หน้าแรก  »  บทความสุขภาพ  »  5 สมุนไพรพื้นบ้าน ช่วยลดความดัน อ้างอิงจากงานวิจัย

5 สมุนไพรพื้นบ้าน ช่วยลดความดัน อ้างอิงจากงานวิจัย

5 สมุนไพรพื้นบ้าน ช่วยลดความดัน อ้างอิงจากงานวิจัย

ความดันสูงยิ่งปล่อยไว้นานยิ่งอันตราย เราจึงควรเร่งหาวิธีจัดการดูแลโดยด่วน ซึ่งสำหรับใครที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงและกำลังมองหาวิธีลดความดันแบบธรรมชาติอยู่นั้น เอินเวย์ ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร ก็ได้นำข้อมูล 5 สมุนไพรพื้นบ้านที่มีสรรพคุณช่วยลดความดันมาให้ชมกันแบบง่ายๆ แล้วค่ะ

YouTube player

1. กระเทียม

กระเทียมเป็นหนึ่งในสมุนไพรพื้นบ้านที่ขึ้นชื่อเรื่องการลดความดัน ซึ่งก็เป็นผลมาจากสารอัลลิซิน (Allicin) และสารประกอบซัลเฟอร์อื่นๆ ในกระเทียม ที่มีฤทธิ์ช่วยส่งเสริมการคลายตัวของหลอดเลือด

ปัจจุบันก็มีงานวิจัยหลายชิ้น ที่ได้ทดลองให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงกินกระเทียมในรูปแบบผง เม็ด แคปซูล หรือกระเทียมบ่มสกัด เพื่อดูผลการลดความดัน ซึ่งในภาพรวมก็พบว่าสามารถช่วยลดความดันตัวบนได้เฉลี่ยแล้ว 6.71 mmHg และช่วยลดความดันตัวล่างได้เฉลี่ยแล้ว 4.79 mmHg

งานวิจัยเหล่านี้ จะใช้ปริมาณกระเทียมตั้งแต่ 240-2,400 มิลลิกรัมต่อวัน และมีระยะเวลาทดลองอยู่ในช่วงระหว่าง 8-12 สัปดาห์

ทั้งนี้ แม้ข้อมูลปัจจุบันจะค่อนข้างสนับสนุนผลการลดความดันของกระเทียม แต่ด้วยข้อจำกัดต่างๆ ของงานวิจัย เช่น ขาดข้อมูลปริมาณสารสำคัญที่แน่ชัด ขาดข้อมูลผลการทดลองระยะยาว ปริมาณและรูปแบบกระเทียมที่ใช้ค่อนข้างหลากหลาย ฯลฯ เราจึงยังจำเป็นต้องอาศัยงานวิจัยเพิ่มเติม เพื่อให้ทราบถึงประสิทธิภาพ ความปลอดภัย รวมถึงรายละเอียดวิธีกินที่แนะนำได้อย่างชัดเจนมากขึ้น

2. กระเจี๊ยบแดง

กระเจี๊ยบแดงก็เป็นสมุนไพรพื้นบ้านอีกชนิดที่ได้รับความสนใจในด้านสรรพคุณการลดความดันอยู่ไม่น้อย ซึ่งก็มีผลการรีวิวงานวิจัยหลายชิ้นที่ได้พบว่า การดื่มชากระเจี๊ยบแดง จะมีผลช่วยลดความดันตัวบนได้เฉลี่ยแล้ว 7.58 mmHg และช่วยลดความดันตัวล่างได้เฉลี่ยแล้ว 3.53 mmHg

งานวิจัยเหล่านี้จะมีทั้งที่ใช้กระเจี๊ยบแดงในรูปแบบถุงชาชงดื่ม โดยจะมีน้ำหนักถุงรวมตั้งแต่ 3.75-9.00 กรัมต่อวัน และยังมีงานวิจัยที่ใช้กระเจี๊ยบแดงในรูปแบบแคปซูลปริมาณ 100 มิลลิกรัมต่อวันอีกด้วย โดยทั้งหมดนี้ จะมีระยะเวลาทดลองอยู่ในช่วงระหว่าง 15 วัน ถึง 6 สัปดาห์

