หัวใจ (心) ในทางการแพทย์แผนจีน ไม่ได้ทำหน้าที่สูบฉีดโลหิตตามที่เราคุ้นเคยตามศาสตร์การแพทย์ตะวันตกเท่านั้น แต่ยังมีหน้าที่ครอบคลุมไปถึงการควบคุมจิตใจ อารมณ์ และการหมุนเวียนของพลังชีวิต หรือที่เรียกว่า “พลังชี่” (气) ในร่างกาย
ในมุมมองของการแพทย์แผนจีน หัวใจจัดเป็น “อวัยวะเจ้าผู้ปกครอง” มีบทบาทสำคัญในการรักษาความสมดุลของร่างกายและจิตใจ เมื่อหัวใจอ่อนแอหรือเสียสมดุล จึงส่งผลกระทบต่อทั้งคู่ ไม่ใช่แค่สุขภาพกายเหมือนอย่างที่หลายคนเข้าใจ โดยหลักการดูแลในทางการแพทย์แผนจีนก็จะมุ่งเน้นส่งเสริมให้หัวใจและอวัยวะต่างๆ ทำงานร่วมกันได้อย่างสมดุล ซึ่งจะส่งผลให้มีสุขภาพกายและใจที่ดีไปพร้อมๆ กัน
หัวใจไม่แข็งแรง มักแสดงอาการอย่างไร
- ใจสั่น ใจหวิว เจ็บแน่นหน้าอก
- นอนไม่หลับ หลับไม่สนิท ฝันบ่อย
- อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
- ใบหน้าซีดเซียว ไม่มีเลือดฝาด
- เครียด คิดมาก วิตกกังวล ซึมเศร้า
- ตกใจง่าย
- เหงื่อออกผิดปกติ เหงื่อออกกลางคืน เหงื่อออกที่ฝ่ามือ
- วิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะง่าย
- ลิ้นซีด ปลายลิ้นแดง
- ความดันโลหิตสูงหรือต่ำเกินไป อาจทำให้เวียนศีรษะหรือหน้ามืดได้
- หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ เต้นช้าผิดปกติ หรือเต้นสั่นพริ้ว
หัวใจ สำคัญอย่างไรในทางการแพทย์แผนจีน
- หัวใจเป็น “เจ้าแห่งจิตใจ” (心主神志) หัวใจมีหน้าที่ควบคุมการทำงานของจิตใจและอารมณ์ให้เป็นปกติ สัมพันธ์กับความรู้สึก การนึกคิด การรับรู้ รวมถึงสติและการตัดสินใจ ดังนั้น เมื่อหัวใจไม่แข็งแรงก็จะทำให้เกิดอาการเครียด วิตกกังวล ซึมเศร้า นอนไม่หลับ และส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ทำให้เกิดอาการใจสั่น ปวดศีรษะ วิงเวียนศีรษะ อ่อนเพลีย เหนื่อยง่ายตามมา ดังคำกล่าวที่ว่า “จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว” ซึ่งหมายถึงสภาพจิตใจและอารมณ์ที่ไม่สมดุล เป็นสาเหตุทำให้เกิดการเจ็บป่วยทางร่างกายตามมาได้นั่นเอง
- หัวใจควบคุมการไหลเวียนของเลือด ควบคุมหลอดเลือด รวมถึงกำหนดชีพจร (心主血脉) หัวใจในทางการแพทย์แผนจีนยังสัมพันธ์กับการไหลเวียนของเลือดและพลังลมปราณหรือที่เรียกว่าพลังชี่ (气) ไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งการไหลเวียนของเลือดและพลังชี่ที่ดีจะช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารและออกซิเจนอย่างเพียงพอ หากหัวใจอ่อนแอหรือทำงานผิดปกติก็จะกระทบต่ออัตราการเต้นของหัวใจ ส่งผลให้เกิดอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย วิงเวียนศีรษะ หน้าซีด ใจสั่น นอนไม่หลับ เจ็บหน้าอก เป็นต้น
