เมื่อพูดถึงการป้องกันและรักษาโรคความดันโลหิตสูง สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยก็คือการจำกัดโซเดียม แต่หากจะทำได้เราก็ต้องรู้ปริมาณโซเดียมในอาหารเสียก่อน
ในบทความนี้ ทางเอินเวย์ก็เลยขออาสานำตารางข้อมูลปริมาณโซเดียมในอาหารและเครื่องปรุง พร้อมด้วยข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้อง มาให้ทุกท่านได้ชมกันแบบง่ายๆ เองค่ะ
โซเดียมคืออะไร
โซเดียม คือแร่ธาตุที่พบได้ในอาหารและเครื่องปรุงแทบทุกชนิด โดยมักจะอยู่ในรูปโซเดียมคลอไรด์ หรือที่เราเรียกกันว่าเกลือนั่นเอง
ด้วยรสเค็มที่ถูกใจใครหลายคน ประกอบกับคุณสมบัติในด้านการถนอมอาหาร โซเดียมจึงมักจะถูกใช้ในอาหารและเครื่องปรุงต่างๆ ในปริมาณมาก ซึ่งก็เป็นที่มาของปัญหาโซเดียมเกิน และผลเสียต่อสุขภาพที่เกิดขึ้นตามมา
ประโยชน์และโทษของโซเดียม
แท้จริงแล้ว โซเดียมนั้นถือเป็นสารอาหารจำเป็นสำหรับร่างกาย โดยจะมีความสำคัญต่อการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ รวมถึงกลไกการควบคุมสมดุลน้ำ
แต่ก็อย่างที่ทราบกันดี ปัญหาการขาดโซเดียมนั้นถือเป็นสิ่งที่พบได้ยาก หลักๆ แล้ว ปัญหาในปัจจุบันจะอยู่ที่การได้รับโซเดียมเกินมากกว่า ซึ่งก็จะมีโทษดังนี้
- ความดันเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากการได้รับโซเดียมเกิน จะมีผลเพิ่มปริมาณน้ำในกระแสเลือด และกระตุ้นให้ผนังหลอดเลือดหดตัว ซึ่งการมีความดันสูงก็จะทำให้เสี่ยงต่อโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไต และอีกหลายๆ โรคมากขึ้น
- เสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนมากขึ้น เนื่องจากร่างกายต้องสูญเสียแคลเซียมทางปัสสาวะเพิ่มขึ้นจากการขับโซเดียม
- เสี่ยงต่อโรคมะเร็งกระเพาะอาหารมากขึ้น เนื่องจากโซเดียมที่เข้มข้นจะทำให้เซลล์เยื่อบุกระเพาะอาหารเสียหาย
ปริมาณโซเดียมที่ควรได้รับต่อวัน
ด้วยโทษต่างๆ ที่เกิดจากการได้รับโซเดียมเกิน ทั้งองค์การอนามัยโลก และกรมอนามัยของไทย จึงได้แนะนำปริมาณโซเดียมที่ผู้ใหญ่ทั่วไปควรได้รับไว้ที่ไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งเทียบเป็นเกลือได้ประมาณ 5,000 มิลลิกรัม หรือ 1 ช้อนชา
ตารางแสดงปริมาณโซเดียมในเครื่องปรุง
ตัวอย่างข้อมูลปริมาณโซเดียมในเครื่องปรุงต่างๆ อ้างอิงจากสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ก็อย่างเช่น
เครื่องปรุง | ปริมาณ | ปริมาณโซเดียม (มิลลิกรัม) |
---|---|---|
เกลือป่น | 1 ช้อนชา | 2,000 |
น้ำปลา | 1 ช้อนโต๊ะ | 1,350 |
ซีอิ๊วขาว | 1 ช้อนโต๊ะ | 1,190 |
ซอสถั่วเหลือง | 1 ช้อนโต๊ะ | 1,187 |
น้ำพริกตาแดง | 1 ช้อนโต๊ะ | 560 |