แม้ข้อมูลปัจจุบันจะค่อนข้างสนับสนุนผลการลดความดันของชากระเจี๊ยบแดง แต่ด้วยคุณภาพของงานวิจัยที่ยังจำกัด เช่น กลุ่มผู้ร่วมทดลองมีจำนวนน้อย ระยะเวลาทดลองค่อนข้างสั้น รูปแบบและปริมาณของชากระเจี๊ยบแดงที่ใช้มีความแตกต่างกัน ฯลฯ เราจึงยังจำเป็นต้องอาศัยงานวิจัยเพิ่มเติม เพื่อให้เข้าใจถึงประสิทธิภาพ วิธีใช้ที่แนะนำ ตลอดจนความปลอดภัยของการใช้ชากระเจี๊ยบแดงเพื่อลดความดันได้อย่างชัดเจนมากขึ้น

3. ขิง

ขิงเป็นสมุนไพรพื้นบ้านใกล้ตัวมากสรรพคุณ ที่มีฤทธิ์ทั้งในด้านการต้านอนุมูลอิสระ ต้านอักเสบ ช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้ อีกทั้งยังอาจมีฤทธิ์ช่วยบรรเทาอาการปวดท้องประจำเดือนได้ด้วย

ซึ่งในด้านสรรพคุณการลดความดันนั้น ก็จะมีผลการรีวิวงานวิจัยหลายชิ้นที่ได้พบว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานประเภทที่ 2 เมื่อได้รับขิงในรูปแบบเม็ดหรือแคปซูลแล้ว ก็จะมีระดับน้ำตาลในเลือดลดลง อีกทั้งยังมีค่าความดันตัวบนลดลงโดยเฉลี่ย 4.20 mmHg และมีค่าความดันตัวล่างลดลงโดยเฉลี่ย 1.61 mmHg

โดยงานวิจัยเหล่านี้จะใช้ปริมาณขิงตั้งแต่ 1,200-3,000 มิลลิกรัมต่อวัน และมีระยะเวลาทดลองอยู่ในช่วงระหว่าง 8-13 สัปดาห์

อย่างไรก็ตาม ด้วยข้อจำกัดต่างๆ ของงานวิจัย เช่น กลุ่มผู้ร่วมทดลองมีจำนวนน้อย ระยะเวลาทดลองค่อนข้างสั้น ฯลฯ เราจึงยังจำเป็นต้องอาศัยการศึกษาวิจัยเพิ่มเติม ก่อนที่จะสามารถสรุปผลและนำไปประยุกต์ใช้จริงได้

4. ดอกคำฝอย

ดอกคำฝอยเป็นสมุนไพรพื้นบ้านที่ขึ้นชื่อเรื่องการบำรุงเลือด บำรุงประสาท โดยตัวดอกจะมีสีเหลืองแดง และภายในแต่ละดอกก็จะมีเมล็ดซึ่งสามารถสกัดเอาน้ำมันออกมาใช้ได้

สำหรับสรรพคุณในด้านการลดความดันนั้น ก็จะมีงานวิจัยขนาดเล็กเมื่อปี 2021 ที่ได้พบว่า การได้รับน้ำมันดอกคำฝอยวันละ 8 กรัม ต่อเนื่อง 12 สัปดาห์ ในผู้ที่มีภาวะเมตาบอลิกซินโดรม จะมีผลช่วยลดความดันตัวบนได้เฉลี่ยแล้ว 8.80 mmHg และช่วยลดความดันตัวล่างได้เฉลี่ยแล้ว 3.53 mmHg

นอกจากนี้ งานวิจัยดังกล่าวยังพบคุณประโยชน์อื่นๆ ของน้ำมันดอกคำฝอยเพิ่มเติมอีกด้วย ซึ่งก็ได้แก่ ผลในการช่วยลดรอบเอว ลดระดับน้ำตาลในเลือด รวมถึงช่วยให้ภาวะดื้ออินซูลินดีขึ้น