- หัวใจควบคุมเหงื่อ ในทางการแพทย์แผนจีน เหงื่อเป็นสารน้ำซึ่งถูกควบคุมโดยหัวใจ โดยมีแหล่งกำเนิดมาจากเลือด หากการทำงานของหัวใจผิดปกติ จะแสดงออกถึงการมีเหงื่อที่ผิดปกติ เช่น เหงื่อออกมากผิดปกติ เหงื่อออกตอนกลางคืน หรือบางรายอาจมีเหงื่อออกมากเฉพาะบริเวณฝ่ามือ เป็นต้น
หัวใจทำงานสัมพันธ์กับอวัยวะต่างๆ อย่างไร
ดังคำกล่าวที่ว่า “หัวใจเป็นอวัยวะเจ้าผู้ปกครอง” ซึ่งก็คือหัวใจจะมีความสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย เพื่อให้ทำงานร่วมกันได้อย่างสมดุล
- หัวใจทำงานสัมพันธ์กับตับ (心与肝) หัวใจควบคุมเลือด นำพาเลือดไปหล่อเลี้ยงทั่วร่างกาย ส่วนตับช่วยกักเก็บเลือด พร้อมทั้งช่วยหัวใจระบายเลือดให้เป็นปกติ เมื่อเลือดในหัวใจเพียงพอ เลือดในตับก็จะเพียงพอเช่นกัน การทำงานในร่างกายก็จะสมดุลแข็งแรงตามมา
- หัวใจทำงานสัมพันธ์กับม้าม (心与脾) ตามทฤษฎีปัญจธาตุ หัวใจถือเป็นอวัยวะแม่ของม้าม ม้ามมีหน้าที่ผลิตเลือดและพลังลมปราณ ซึ่งจะทำงานเกื้อกูลกัน
- หัวใจทำงานสัมพันธ์กับไต (心与肾) ไตมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการทำงานของหัวใจ หากหัวใจและไตทำงานไม่สัมพันธ์กัน อาจทำให้เกิดอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ ใจสั่น นอนไม่หลับ และเกิดภาวะไตอ่อนแอได้
- หัวใจทำงานสัมพันธ์กับปอด (心与肺) ปอดมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการหายใจและควบคุมพลังลมปราณ มีส่วนช่วยในการฟอกเลือดให้สะอาดแล้วนำกลับเข้าไปที่หัวใจเพื่อนำพาเลือดที่สะอาดไปหล่อเลี้ยงทั่วร่างกาย
การดูแลหัวใจ คือหัวใจสำคัญของการดูแลสุขภาพ นวัตกรรมสมุนไพรจีนเอินเวย์ช่วยได้อย่างไร
การดูแลหัวใจในทัศนะการแพทย์แผนจีน ไม่เพียงแต่จะรักษาอาการทางกายเท่านั้น แต่ยังมุ่งเน้นรักษาจิตใจและอารมณ์ให้สมดุลด้วยเช่นกัน
เอินเวย์ (Enwei) ได้เลือกใช้ตำรับยาสมุนไพรจีนที่มีฤทธิ์ครอบคลุมการดูแลรักษาและปรับสมดุลการทำงานของหัวใจและร่างกาย พร้อมทั้งช่วยฟื้นฟูและปรับสมดุลสภาพอารมณ์และจิตใจให้เป็นปกติ ซึ่งเป็นตำรับยาที่ได้รับความไว้วางใจในการดูแลรักษาหัวใจเป็นอันดับ 1 ของประเทศจีน มีผลงานศึกษาวิจัยรองรับ ทั้งยังได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ด้านความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติในประเทศจีนเมื่อปี 2019
ตำรับยาที่เอินเวย์เลือกใช้ เป็นสารสกัดเข้มข้นจากสมุนไพรจีนกว่า 12 ชนิด ที่ได้คัดเลือกวัตถุดิบสมุนไพรจีนเกรด A จากแหล่งวัตถุดิบที่ดีที่สุด ภายใต้มาตรฐานสากล GAP ได้แก่ Renshen (人参), Maidong (麦冬), Wuweizi (五味子), Shanzhuyu (山茱萸), Suanzaoren (酸枣仁), Longgu (龙骨), Danshen (丹参), Chishao (赤芍), Tubiechong (土鳖虫), Gansong (甘松), Sangjisheng (桑寄生) และ Huanglian (黄连) โดยใช้เทคโนโลยีอันทันสมัยเพื่อควบคุมสารออกฤทธิ์ให้มีความเข้มข้น แม่นยำ และคงที่
