คนไทยถึงกว่า 1 ใน 3 มีไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงเกินเกณฑ์ อ้างอิงจากผลสำรวจสุขภาพประชาชนไทย ครั้งที่ 6 เมื่อปี 2019-2020 ซึ่งการมีไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงนั้น ก็จะทำให้เสี่ยงเกิดหลอดเลือดอุดตันและโรคร้ายแรงหลายๆ โรคมากขึ้น อย่างเช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ฯลฯ
จากข้อมูลนี้ ทางที่ดี ทุกคนจึงควรตระหนักและเรียนรู้เกี่ยวกับภาวะไตรกลีเซอไรด์สูงเอาไว้ เพื่อที่จะได้สามารถดูแลตัวเองและคนใกล้ตัวได้อย่างเหมาะสม โดยทางเอินเวย์ ในฐานะของผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์สมุนไพรจีนสมัยใหม่ ก็ขออาสามาให้ความรู้ในบทความนี้เองค่ะ
ไตรกลีเซอไรด์คืออะไร
ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) คือไขมันชนิดหลักที่พบได้ทั่วไปทั้งในอาหารและในร่างกายของเรา
ไตรกลีเซอไรด์ในร่างกายของเราจะมีทั้งที่มาจากอาหารโดยตรง และมาจากพลังงานส่วนเกิน โดยเฉพาะจากแอลกอฮอล์และน้ำตาล ซึ่งจะถูกเปลี่ยนเป็นไตรกลีเซอไรด์เพื่อเก็บสะสมเอาไว้
แม้ไตรกลีเซอไรด์มักจะได้รับความสนใจน้อยกว่าคอเลสเตอรอลชนิดต่างๆ อย่างเช่น LDL (ไขมันเลว) และ HDL (ไขมันดี) แต่ก็นับว่ามีความสำคัญต่อสุขภาพหลอดเลือดไม่แพ้กัน การดูแลรักษาระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติจะถือเป็นสิ่งที่ควรใส่ใจสำหรับทุกคน
ค่าปกติไตรกลีเซอไรด์คือเท่าไหร่
สำหรับเกณฑ์ค่าไตรกลีเซอไรด์ในเลือดปกติและสูงก็จะมีรายละเอียดตามตารางดังนี้
เกณฑ์ | ค่าไตรกลีเซอไรด์ (มิลลิกรัม/เดซิลิตร) |
---|---|
ปกติ | < 150 |
เริ่มสูง | 150-199 |
สูง | 200-499 |
สูงมาก | ≥ 500 |
ไตรกลีเซอไรด์สูงอันตรายไหม
ภาวะไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงถือเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เนื่องจากจะมีส่วนทำให้หลอดเลือดแข็งและตีบตัน อีกทั้งยังอาจทำให้ตับอ่อนอักเสบอีกด้วย ตัวอย่างโรคและอาการผิดปกติที่มีภาวะไตรกลีเซอไรด์สูงเป็นปัจจัยเสี่ยงก็ได้แก่
- โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ภาวะหัวใจวาย หัวใจล้มเหลว
- โรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์ อัมพาต
- โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ
- ภาวะเมแทบอลิกซินโดรม
- โรคตับอ่อนอักเสบ
ไตรกลีเซอไรด์สูงมีอาการอย่างไร
ภาวะไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงขึ้นชื่อว่าเป็นภัยเงียบ เพราะปกติแล้วจะไม่มีอาการผิดปกติใดๆ แสดงออกมา จนกว่าจะเกิดเป็นโรคร้ายแรงต่างๆ อย่างเช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคตับอ่อนอักเสบ ฯลฯ
ด้วยเหตุนี้ การหมั่นตรวจระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดอย่างเหมาะสมจึงถือเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะในผู้ที่มีความเสี่ยงมากกว่าปกติ อย่างเช่น ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์ ผู้ที่มีพฤติกรรมสุขภาพไม่ดี ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ผู้ที่มีฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ ฯลฯ
ไตรกลีเซอไรด์สูงเกิดจากอะไร
บางคนที่มีไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงก็อาจเกิดจากโรคทางพันธุกรรมหายาก ที่ทำให้ตับผลิต VLDL ซึ่งเป็นสารที่ทำหน้าที่ขนส่งไตรกลีเซอไรด์มากผิดปกติ แต่สำหรับคนส่วนใหญ่นั้น ก็จะเกิดจากปัจจัยอื่นๆ ยกตัวอย่างเช่น