ทั้งนี้ ด้วยปริมาณและคุณภาพของงานวิจัยที่ยังจำกัด เราจึงยังจำเป็นต้องอาศัยงานวิจัยเพิ่มเติม เพื่อช่วยยืนยันสรรพคุณของน้ำมันดอกคำฝอย ทั้งในด้านการลดความดันและด้านอื่นๆ ให้แน่ชัดมากขึ้นเสียก่อน

5. มะรุม

มะรุมเป็นสมุนไพรในตำรับยาพื้นบ้านที่ถูกใช้ในการห้ามเลือด แก้ไข้ ขับปัสสาวะ ใช้เป็นยาระบาย และใช้เป็นตัวช่วยเรื่องการนอนหลับ

ในด้านสรรพคุณการลดความดันนั้น แม้จะยังมีข้อมูลจำกัด แต่ก็มีงานวิจัยในหนูทดลองและงานวิจัยระยะสั้นในคนที่บ่งชี้ว่าใบมะรุมอาจมีฤทธิ์ช่วยลดความดันได้ ผ่านกลไกการส่งเสริมให้หลอดเลือดคลายตัว ซึ่งก็ยังจำเป็นต้องอาศัยการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมต่อไป

การดูแลความดันในทัศนะการแพทย์จีน

การแพทย์จีนนิยมใช้วิธีบำบัดแบบองค์รวมและปรับสมดุลร่างกาย ผ่านตำรับยาที่สกัดจากพืชสมุนไพรธรรมชาติหลายชนิด เพื่อดูแลแก้ไขปัญหาความดันสูงที่ต้นเหตุ ซึ่งก็จะมีหลักการทำงานดังนี้

  • ทำความสะอาดหลอดเลือด สลายลิ่มเลือดและไขมัน ทำให้หลอดเลือดโล่งสะอาด จึงช่วยป้องกันและบำบัดโรคที่พบบ่อยในผู้ที่มีความดันโลหิตสูงได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น หลอดเลือดหัวใจตีบ เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง อัมพฤกษ์ อัมพาต ฯลฯ
  • บำรุงไต ให้หยิน-หยางในไตเกิดความสมดุล ไตจึงสามารถส่งหยินไปหล่อเลี้ยงตับได้อย่างเพียงพอ ช่วยป้องกันไม่ให้ตับร้อนรุ่มจนเกินไป ซึ่งเป็นต้นเหตุสำคัญของความดันสูง เมื่อตับอยู่ในสภาวะสมดุลก็จะมีการสร้างคอเลสเตอรอลในปริมาณที่เหมาะสม และในขณะเดียวกันเมื่อไตแข็งแรงขึ้น พลังชี่ที่เป็นแรงผลักดันของเลือดก็จะสมบูรณ์ขึ้น ระบบการไหลเวียนของเลือดจึงทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ท่านที่สนใจดูแลความดันและสุขภาพหลอดเลือดตามทัศนะการแพทย์จีน ก็สามารถขอรับคำปรึกษาจากแพทย์แผนจีนและผู้เชี่ยวชาญได้ที่ไอดีไลน์ @enwei

จบแล้วกับข้อมูล 5 สมุนไพรพื้นบ้านช่วยลดความดัน พร้อมด้วยข้อมูลงานวิจัยที่อยู่เบื้องหลัง ทางเอินเวย์หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์แก่ทุกท่านนะคะ

เอินเวย์ ศูนย์รวมยาสมุนไพรจีนระดับพรีเมี่ยมจากประเทศจีน ซึ่งอยู่เคียงข้างสังคมไทยมานานกว่า 30 ปี ขอเป็นอีกหนึ่งทางเลือกธรรมชาติในการดูแลสุขภาพตามศาสตร์การแพทย์จีน เพื่อให้ทุกท่านได้มีสุขภาพที่ดี

ปรึกษาแพทย์จีน
ปรึกษาแพทย์จีน
Scroll to Top