กลไกการออกฤทธิ์สำคัญในทางเภสัชวิทยา
- ปรับปรุงการทำงานของหลอดเลือดขนาดเล็กและส่งเสริมการสร้างหลอดเลือดใหม่
- ช่วยปกป้องเซลล์เยื่อบุผนังหลอดเลือดจากภาวะระดับน้ำตาลและไขมันสูง พร้อมทั้งยับยั้งความเสียหายและการตอบสนองต่อการอักเสบ จึงสามารถช่วยลดภาวะหลอดเลือดแข็งและความเสี่ยงของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ดี
- ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดหลอดเลือดตีบซ้ำในผู้ป่วยที่ทำบอลลูนหรือใส่ขดลวดเพื่อขยายหลอดเลือดหัวใจ
- ส่งเสริมการสร้างหลอดเลือดฝอยบริเวณรอบนอกของกล้ามเนื้อหัวใจที่ตาย พร้อมปรับสมดุลการสร้างสารที่มีฤทธิ์ขยายหลอดเลือดหรือทำให้หลอดเลือดหดตัว จึงสามารถช่วยปรับปรุงการไหลเวียนของเลือดในหัวใจได้ดี
- ส่งเสริมการสร้างพลังงานของหัวใจและช่วยให้หัวใจทำงานได้อย่างถูกต้อง ช่วยให้คลื่นไฟฟ้าของกล้ามเนื้อหัวใจคงที่ ป้องกันการเกิดภาวะหัวใจโต และช่วยฟื้นฟูการทำงานของหัวใจสำหรับผู้ป่วยภาวะหัวใจโตและหัวใจล้มเหลว
- ส่งเสริมการสร้างสารสำคัญ ที่มีบทบาทช่วยควบคุมการเผาผลาญไขมันและควบคุมสมดุลพลังงาน เพื่อรักษาความสมดุลของพลังงานในหัวใจ
- ปรับการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติของหัวใจ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเส้นประสาทเวกัส ช่วยลดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ และบรรเทาอาการใจสั่น นอนไม่หลับ ฝันบ่อย
- ยับยั้งการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจ ควบคุมอาการของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ โดยเฉพาะภาวะหัวใจห้องบนเต้นสั่นพริ้ว
- ยับยั้งการเกิดพังผืดในกล้ามเนื้อหัวใจ ลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจ รวมทั้งภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะและหัวใจล้มเหลว
- ปรับปรุงโครงสร้างเชิงไฟฟ้าของกล้ามเนื้อหัวใจ ป้องกันและรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
การดูแลสุขภาพหัวใจเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม เพราะหัวใจที่แข็งแรงคือหลักประกันอย่างหนึ่งของการมีชีวิตที่ยืนยาวและมีคุณภาพ ในทางกลับกัน หัวใจที่อ่อนแอและผิดปกติ ก็นับได้ว่าเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ของความพิการและการเสียชีวิตที่เกิดขึ้นทั่วโลก
คนกลุ่มใดควรดูแลหัวใจเป็นพิเศษ
- ผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ตามธรรมชาติของคนวัย 40 ปีขึ้นไป ร่างกายจะเกิดภาวะพร่องพลังลมปราณ (气虚) และพร่องพลังหยิน (阴虚) จึงส่งผลกระทบต่อการทำงานของเส้นลมปราณในหัวใจ ทำให้หัวใจอ่อนแอและขาดความสมดุล จึงเป็นเหตุทำให้เสี่ยงต่อโรคหัวใจหลายชนิดได้