พฤติกรรมการใช้ชีวิต
- การได้รับน้ำตาลเกิน
- การได้รับแอลกอฮอล์เกิน
- การขาดกิจกรรมทางกาย
โรคและสภาวะร่างกาย
- น้ำหนักตัวเกิน
- การตั้งครรภ์
- โรคเบาหวาน
- โรคไต
- ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์
ยาที่ใช้
- ยาขับปัสสาวะ
- ยาสเตียรอยด์
- ยาฮอร์โมน
- ยาต้านซึมเศร้า
- ยาลดความดันกลุ่มเบต้าบล็อกเกอร์
วิธีลดไตรกลีเซอไรด์ในเลือด
สำหรับแนวทางวิธีลดไตรกลีเซอไรด์ในเลือดก็จะมีรายละเอียดดังนี้
- จำกัดอาหารที่มีน้ำตาลสูง เช่น น้ำหวาน น้ำอัดลม ขนมหวาน ไอศครีม เบเกอรี่บางชนิด ทุเรียน ลำไย ฯลฯ
- จำกัดอาหารจำพวกข้าวแป้งขัดสี เช่น ข้าวขาว ข้าวเหนียว ขนม เบเกอรี่ ฯลฯ
- จำกัดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น เหล้า เบียร์ ไวน์ ฯลฯ
- เน้นกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดมากขึ้น เช่น ผัก ผลไม้ ข้าวแป้งขัดสีน้อย ถั่ว เมล็ด ธัญพืช นมไขมันต่ำ เนื้อสัตว์ไขมันต่ำ เป็นต้น เพื่อแทนที่อาหารที่มีผลเสียต่อสุขภาพ
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เน้นเป็นประเภทแอโรบิค อย่างเช่น เดินเร็ว วิ่ง ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน ฯลฯ ที่ระดับความหนักปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์
- ควบคุมน้ำหนัก เน้นจำกัดพลังงานที่ได้รับจากอาหารให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
- ดูแลโรคและสภาวะร่างกายที่มีผลต่อไตรกลีเซอไรด์ในเลือด อย่างเช่น ควบคุมน้ำตาลในเลือด ดูแลระดับฮอร์โมนไทรอยด์ในร่างกาย ฯลฯ
- ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรผู้ดูแล หากยาที่ใช้อยู่มีผลข้างเคียงทำให้ไตรกลีเซอไรด์สูง
- หากการปรับพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดไตรกลีเซอไรด์ไม่ได้ผล หรือแพทย์พิจารณาแล้วเห็นว่าควรใช้ยาช่วย แพทย์ก็จะจ่ายยาให้ตามความเหมาะสม
การดูแลสุขภาพหลอดเลือดตามทัศนะการแพทย์จีน
การแพทย์จีนนิยมใช้วิธีบำบัดแบบองค์รวมและปรับสมดุลร่างกาย ผ่านตำรับยาที่สกัดจากพืชสมุนไพรธรรมชาติหลายชนิด เพื่อการดูแลสุขภาพหลอดเลือดที่ครอบคลุมและยั่งยืน ซึ่งก็จะมีหลักการทำงานดังนี้
- ปรับสมดุลตับ เพื่อให้ตับผลิตไขมันในปริมาณที่เหมาะสม ไม่ผลิตไขมันมากหรือเร็วเกินไป
- ลดระดับไตรกลีเซอไรด์ เพิ่ม HDL เพื่อส่งเสริมการนำ LDL ซึ่งเป็นคอเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดีไปทำลายที่ตับ
- สลายภาวะเลือดคั่ง ลดความข้นหนืดของเซลล์เม็ดเลือด
- ยับยั้งการก่อตัวของลิ่มเลือด
- ผลักดันการไหลเวียนของเลือด เพิ่มประสิทธิภาพการไหลเวียนของเลือดในหลอดเลือดฝอย
- ลดการแข็งตัวและเพิ่มความยืดหยุ่นของหลอดเลือด
ท่านที่สนใจดูแลไขมันในเลือดและสุขภาพหลอดเลือดตามทัศนะการแพทย์จีน ก็สามารถขอรับคำปรึกษาจากแพทย์แผนจีนและผู้เชี่ยวชาญได้ที่ไอดีไลน์ @enwei
จบแล้วกับคำถามที่ว่า ไตรกลีเซอไรด์สูงเกิดจากอะไร มีวิธีลดอย่างไร พร้อมด้วยข้อมูลสำคัญอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ทางเอินเวย์หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์แก่ทุกท่านนะคะ
เอินเวย์ ศูนย์รวมยาสมุนไพรจีนระดับพรีเมี่ยมจากประเทศจีน ซึ่งอยู่เคียงข้างสังคมไทยมานานกว่า 30 ปี ขอเป็นอีกหนึ่งทางเลือกธรรมชาติในการดูแลสุขภาพตามศาสตร์การแพทย์จีน เพื่อให้ทุกท่านได้มีสุขภาพที่ดี