หน้าแรก  »  บทความสุขภาพ  »  โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) อายุน้อยก็เป็นได้

โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) อายุน้อยก็เป็นได้

อายุน้อยก็เป็นโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ได้

โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) มักถูกมองว่าเป็นเรื่องไกลตัวสำหรับผู้ที่มีอายุน้อย แต่ในความเป็นจริงแล้ว แม้จะมีโอกาสต่ำกว่าผู้สูงอายุ แต่เด็กเล็ก วัยรุ่น หรือผู้ใหญ่ที่ยังมีอายุไม่มาก ก็สามารถเป็นโรคหลอดเลือดสมองได้เช่นกัน

จากประเด็นดังกล่าวนี้ การใส่ใจเรียนรู้ข้อมูลและวิธีรับมือกับโรคหลอดเลือดสมองในผู้ที่มีอายุน้อย จึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม เพราะจะมีส่วนช่วยลดโอกาสพิการและเสียชีวิตได้ ซึ่งทางเอินเวย์ ในฐานะของผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรและการแพทย์จีนสมัยใหม่ ก็ขออาสานำข้อมูลมาให้ชมกันในบทความนี้เองค่ะ

ผู้ที่มีอายุน้อยมีความเสี่ยงเกิดโรคหลอดเลือดสมองมากน้อยเพียงใด

จริงอยู่ที่อายุเฉลี่ยของผู้ที่เริ่มเป็นโรคหลอดเลือดสมองจะอยู่ที่ 70 กว่าปี แต่ผู้ที่มีอายุน้อยก็มีโอกาสเป็นได้เช่นกัน โดยจะมีตัวอย่างข้อมูลจากประเทศมาเลเซียดังนี้ (เนื่องจากข้อมูลอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในไทยที่แบ่งตามช่วงอายุจะมีอยู่ค่อนข้างจำกัด บทความนี้จึงใช้ข้อมูลจากประเทศใกล้เคียงมาแสดงให้เห็นภาพแทน)

ข้อมูลอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในประเทศมาเลเซีย

ช่วงอายุปี 2008ปี 2016การเปลี่ยนแปลง
0-34 ปี6.67.5+0.9
35-39 ปี26.740.6+13.9
40-44 ปี52.874.5+21.7
45-49 ปี98.7124.8+26.1
50-54 ปี169.8190.7+20.9
55-59 ปี240.9269.2+28.3
60-64 ปี369.5365.0-4.5
65-69 ปี580.4472.4-108.0
70-74 ปี760.9636.3-124.6
75-79 ปี913.5828.3-85.2
80-84 ปี930.4998.8+68.4
85+ ปี835.7768.5-67.2

ข้อมูลนี้จะเป็นข้อมูลอุบัติการณ์ของโรคหลอดเลือดสมองในประเทศมาเลเซีย (ต่อประชากร 100,000 คนต่อปี) แบ่งตามช่วงอายุ เปรียบเทียบระหว่างปี 2008 และ 2016 อ้างอิงจากงานวิจัยที่ตีพิมพ์เมื่อปี 2021 ซึ่งก็จะมีข้อสรุปที่น่าสนใจ ได้แก่

  • ความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามอายุ
  • ผู้ที่มีอายุน้อยก็มีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดสมองได้ เช่น ในปี 2016 ผู้ที่มีอายุ 35-39 ปี ในงานศึกษาชิ้นนี้ จะมีอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดสมองอยู่ที่ 40.6 คนต่อประชากร 100,000 คนต่อปี
  • ผู้ที่มีอายุน้อยจะมีแนวโน้มเป็นโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้นในช่วงปีหลัง ซึ่งก็คาดว่าอาจเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมการใช้ชีวิตและสภาวะแวดล้อมที่เอื้อให้เสี่ยงต่อโรคมากขึ้น เช่น พฤติกรรมการกินที่ไม่ดี การขาดกิจกรรมทางกาย ความเครียด มลพิษทางอากาศ ฯลฯ

โรคหลอดเลือดสมองในเด็ก

แม้ทารกและเด็ก (อายุต่ำกว่า 18 ปี) จะมีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดสมองได้ แต่ก็จะมีรายละเอียดที่ต่างจากผู้ใหญ่ ซึ่งก็คือ

  • ปัจจัยเสี่ยง ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองในเด็กจะต่างจากผู้ใหญ่ โดยมักจะเกิดจากโรคและความผิดปกติเฉพาะ เช่น โรคหัวใจ โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคไข้สมองอักเสบ อาการบาดเจ็บที่ศีรษะ ฯลฯ ในขณะที่ปัจจัยเสี่ยงในผู้ใหญ่นั้นมักเกิดจากโรคเรื้อรังและพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ดี เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคอ้วน ภาวะไขมันในเลือดสูง การขาดกิจกรรมทางกาย ฯลฯ
  • สัญญาณเตือน สัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมองในทารกจะต่างจากผู้ใหญ่ และมักจะสังเกตได้ยากกว่า โดยอาจประกอบไปด้วยอาการกระตุกซ้ำๆ ที่ใบหน้า แขน หรือขา อาการหยุดหายใจชั่วขณะ ฯลฯ ส่วนสัญญาณเตือนในเด็กที่โตขึ้นมาหน่อยก็จะมีความคล้ายคลึงกับผู้ใหญ่ แต่มักจะถูกมองข้าม เพราะคนส่วนใหญ่มักไม่คิดว่าเด็กจะเป็นโรคหลอดเลือดสมอง

สัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมอง

ไม่ว่าจะอายุมากหรือน้อย การรู้จักสังเกตอาการผิดปกติที่เป็นสัญญาณเตือนของโรคหลอดเลือดสมองตามหลัก BE FAST เพื่อให้สามารถรับการรักษาได้อย่างทันท่วงที ก็นับเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยลดโอกาสพิการและเสียชีวิตจากโรคได้ ซึ่งก็จะประกอบไปด้วย

  • B – Balance ยืนเซ เดินเซ การทรงตัวของร่างกายผิดปกติ
  • E – Eyes ตามัว มองไม่เห็น การมองเห็นเปลี่ยน
  • F – Face หน้าเบี้ยว ปากเบี้ยว
  • A – Arms แขนขาชาหรืออ่อนแรง
  • S – Speech พูดไม่ออก พูดไม่ชัด พูดลำบาก มึนงง
  • T – Time เวลาก่อนเริ่มการรักษาเป็นสิ่งสำคัญ หากมีอาการใดๆ ตามที่กล่าวมาข้างต้นแบบเฉียบพลัน ก็ควรรีบรับการวินิจฉัยและรักษาให้เร็วที่สุด เพื่อช่วยลดโอกาสพิการและเสียชีวิต

การป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง

ด้วยแนวโน้มผู้ใหญ่ที่มีอายุน้อยป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้นในช่วงปีหลังๆ การใส่ใจดูแลควบคุมปัจจัยเสี่ยงตั้งแต่เนิ่นๆ จึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากขึ้น ซึ่งก็จะสามารถทำได้ดังนี้

  • ดูแลความดันให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
  • ดูแลน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
  • ดูแลน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
  • ดูแลไขมันในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
  • จำกัดโซเดียม ไขมันอิ่มตัว ไขมันทรานส์ น้ำตาล และพลังงานจากอาหาร
  • จำกัดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • เน้นกินผัก ผลไม้ ธัญพืช ข้าวแป้งขัดสีน้อย ปลา และเนื้อสัตว์ไขมันต่ำมากขึ้น
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • งดสูบบุหรี่
  • ปกป้องตนเองจากฝุ่น PM2.5
  • ตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ทราบถึงปัญหาสุขภาพและสามารถดูแลแก้ไขได้ตั้งแต่เนิ่นๆ

การดูแลหลอดเลือดสมองในทัศนะการแพทย์จีน

การดูแลหลอดเลือดสมอง การแพทย์จีนจะนิยมใช้วิธีบำบัดแบบองค์รวมและปรับสมดุลร่างกาย ผ่านตำรับยาที่สกัดจากพืชสมุนไพรธรรมชาติหลายชนิด เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ครอบคลุมและยั่งยืน โดยจะมีหลักการทำงานดังนี้

  • ปรับสมดุลตับ เพื่อให้ตับผลิตไขมันในปริมาณที่เหมาะสม ไม่ผลิตไขมันมากหรือเร็วเกินไป
  • ลดระดับไตรกลีเซอไรด์ เพิ่ม HDL เพื่อส่งเสริมการนำ LDL ซึ่งเป็นคอเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดีไปทำลายที่ตับ
  • สลายภาวะเลือดคั่ง ลดความข้นหนืดของเซลล์เม็ดเลือด
  • ยับยั้งการก่อตัวของลิ่มเลือด
  • ผลักดันการไหลเวียนของเลือด เพิ่มประสิทธิภาพการไหลเวียนของเลือดในเส้นเลือดฝอย
  • ลดการแข็งตัวและเพิ่มความยืดหยุ่นของหลอดเลือด

ท่านที่สนใจดูแลหลอดเลือดสมองตามทัศนะการแพทย์จีน ก็สามารถขอรับคำปรึกษาจากแพทย์แผนจีนและผู้เชี่ยวชาญได้ที่ไอดีไลน์ @enwei

จบแล้วกับข้อมูลโรคหลอดเลือดสมองในผู้ที่มีอายุน้อย พร้อมด้วยข้อมูลสำคัญอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ทางเอินเวย์หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์แก่ทุกท่านนะคะ

เอินเวย์ ศูนย์รวมยาสมุนไพรจีนระดับพรีเมี่ยมจากประเทศจีน ซึ่งอยู่เคียงข้างสังคมไทยมานานกว่า 30 ปี ขอเป็นอีกหนึ่งทางเลือกธรรมชาติในการดูแลสุขภาพตามศาสตร์การแพทย์จีน เพื่อให้ทุกท่านได้มีสุขภาพที่ดี

YouTube player
ปรึกษาแพทย์จีน
ปรึกษาแพทย์จีน
Scroll to Top