หน้าแรก  »  บทความสุขภาพ  »  หลับยาก ตื่นกลางดึกบ่อย ฝันบ่อย ตื่นเช้าไม่สดชื่น คุณกำลังเป็นอยู่ไหม

หลับยาก ตื่นกลางดึกบ่อย ฝันบ่อย ตื่นเช้าไม่สดชื่น คุณกำลังเป็นอยู่ไหม

โรคนอนไม่หลับเรื้อรังหรืออาการนอนหลับไม่สนิทในทัศนะการแพทย์จีน

หลับยาก หลับไม่ลึก ตื่นกลางดึกบ่อย ฝันบ่อย ตื่นเช้าไม่สดชื่น คุณกำลังเป็นอยู่ไหม ? ให้เอินเวย์ช่วยคุณ แก้ที่ต้นเหตุ ได้ผล 94% นอนหลับดี สุขภาพดี

ร่างกายคนเราเปรียบเสมือนเครื่องจักรที่ต้องทำงานตลอด 24 ชั่วโมง การนอนก็เปรียบเสมือนให้เครื่องจักรได้หยุดพัก เพื่อจะได้อาศัยช่วงเวลานอนหลับซ่อมแซมและพักฟื้นตนเอง การนอนหลับไม่เพียงพอทั้งด้านระยะเวลาและคุณภาพ จะเป็นบ่อเกิดของสารพัดโรค และทำให้โรคประจำตัวที่เป็นอยู่นั้นทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น นั่นคือเหตุผลว่าทำไมคนเราต้องใช้เวลาถึง 1 ใน 3 ของชีวิตให้กับการนอน

ความสำคัญของการนอนหลับในแต่ละช่วงเวลา

  • การนอนหลับในช่วง 3 ทุ่ม – 5 ทุ่ม ช่วยให้ ระบบน้ำเหลือง ขับของเสียได้ดีขึ้น พร้อมทั้งเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงขึ้น ซึ่งเป็นด่านแรกในการป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ
  • การนอนหลับในช่วง 4 ทุ่ม – เที่ยงคืน จะช่วยกระตุ้นให้ เซลล์ผิว ซ่อมแซมตัวเองและมีการผลัดเซลล์ใหม่ ซึ่งจะเร็วกว่าปกติถึง 8 เท่า
  • การหลับสนิทในช่วง 5 ทุ่ม – ตี 3 กระตุ้นให้ ถุงน้ำดี ตับ ไต ขับของเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • การนอนหลับในช่วง เที่ยงคืน – ตี 4 จะกระตุ้นให้ ไขสันหลัง สร้างเม็ดเลือดแดงอย่างมีประสิทธิภาพ
  • การหลับสนิทในช่วง ตี 3 – ตี 5 จะส่งเสริมให้ ปอด ขับพิษได้อย่างมีประสิทธิภาพ

รู้สึก “นอนไม่หลับ”

Checklist ภาวะนอนไม่หลับ
  • หลับยาก: ใช้เวลาเข้านอนมากกว่า 30 นาที
  • ตื่นบ่อย: ตื่นกลางดึก 2 ครั้ง หรือ 2 ครั้งขึ้นไป
  • คุณภาพการนอนไม่ดี: นอนหลับไม่ลึก ฝันบ่อย
  • ระยะเวลาการนอนหลับลดลง: นอนหลับได้น้อยกว่า 6 ชั่วโมง
  • ผลกระทบอื่นๆ: เมื่อตื่นนอนร่างกายรู้สึกเหนื่อยล้า ไม่สดชื่น
  • รู้สึกมึนศีรษะ ง่วงเหงาหาวนอน อ่อนเพลีย คิดอะไรได้ช้าลง

สาเหตุและผลกระทบจากการนอนไม่หลับ

อาการนอนไม่หลับเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ความเครียด การเจ็บป่วยทางร่างกายและจิตใจ ผลข้างเคียงจากการใช้ยา เปลี่ยนที่นอน การเดินทาง เป็นต้น อาการนอนไม่หลับ จะส่งผลกระทบกับทุกส่วนของร่างกาย

