @enwei

จบแล้วกับประเด็นคำถามที่ว่า อัตราส่วน LDL ต่อ HDL คืออะไร แล้วใช้บอกอะไรได้บ้าง พร้อมด้วยข้อมูลสำคัญอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ทางเอินเวย์หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์แก่ทุกท่านนะคะ

เอินเวย์ ศูนย์รวมยาสมุนไพรจีนระดับพรีเมี่ยมจากประเทศจีน ซึ่งอยู่เคียงข้างสังคมไทยมานานกว่า 30 ปี ขอเป็นอีกหนึ่งทางเลือกธรรมชาติในการดูแลสุขภาพตามศาสตร์การแพทย์จีน เพื่อให้ทุกท่านได้มีสุขภาพที่ดี

YouTube player
ปรึกษาแพทย์จีน
ปรึกษาแพทย์จีน
Scroll to Top