อาการบวมน้ำคืออะไร
อาการบวมน้ำ (Edema) เป็นภาวะที่มีน้ำหรือน้ำเหลืองสะสมคั่งค้างอยู่ภายในเนื้อเยื่อเกี่ยวพันของร่างกาย มีปริมาณมากจนทำให้เกิดอาการบวม ซึ่งเกิดได้กับทุกส่วนของร่างกาย แต่จะสังเกตเห็นได้ชัดเจนเมื่อเกิดขึ้นบริเวณมือ แขน ขา ข้อเท้าและเท้า
สาเหตุของอาการบวมน้ำ
- อาการเจ็บป่วย
- ยาบางชนิด
- อาหารบางอย่าง
- เครื่องปรุง
วิธีทดสอบอาการบวมน้ำเบื้องต้น
- มองไม่เห็นชัดเจน รอยบุ๋มหายไปเร็ว
- สังเกตได้ยาก รอยบุ๋มหายไปใน 15 วินาที
- สังเกตได้ชัด รอยบุ๋มคงอยู่นานกว่า 1 นาที มองดูจะพบว่าขาบวมชัดเจน
- รอยบุ๋มลึกชัดเจน อยู่นานประมาณ 2-5 นาที มองดูจะพบว่าขาบวมผิดรูปหรือบิดเบี้ยว
หากพบอาการในระดับที่ 2 เป็นต้นไป แสดงว่ามีน้ำหรือน้ำเหลืองสะสมคั่งค้างอยู่ภายในเนื้อเยื่อเกี่ยวพันของร่างกาย ควรจะรีบดูแลรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ
อาการที่มาคู่กับบวมน้ำ
- ผิวหนังตึงและมีความมันวาว
- ผิวหนังบวมและโป่ง โดยเฉพาะบริเวณขาและแขน
- เคลื่อนไหวข้อเท้าหรือข้อมือได้ไม่เต็มที่
- กรณีที่ปอดบวมน้ำ อาจทำให้เกิดอาการไอหรือมีปัญหาในการหายใจ
อาการบวมน้ำอันตรายอย่างไร
- มีอาการเจ็บปวด
- ข้อติดแข็ง
- เดินลำบาก
- ผิวหนังตึงจนรู้สึกคัน ไม่สบายตัว
- เกิดแผลเป็น บริเวณช่องว่างระหว่างเนื้อเยื่อ
- การไหลเวียนเลือดลดลง ความยืดหยุ่นของหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดบริเวณข้อต่อหรือกล้ามเนื้อลดลง
- เกิดการติดเชื้อบริเวณที่บวม เป็นแผลพุพองที่ผิวหนังมากขึ้น
อาการบวมน้ำในมุมมองของการแพทย์จีน
ในมุมมองการแพทย์จีน ม้ามเป็นแหล่งผลิตลมปราณและเลือดที่ได้จากการย่อย ดูดซึมสารอาหารและน้ำ ม้ามมีหน้าที่กระจายน้ำไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย ควบคุมเลือดให้ไหลเวียนอยู่ในหลอดเลือด เช่น ผู้ที่มีรอยช้ำเป็นจ้ำๆ บริเวณผิวหนัง แขนขาเป็นประจำโดยไม่ทราบสาเหตุ มีผลมาจากม้ามอ่อนแอลง
ลมปราณของม้าม ยังมีหน้าที่ดึงรั้งอวัยวะภายในให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ภาวะมดลูกหย่อน ไตหย่อน กระเพาะอาหารหย่อน ก็เกิดจากลมปราณม้ามอ่อนแอลงเช่นกัน
ม้ามทำงานร่วมกับไต โดยม้ามทำหน้าที่กระจายน้ำไปสู่ทั่วร่างกาย ไตมีหน้าที่ขจัดน้ำส่วนเกินออกจากร่างกาย ในผู้ป่วยที่มีภาวะไตอ่อนแอมาก ม้ามมักจะทำงานผิดปกติไปด้วย ส่งผลให้ระบบการกระจายน้ำและขจัดน้ำมีการติดขัด จึงนำไปสู่การคั่งค้างของน้ำในร่างกาย
สาเหตุที่ทำให้ม้ามและไตอ่อนแอ
การทำงานหนัก พักผ่อนไม่เพียงพอ การทานอาหารรสจัดเกินไป การเจ็บป่วยเรื้อรัง เช่น ไทรอยด์ทำงานผิดปกติ โรคเกี่ยวกับไทรอยด์ ต่อมน้ำเหลืองทำงานผิดปกติ การติดเชื้อ การแพ้อาหารหรือยาอย่างรุนแรง โรคไต เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ฯลฯ
การแพทย์จีนรักษาอาการบวมน้ำอย่างไร
การแพทย์จีนนิยมใช้สมุนไพรจีนที่มีสรรพคุณในการบำรุงม้ามให้แข็งแรงขึ้น ขจัดความชื้นและน้ำส่วนเกินของร่างกาย กระตุ้นและส่งเสริมให้กระบวนการกระจายและควบคุมน้ำในร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นการรักษาที่ต้นเหตุ
สูตรยาที่นิยมใช้ประกอบด้วย
เจื๋อเซี่ย ฝูหลิง จูหลิง โย่วกุ้ย ไป๋จู้ ซึ่งเป็นสูตรยาที่มีประวัติการใช้มานานกว่า 1,800 ปี
- 泽泻 Zexie เจื๋อเซี่ย ขับความชื้นและน้ำส่วนเกิน ระบายความร้อน
- 茯苓 Fuling ฝูหลิง ขับความชื้นและน้ำส่วนเกิน บำรุงม้ามให้แข็งแรง ทำให้การกระจายและควบคุมน้ำทำงานได้ดีขึ้น
- 猪苓 Zhuling จูหลิง ขับความชื้นและน้ำส่วนเกิน ช่วยให้ปัสสาวะคล่อง แก้ปัสสาวะขุ่น ลดอาการบวมน้ำของร่างกาย
- 肉桂 Rougui โย่วกุ้ย ทะลวงเส้นลมปราณ กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ขับน้ำและความชื้นส่วนเกินออกจากร่างกายได้ดี
- 白朮 Baizhu ไป๋จู้ บำรุงม้ามให้แข็งแรง ขับความชื้นและน้ำส่วนเกินออกจากร่างกาย
การรักษาที่ต้นเหตุจะช่วยให้อาการบวมน้ำค่อยๆ ทุเลาลง และสามารถป้องกันการกลับมาเป็นอีกได้อย่างมีประสิทธิภาพ