- ผู้ที่มีปัญหานอนไม่หลับ ใจสั่น หายใจไม่เต็มอิ่ม แน่นหน้าอก เจ็บหน้าอก เวียนศีรษะ อ่อนเพลีย ซึ่งผู้ที่มีอาการเหล่านี้มักจะมีการใช้ยานอนหลับ ยาแก้ใจสั่น แก้เวียนศีรษะ แก้อ่อนเพลีย ตลอดจนยาอื่นๆ การใช้ยาสมุนไพรจีนตำรับนี้ที่มีประสิทธิภาพสูงในการปรับคุณภาพการนอนหลับ รักษาอาการแน่นหน้าอก ใจสั่น หายใจไม่เต็มอิ่ม เวียนศีรษะอ่อนเพลีย และเหนื่อยล้าได้ดี จึงนับว่ามีความเหมาะสม
- กลุ่มผู้ป่วยโรคหลอดเลือดและหัวใจ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง โรคไทรอยด์ โรคอ้วน ซึ่งเป็นโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจชนิดต่างๆ ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะมีการใช้ยาสแตติน แอสไพริน ไนเตรท ยาอมใต้ลิ้น ฯลฯ การใช้สมุนไพรจีนตำรับนี้จะช่วยปรับการทำงานของหัวใจให้มีประสิทธิภาพและควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ อีกทั้งยังช่วยบรรเทาอาการนอนไม่หลับ แน่นหน้าอก เจ็บหน้าอก ใจสั่น หายใจไม่เต็มอิ่ม เวียนศีรษะและอ่อนเพลียได้ดี
- ผู้ที่มีความเครียด วิตกกังวล พักผ่อนไม่เพียงพอ นอนดึก ขาดการออกกำลังกาย ชอบดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เครื่องดื่มชูกำลัง หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีการสูบบุหรี่หรือทานยาบางชนิดที่มีผลข้างเคียงทำให้เกิดความเครียด ปัจจัยทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้
- ผู้ที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เช่น หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ หัวใจเต้นช้าผิดปกติ หรือหัวใจเต้นสั่นพริ้ว ยาสมุนไพรจีนตำรับนี้มีประสิทธิภาพโดดเด่นในการรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ทั้งชนิดเต้นเร็ว ชนิดเต้นช้า ใช้ร่วมกับยาแผนปัจจุบันได้ สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาและลดผลข้างเคียงของยาแผนปัจจุบัน พร้อมทั้งช่วยบรรเทาอาการใจสั่น นอนไม่หลับ เจ็บแน่นหน้าอก หายใจไม่เต็มอิ่ม เหนื่อยล้า และเหงื่อออกตอนนอนหลับได้ดีอีกด้วย
- ผู้ที่ครอบครัวมีกรรมพันธุ์เป็นโรคหัวใจ เนื่องจากคนกลุ่มนี้จะมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจมากกว่ากลุ่มคนทั่วไป
การดูแลบำรุงหัวใจควรเริ่มแต่เนิ่นๆ เพราะการมีหัวใจที่แข็งแรงคือหัวใจสำคัญของการมีสุขภาพที่ดี คุณสามารถเริ่มต้นได้ตั้งแต่วันนี้ การแพทย์จีนสมัยใหม่และนวัตกรรมสมุนไพรจีนเอินเวย์ (Enwei) ช่วยคุณได้ ปรึกษาฟรีกับทีมผู้เชี่ยวชาญและเภสัชกรเอินเวย์ที่สายด่วนสุขภาพ 02-751-4399 หรือแอดไอดีไลน์ @enwei