หน้าแรก  »  บทความสุขภาพ  »  โลหิตจาง สาเหตุ อาการและผลกระทบ รักษาเลือดจางแบบการแพทย์จีน เอินเวย์มีทางออก

โลหิตจาง สาเหตุ อาการและผลกระทบ รักษาเลือดจางแบบการแพทย์จีน เอินเวย์มีทางออก

อาการภาวะโลหิตจาง สาเหตุ ผลกระทบ วิธีบำบัดโดยการแพทย์จีน

ภาวะโลหิตจางหมายถึงเม็ดเลือดแดงในกระแสเลือดมีปริมาณหรือคุณภาพต่ำกว่าปกติ ทำให้ฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงซึ่งทำหน้าที่ลำเลียงออกซิเจนไปสู่เนื้อเยื่อมีปริมาณลดลง ถึงแม้ว่าภาวะโลหิตจางอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุก็ตาม แต่การขาดสารอาหารโดยเฉพาะธาตุเหล็ก ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของฮีโมโกลบินนั้น จัดเป็นสาเหตุสำคัญที่พบได้บ่อยในคนทุกวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กและวัยรุ่น สตรีมีประจำเดือน สตรีมีครรภ์และหลังคลอด ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหารและลำไส้ นักกีฬาและผู้ใช้แรงงาน ฯลฯ

ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กเกิดจากสาเหตุใด

  • ได้รับสารอาหารรวมทั้งธาตุเหล็กไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ซึ่งพบบ่อยในผู้ที่รับประทานเนื้อสัตว์ ตับ ไข่ ผักใบเขียวน้อยเกินไป ผู้ที่อดอาหารเพื่อลดน้ำหนัก ผู้ที่ทานอาหารมังสวิรัติอย่างเคร่งครัดและไม่ถูกหลักโภชนาการ ผู้ที่เบื่ออาหารจากการเจ็บป่วยเรื้อรัง ผู้ที่มีระบบการย่อยและการดูดซึมอาหารที่อ่อนแอ และผู้สูงอายุที่ทานอาหารได้น้อยลงหรือไม่ครบ 5 หมู่
  • การเสียธาตุเหล็กออกไปกับเลือด เช่น การมีประจำเดือน ตกเลือดจากการคลอดบุตรหรือแท้งบุตร เลือดออกจากแผลในกระเพาะอาหารหรือริดสีดวงทวาร เป็นโรคพยาธิปากขอ เป็นต้น
  • เด็กและวัยรุ่นที่อยู่ในช่วงเจริญเติบโตรวมทั้งสตรีมีครรภ์ ซึ่งมีความต้องการสารอาหารรวมทั้งธาตุเหล็กเพิ่มขึ้นมากกว่าปกติ
  • ผลกระทบจากยาและอาหารบางชนิด ซึ่งจะทำให้ธาตุเหล็กออกจากอาหารได้น้อย หรือยับยั้งกระบวนการดูดซึมธาตุเหล็กของร่างกาย เช่น ยาลดกรด ยาเคลือบกระเพาะ แคลเซียม ผลิตภัณฑ์จากนม ชา กาแฟ เป็นต้น
YouTube player

ภาวะโลหิตจางมีอาการอย่างไร

ภาวะโลหิตจางมิได้มีผลต่อระบบการไหลเวียนโลหิตเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อระบบอื่นๆ ในร่างกาย เช่น ระบบภูมิคุ้มกัน ระบบประสาท ระบบทางเดินอาหาร เป็นต้น อาการของภาวะโลหิตจางจึงพบได้ทั่วไปและไม่จำเพาะเจาะจง อาทิ

  • อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ใจสั่น เวียนศีรษะ หน้ามืด ตาลาย
  • มีอาการซีดของใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้น ฝ่ามือและเล็บ
  • รู้สึกสมองล้า หลงลืมง่าย ขาดสมาธิในการทำงาน เรียนหนังสือไม่ดีเท่าที่ควร
  • ถ้าเป็นเรื้อรังอาจมีอาการลิ้นมันเลี่ยน มุมปากเปื่อย เล็บเปราะและเว้าคล้ายช้อน
  • มักจะมีอาการเบื่ออาหาร ท้องอืด ท้องเฟ้อร่วมด้วย ซึ่งจะทำให้ขาดสารอาหารมากขึ้น และส่งผลให้ภาวะโลหิตจางรุนแรงขึ้น
  • สำหรับผู้ที่เป็นโรคหัวใจอยู่เดิม อาจทำให้หัวใจขาดเลือดรุนแรงขึ้น เจ็บหน้าอกง่ายขึ้น และทำให้เกิดภาวะหัวใจวายได้
  • ภูมิคุ้มกันต่ำ ติดเชื้อง่ายโดยเฉพาะระบบทางเดินหายใจ ถ้ามีการเจ็บป่วย หรือมีบาดแผลก็มักจะหายช้า

ภาวะโลหิตจางมีผลกระทบต่อเด็กและวัยรุ่นอย่างไร

ภาวะโลหิตจางในเด็กและวัยรุ่นจะส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญมากกว่าในผู้ใหญ่คือ

  • การเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม มักจะมีอาการเซื่องซึม หงอยเหงา ฉุนเฉียว หงุดหงิด ขาดสมาธิและความสนใจในการเรียนหนังสือ เบื่ออาหารหรือมีความอยากอาหารแปลกๆ
  • การพร่องด้านพัฒนาการและสติปัญญา ซึ่งมีการเจริญเติบโตและการเรียนรู้ล่าช้ากว่าเด็กปกติ ไม่กระตือรือร้นในการเรียน มีความบกพร่องในการใช้ภาษา สุขภาพอ่อนแอ เจ็บป่วยบ่อย

การแพทย์จีนมีวิธีบำบัดภาวะโลหิตจางอย่างไร

การแพทย์จีนได้จัดภาวะโลหิตจางให้อยู่ในกลุ่มโรคของเลือดพร่อง (血虚) ซึ่งได้ครอบคุลมถึงความผิดปกติ ทั้งปริมาณและคุณภาพของเซลล์เม็ดเลือดชนิดต่างๆ เช่น ภาวะโลหิตจาง ภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ เป็นต้น ความผิดปกติของสารเคมีและสารอาหารในเลือด ตลอดจนการไหลเวียนของเลือดที่ช้าลง อาการของเลือดพร่องจึงเกิดขึ้นได้กับทุกๆ ระบบของร่างกาย เช่น อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย หน้ามืด ตาลาย ใจสั่น นอนไม่หลับ ฝันบ่อย หน้าตาซีดเซียว ขี้หลงขี้ลืม ขาดสมาธิ เล็บเปราะ มือเท้าเหน็บชา เบื่ออาหาร ประจำเดือนมาน้อยหรือสีซีด มีบุตรยาก แท้งบุตร ตาแห้ง ตาขาวขุ่นลงและมีเส้นเลือดฝอย เหงือกร่นทำให้เศษอาหารติดฟันง่าย ภูมิคุ้มกันต่ำ เป็นหวัดง่าย ติดเชื้อง่าย ผิวหนังหยาบกร้าน ผมแห้งหลุดร่วงง่าย ท้องผูกหรือถ่ายเหลว เหงื่ออกง่ายหรือเหงื่อออกมากโดยเฉพาะขณะนอนหลับ มีจุดแดงขึ้นตามตัว หรือมีเลือดออกตามที่ต่างๆ เช่น มีเลือดกำเดาออก เลือดออกตามไรฟัน ประจำเดือนมามาก ถ่ายเป็นเลือด เป็นต้น

การรักษาโลหิตจางและกลุ่มอาการของเลือดพร่องนั้น จำเป็นต้องใช้ยาบำรุงเลือดและบำรุงชี่เลือดคู่กันไป ทั้งนี้เนื่องจากกระบวนการสร้างเลือดและชี่ภายในร่างกายจะต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ถ้าชี่เพียงพอเลือดก็จะสร้างขึ้นอย่างสมบูรณ์และไหลเวียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และในทางกลับกัน ชี่ก็ต้องอาศัยเลือดไปหล่อเลี้ยงและให้ความชุ่มชื้น ถ้าเลือดพร่องชี่ก็ย่อมจะไม่สมบูรณ์เป็นธรรมดา