ซอสหอยนางรม | 1 ช้อนโต๊ะ | 518 |
น้ำจิ้มไก่ | 1 ช้อนโต๊ะ | 385 |
น้ำพริกปลาร้า | 1 ช้อนโต๊ะ | 360 |
ซอสพริก | 1 ช้อนโต๊ะ | 231 |
ซอสมะเขือเทศ | 1 ช้อนโต๊ะ | 149 |
*ข้อมูลในตารางนี้จะเป็นแค่ตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น ปริมาณโซเดียมในเครื่องปรุงที่เราใช้อาจแตกต่างกันไปตามแต่ละสูตรแต่ละยี่ห้อ ซึ่งก็สามารถดูได้จากฉลากโภชนาการบนบรรจุภัณฑ์เครื่องปรุง
ตารางแสดงปริมาณโซเดียมในอาหารหมวดแป้ง
ตัวอย่างข้อมูลปริมาณโซเดียมในอาหารหมวดแป้ง อ้างอิงจากสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ก็อย่างเช่น
อาหารหมวดแป้ง | ปริมาณ | ปริมาณโซเดียม (มิลลิกรัม) |
---|---|---|
บะหมี่ลวก | 75 กรัม | 153 |
ขนมปังโฮลวีท | 30 กรัม | 125 |
ขนมปังขาว | 30 กรัม | 117 |
ขนมจีน | 90 กรัม | 42 |
ก๋วยเตี๋ยวเส้นเล็กลวก | 30 กรัม | 40 |
ข้าวเจ้า | 55 กรัม | 19 |
วุ้นเส้นสุก | 100 กรัม | 7 |
ข้าวเหนียว | 35 กรัม | 4 |
*ข้อมูลในตารางนี้จะเป็นแค่ตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น ปริมาณโซเดียมในอาหารหมวดแป้งที่เรากิน อาจแตกต่างกันไปตามปัจจัยต่างๆ เช่น ปริมาณ วัตถุดิบ กระบวนการผลิต และการปรุงประกอบอาหาร
ตารางแสดงปริมาณโซเดียมในอาหารหมวดโปรตีน
ตัวอย่างข้อมูลปริมาณโซเดียมในอาหารหมวดโปรตีน อ้างอิงจากสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ก็อย่างเช่น
อาหารหมวดโปรตีน | ปริมาณ | ปริมาณโซเดียม (มิลลิกรัม) |
---|---|---|
ไข่เค็ม | 1 ฟอง | 450 |
ไส้กรอกหมูสุก | 30 กรัม | 388 |
หมูแฮมสุก | 30 กรัม | 356 |
ปลาทูทอด | 50 กรัม | 305 |
หมูยอสุก | 30 กรัม | 227 |
เนื้อกุ้งสุก | 30 กรัม | 207 |
ลูกชิ้นหมูสุก | 30 กรัม | 200 |
นมสด | 240 มิลลิลิตร | 123 |
เนื้อหมูสุก | 30 กรัม | 107 |
ไข่ไก่สุก | 60 กรัม | 107 |
โยเกิร์ต | 150 มิลลิลิตร | 90 |
ปลาหมึกสุก | 30 กรัม | 76 |
เนื้อไก่สุก | 30 กรัม | 32 |
เนื้อปลาน้ำเค็มสุก | 30 กรัม | 28 |
เนื้อปลาน้ำจืดสุก | 30 กรัม | 17 |
*ข้อมูลในตารางนี้จะเป็นแค่ตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น ปริมาณโซเดียมในอาหารหมวดโปรตีนที่เรากิน อาจแตกต่างกันไปตามปัจจัยต่างๆ เช่น ปริมาณ วัตถุดิบ กระบวนการผลิต และการปรุงประกอบอาหาร
ตารางแสดงปริมาณโซเดียมในผัก
ตัวอย่างข้อมูลปริมาณโซเดียมในผัก อ้างอิงจากสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ก็อย่างเช่น
ผัก | ปริมาณ | ปริมาณโซเดียม (มิลลิกรัม) |
---|---|---|
ผักกาดดอง | 1 ถ้วยตวง | 779 |
ผักบรรจุกระป๋อง | 1 ถ้วยตวง | 505 |
ผักคะน้าสุก | 50 กรัม | 86 |