ผลของอาการนอนไม่หลับ

การแพทย์จีนแก้จากต้นเหตุอย่างไร

ในทัศนะการแพทย์จีน อาการนอนไม่หลับเกิดจากภาวะลมปราณในตับ เกิดการอุดกั้นร่วมกับภาวะหยินในร่างกายพร่องลง เนื่องจากในทัศนะการแพทย์จีนตับเป็นศูนย์บัญชาการกระจายพลังลมปราณไปสู่ทั่วร่างกาย ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญที่จะทำให้ตับและอวัยวะอื่นๆ ทำงานได้อย่างราบรื่น

การแพทย์จีนจึงนิยมใช้สมุนไพร Baihe, Ciwujia, Heshouwu, Zhenzhumu, Suanzaoren, Yuanzhi, Xuanshen, Dihuang, Maidong, Wuweizhi, Dengxincao ฯลฯ ซึ่งสรรพคุณบำรุงหยินระบายความร้อน (滋阴清热) ระบายพลังลมปราณในตับ (疏肝解郁) สงบอารมณ์และจิตใจ (宁心安神) เพื่อบำบัดภาวะนอนไม่หลับจากต้นเหตุ

จากการวิจัยและทดลองทางการแพทย์และเภสัชวิทยาในปัจจุบันพบว่า ยาสมุนไพรจีนที่อยู่ในรูปแบบสารสกัดเป็นรูปแบบที่มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูงสุด เนื่องจากสามารถสกัดและควบคุมสารออกฤทธิ์ได้อย่างแม่นยำ โดยมีกลไกออกฤทธิ์คือ ปรับความสมดุลทั้งปริมาณและการทำงานของสารเคมีสำคัญดังนี้

สารเคมีในสมองที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับ
  • GABA มีหน้าที่ยับยั้งกระแสประสาท ทำให้สมองเกิดความสมดุลและผ่อนคลาย
  • Serotonin สารเคมีสำคัญในการควบคุมการนอนหลับ หากระดับ Serotonin ต่ำลงจะส่งผลต่อสภาพอารมณ์ มีผลให้ง่ายต่อการเป็นโรควิตกกังวล ซึมเศร้า นอนไม่หลับ
  • สารเคมีสำคัญอื่นๆ ได้แก่ Dopamine, Acetylcholine, Norepinephrine เป็นต้น

ดังนั้น จึงสามารถบำบัดอาการนอนไม่หลับจากต้นเหตุ ไม่เกิดการดื้อยาและไม่มีผลข้างเคียงใดๆ ที่สำคัญคือ สามารถลดความเสี่ยงของการเกิดโรคต่างๆ และเพิ่มอัตราการหายของโรคประจำตัวที่รักษาอยู่ อาการหลับยาก ตื่นง่าย ตื่นกลางดึก ฝันบ่อย อาการอ่อนเพลีย สมองคิดช้า วิตกกังวล หงุดหงิด ฉุนเฉียวและสารพัดอาการที่เกิดจากนอนไม่หลับก็จะค่อยๆ ทุเลาลง เมื่อใช้ติดต่อกัน 10 วัน และเห็นผลเด่นชัด* เมื่อใช้ติดต่อกัน 1 เดือน ระยะเวลาการบำบัดอาจไม่เท่ากันในแต่ละคน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอายุ ความรุนแรงของอาการ ระยะเวลาที่เรื้อรังและโรคประจำตัวที่เป็นอยู่

การใช้ยานอนหลับมีอันตรายอย่างไร

เมื่อประสบปัญหาภาวะนอนไม่หลับเป็นระยะเวลานาน หลายๆ คนจำเป็นต้องพึ่งพายานอนหลับ ถึงแม้ว่าจะเป็นยาพื้นฐานในการบรรเทาอาการนอนไม่หลับของการแพทย์ตะวันตกก็ตาม แต่ก็ไม่ใช่ทางออกที่ดีและปลอดภัยสำหรับผู้ป่วย ทั้งนี้เนื่องจากยานอนหลับไม่ได้รักษาที่ต้นเหตุ อีกทั้งมีผลข้างเคียงและอันตรายหลายอย่างตามมา อาทิ

ยานอนหลับมีอันตรายอย่างไร
YouTube player
YouTube player
YouTube player
ปรึกษาแพทย์จีน
ปรึกษาแพทย์จีน
Scroll to Top