การวิจัยยาบำรุงเลือด-บำรุงชี่ในการแพทย์ปัจจุบัน

สูตรยาบำรุงเลือด-บำรุงชี่ได้คัดเลือก Ejiao (อือเจียว) ซึ่งเป็นสารสกัดจากหนังลาและได้รับการยกย่องให้เป็นราชาสมุนไพรบำรุงเลือด มาเป็นเวลานานกว่า 2,000 ปี ร่วมกับโสมคนซึ่งเป็นสุดยอดสมุนไพรบำรุงชี่ มาเป็นสมุนไพรตัวหลักและเสริมด้วย Shudihuang (สูตี้หวาง), Dangshen (ตั่งเซิน) และ Shanzha (ซันจา) เพื่อให้การออกฤทธิ์ของสมุนไพรแต่ละตัวดียิ่งขึ้น และเพิ่มประสิทธิภาพการย่อยและการดูดซึมสารอาหาร ร่างกายจึงสามารถนำไปใช้ได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้แล้วยังช่วยปรับฤทธิ์ยาให้มีความนุ่มนวลมากขึ้น เพื่อเหมาะกับทุกเพศทุกวัยและทุกสภาพร่างกาย และยังสามารถใช้บำรุงร่างกายได้เป็นประจำ

จากการวิจัยและทดลองทางการแพทย์และเภสัชวิทยาในปัจจุบันพบว่า ยาสมุนไพรบำรุงเลือด-บำรุงชี่ที่อยู่ในรูปแบบสารสกัด อุดมไปด้วยกรดอะมิโน 18 ชนิด (รวมทั้งกรดอะมิโน 8 ชนิดที่ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ขึ้นมาได้เอง) แร่ธาตุหลักและแร่ธาตุจำนวนน้อย (Trace Element) กว่า 20 ชนิด สาร Ginsenoside, Rehmannioside, Tangshenoside, Flavonoids, Catalpol, Phospholipid, Organic Acid ฯลฯ ซึ่งมีกลไกออกฤทธิ์สำคัญดังนี้

  • เกื้อหนุนสารอาหารสำคัญในการสร้างเลือดอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ทำให้เม็ดเลือดแดงและฮีโมโกลบินเพิ่มขึ้นทั้งปริมาณและคุณภาพได้อย่างเด่นชัด จึงบำบัดอาการของภาวะโลหิตจางได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะได้ผลดีและยั่งยืนกว่าการเสริมธาตุเหล็กเพียงอย่างเดียว
  • กระตุ้นการแบ่งตัวและเพิ่มจำนวนของสเต็มเซลล์ในไขกระดูกซึ่งเป็นเซลล์ต้นกำเนิดและสามารถพัฒนาไปเป็นเซลล์เม็ดเลือดชนิดต่างๆ ได้ จึงขจัดต้นเหตุของภาวะโลหิตจาง ภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำและภาวะเกล็ดเลือดต่ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกายเชิงบูรณาการ ทำให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้น จึงรู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่า ไม่อ่อนเพลียง่ายและทนต่อภาวะความเครียดได้ดีขึ้น

อาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ไม่มีเรี่ยวแรง นอนไม่หลับ ฝันบ่อย ใจสั่น หายใจถี่ เวียนศีรษะ หน้ามืด ตาลาย ขาดสมาธิ ขี้หลงขี้ลืม ภูมิคุ้มกันต่ำ เป็นหวัดบ่อย สีหน้าซีดเซียวและอาการอื่นๆ ของภาวะโลหิตจางก็จะค่อยๆ ทุเลาลงหรืออาจหายไปในที่สุด

YouTube player
YouTube player

ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

Collatin

Collatin

การไหลเวียนเลือด // ระบบภูมิคุ้มกัน

ปรึกษาแพทย์จีน
ปรึกษาแพทย์จีน
Scroll to Top