ผักบุ้งจีนสุก | 50 กรัม | 70 |
ผักกาดขาวสุก | 60 กรัม | 46 |
กะหล่ำปลีสุก | 60 กรัม | 24 |
ถั่วฝักยาวสุก | 60 กรัม | 19 |
ถั่วงอกสุก | 60 กรัม | 11 |
มะเขือเทศ | 100 กรัม | 10 |
แตงกวา | 100 กรัม | 5 |
*ข้อมูลในตารางนี้จะเป็นแค่ตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น ปริมาณโซเดียมในผักที่เรากิน อาจแตกต่างกันไปตามปัจจัยต่างๆ เช่น ปริมาณ สายพันธุ์ และการปรุงประกอบอาหาร
ตารางแสดงปริมาณโซเดียมในผลไม้
ตัวอย่างข้อมูลปริมาณโซเดียมในผลไม้ อ้างอิงจากสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ก็อย่างเช่น
ผลไม้ | ปริมาณ | ปริมาณโซเดียม (มิลลิกรัม) |
---|---|---|
ชมพู่ | 250 กรัม | 65 |
แอปเปิล | 100 กรัม | 64 |
ส้ม | 150 กรัม | 50 |
มะม่วงสุก | 80 กรัม | 35 |
มะละกอสุก | 115 กรัม | 28 |
เงาะ | 85 กรัม | 19 |
ฝรั่ง | 120 กรัม | 18 |
แตงโม | 285 กรัม | 17 |
กล้วยหอม | 50 กรัม | 11 |
สับปะรด | 125 กรัม | 6 |
*ข้อมูลในตารางนี้จะเป็นแค่ตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น ปริมาณโซเดียมในผลไม้ที่เรากิน อาจแตกต่างกันไปตามปัจจัยต่างๆ เช่น ปริมาณ สายพันธุ์ การจัดเตรียม การแปรรูป และการปรุงรสเพิ่ม
ตารางแสดงปริมาณโซเดียมในอาหารหมวดไขมัน
ตัวอย่างข้อมูลปริมาณโซเดียมในอาหารหมวดไขมัน อ้างอิงจากสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ก็อย่างเช่น
อาหารหมวดไขมัน | ปริมาณ | ปริมาณโซเดียม (มิลลิกรัม) |
---|---|---|
เบคอนทอด | 10 กรัม | 168 |
สลัดครีม | 15 กรัม | 97 |
เนยสดเค็ม | 5 กรัม | 28 |
มายองเนส | 5 กรัม | 26 |
มาการีน | 5 กรัม | 21 |
ครีมเทียม | 3 กรัม | 6 |
กะทิ | 14 กรัม | 3 |
เนยสดจืด | 5 กรัม | 1 |
น้ำมันพืช | 5 กรัม | 0 |
น้ำมันหมู | 5 กรัม | 0 |
*ข้อมูลในตารางนี้จะเป็นแค่ตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น ปริมาณโซเดียมในอาหารหมวดไขมันที่เรากิน อาจแตกต่างกันไปตามปัจจัยต่างๆ เช่น ปริมาณ วัตถุดิบ กระบวนการผลิต และการปรุงประกอบอาหาร
ตารางแสดงปริมาณโซเดียมในเบเกอรี่
ตัวอย่างข้อมูลปริมาณโซเดียมในอาหารประเภทเบเกอรี่ อ้างอิงจากสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ก็อย่างเช่น
(อาหารประเภทเบเกอรี่มักจะมีโซเดียมค่อนข้างสูง ซึ่งส่วนหนึ่งจะมาจากเบกกิ้งโซดาหรือผงฟู)
เบเกอรี่ | ปริมาณ | ปริมาณโซเดียม (มิลลิกรัม) |
---|---|---|
เค้ก | 1 ชิ้น | 400 |
ขนมปังก้อน | 1 ชิ้น | 400 |
พาย | 1 ชิ้น | 240 |
โดนัท | 1 ชิ้น | 180 |
ขนมปังแผ่น | 1 แผ่น | 130 |
*ข้อมูลในตารางนี้จะเป็นแค่ตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น ปริมาณโซเดียมในอาหารประเภทเบเกอรี่ที่เรากิน อาจแตกต่างกันไปตามปริมาณ วัตถุดิบ และสูตรการทำ
ตารางแสดงปริมาณโซเดียมในเครื่องดื่ม
ตัวอย่างข้อมูลปริมาณโซเดียมในเครื่องดื่ม อ้างอิงจากสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ก็อย่างเช่น
เครื่องดื่ม | ปริมาณ | ปริมาณโซเดียม (มิลลิกรัม) |
---|---|---|
น้ำมะเขือเทศ | 200 กรัม | 280 |
น้ำแครอท | 200 กรัม | 95 |
น้ำส้ม | 200 กรัม | 50 |
น้ำมะพร้าว | 200 กรัม | 28 |
น้ำเต้าหู้ | 200 กรัม | 26 |
ชาเย็น | 100 กรัม | 25 |
น้ำอัดลม | 325 กรัม | 15 |
กาแฟ | 20 กรัม | 1 |
*ข้อมูลในตารางนี้จะเป็นแค่ตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น ปริมาณโซเดียมในเครื่องดื่มที่เราดื่ม อาจแตกต่างกันไปตามปัจจัยต่างๆ เช่น ปริมาณ วัตถุดิบ กระบวนการผลิต และการปรุงรสเพิ่มโดยผู้ดื่ม
ตารางแสดงปริมาณโซเดียมในเมนูอาหารจานเดียว
ตัวอย่างข้อมูลปริมาณโซเดียมในเมนูอาหารจานเดียวต่างๆ อ้างอิงจากสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ก็อย่างเช่น
เมนูอาหาร | ปริมาณ | ปริมาณโซเดียม (มิลลิกรัม) |
---|---|---|
สุกี้น้ำ | 1 ชาม | 1,560 |
บะหมี่น้ำหมูแดง | 1 ชาม | 1,480 |
เส้นใหญ่เย็นตาโฟ | 1 ชาม | 1,417 |
ผัดซีอิ๊ว | 1 จาน | 1,352 |
ข้าวขาหมู | 1 จาน | 1,205 |
แกงส้มผักรวม | 1 ชาม | 1,130 |
ส้มตำอีสาน | 1 จาน | 1,006 |
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป | 1 ห่อ | 977 |
ผัดผักบุ้งไฟแดง | 1 จาน | 894 |
ข้าวหมูกรอบ | 1 จาน | 700 |
ปอเปี๊ยะสด | 1 จาน | 562 |
ข้าวไข่เจียว | 1 จาน | 362 |
*ข้อมูลในตารางจะเป็นแค่ตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น ปริมาณโซเดียมในเมนูอาหารที่เรากินอาจแตกต่างจากนี้ ขึ้นอยู่กับปริมาณ วัตถุดิบที่ใช้ สูตรการทำ รวมไปถึงการปรุงรสเพิ่มโดยผู้กินด้วย
อาหารที่มีโซเดียมสูงมีอะไรบ้าง
จากข้อมูลในตารางต่างๆ ที่ผ่านมา เราจะสามารถสรุปและจัดหมวดอาหารที่มีโซเดียมสูงได้ดังนี้
- อาหารที่มีรสเค็มเด่นชัด เช่น ไข่เค็ม ปลาเค็ม ขนมขบเคี้ยว อาหารปรุงรสเค็ม ฯลฯ
- อาหารที่มีรสจัด (รสเค็มในอาหารบางทีอาจโดนกลบโดยรสอื่น) เช่น ส้มตำ ยำ น้ำปลาหวาน แกงต่างๆ ที่มีรสจัด ฯลฯ
- อาหารแปรรูป เช่น แฮม ไส้กรอก เบคอน ลูกชิ้น อาหารกระป๋อง อาหารหมักดอง อาหารตากแห้ง อาหารสำเร็จรูปแช่แข็ง ฯลฯ
- เครื่องปรุง เช่น เกลือ ซีอิ๊ว น้ำปลา ซอส น้ำจิ้ม ฯลฯ
- เบเกอรี่ เช่น ขนมปัง พาย เค้ก โดนัท ฯลฯ
เทคนิควิธีลดโซเดียมที่ได้รับจากอาหาร
สำหรับเทคนิควิธีลดโซเดียมที่ได้รับจากอาหาร ก็จะมีรายละเอียดดังนี้
- เลี่ยงการกินอาหารรสเค็ม อาหารรสจัด อาหารแปรรูป เครื่องปรุง รวมถึงอาหารอื่นๆ ที่มีโซเดียมสูง
- จำกัดการกินเบเกอรี่ และอาหารอื่นที่ใช้เบกกิ้งโซดาหรือผงฟู (เบกกิ้งโซดา 1 ช้อนชา จะมีโซเดียมประมาณ 1,000-1,300 มิลลิกรัม ส่วนผงฟู 1 ช้อนชา จะมีโซเดียมประมาณ 300-500 มิลลิกรัม)
- จำกัดการใช้ผงชูรส เนื่องจากผงชูรสก็มีโซเดียมด้วยเช่นกัน (ผงชูรส 1 ช้อนชา จะมีโซเดียมประมาณ 400-800 มิลลิกรัม)
- หมั่นสังเกตฉลากโภชนาการ เพื่อให้ทราบถึงปริมาณโซเดียมที่ได้รับจากผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ และสามารถคุมโซเดียมได้ดีขึ้น
- พิจารณาทำอาหารกินเองให้บ่อยขึ้น เพราะจะสามารถควบคุมปริมาณโซเดียมได้ดีกว่า
- พิจารณาใช้เครื่องเทศและเครื่องปรุงอื่นที่ไม่มีโซเดียมให้มากขึ้น (ยกเว้นน้ำตาล) เพื่อช่วยเสริมกลิ่นรสให้กับอาหาร ลดการพึ่งพาเกลือ
- อาจพิจารณาใช้เครื่องปรุงสูตรลดโซเดียมแทน ยกเว้นกรณีของผู้ป่วยโรคไต เนื่องจากเครื่องปรุงสูตรนี้จะมีโพแทสเซียมสูง ซึ่งอาจเป็นอันตรายได้
การดูแลความดันในทัศนะการแพทย์จีน
การแพทย์จีนนิยมใช้วิธีบำบัดแบบองค์รวมและปรับสมดุลร่างกาย ผ่านตำรับยาที่สกัดจากพืชสมุนไพรธรรมชาติหลายชนิด เพื่อดูแลแก้ไขปัญหาความดันสูงที่ต้นเหตุ ซึ่งก็จะมีหลักการทำงานดังนี้
- ทำความสะอาดหลอดเลือด สลายลิ่มเลือดและไขมัน ทำให้หลอดเลือดโล่งสะอาด จึงช่วยป้องกันและบำบัดโรคที่พบบ่อยในผู้ที่มีความดันโลหิตสูงได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น หลอดเลือดหัวใจตีบ เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง อัมพฤกษ์ อัมพาต ฯลฯ
- บำรุงไต ให้หยิน-หยางในไตเกิดความสมดุล ไตจึงสามารถส่งหยินไปหล่อเลี้ยงตับได้อย่างเพียงพอ ช่วยป้องกันไม่ให้ตับร้อนรุ่มจนเกินไป ซึ่งเป็นต้นเหตุสำคัญของความดันสูง เมื่อตับอยู่ในสภาวะสมดุลก็จะมีการสร้างคอเลสเตอรอลในปริมาณที่เหมาะสม และในขณะเดียวกันเมื่อไตแข็งแรงขึ้น พลังชี่ที่เป็นแรงผลักดันของเลือดก็จะสมบูรณ์ขึ้น ระบบการไหลเวียนของเลือดจึงทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ท่านที่สนใจดูแลความดันและสุขภาพหลอดเลือดตามทัศนะการแพทย์จีน ก็สามารถขอรับคำปรึกษาจากแพทย์แผนจีนและผู้เชี่ยวชาญได้ที่ไอดีไลน์ @enwei
จบแล้วกับคำถามที่ว่า อาหารที่มีโซเดียมสูงมีอะไรบ้าง พร้อมด้วยตารางข้อมูล ทางเอินเวย์หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์แก่ทุกท่านนะคะ
เอินเวย์ ศูนย์รวมยาสมุนไพรจีนระดับพรีเมี่ยมจากประเทศจีน ซึ่งอยู่เคียงข้างสังคมไทยมานานกว่า 30 ปี ขอเป็นอีกหนึ่งทางเลือกธรรมชาติในการดูแลสุขภาพตามศาสตร์การแพทย์จีน เพื่อให้ทุกท่านได้มีสุขภาพที่ดี