หลายคนที่มีไขมันในเลือดสูง พอเกิดอาการเวียนหัวหรือปวดหัวก็มักจะสงสัยว่าเกี่ยวกันไหม ใช่สาเหตุหรือไม่ ในบทความนี้ ทางเอินเวย์ก็ขออาสานำคำตอบมาให้ดูกันแบบง่ายๆ เองค่ะ
เวียนหัว ปวดหัว เป็นอาการภาวะไขมันในเลือดสูงหรือไม่
ภาวะไขมันในเลือดสูงไม่ได้ก่อให้เกิดอาการเวียนหัวหรือปวดหัวโดยตรง แต่ก็มีโรคและสภาวะผิดปกติบางอย่างที่อาจเกิดจากภาวะไขมันในเลือดสูง และมีผลทำให้เกิดอาการเวียนหัวหรือปวดหัวได้ ตัวอย่างเช่น
โรคหลอดเลือดสมอง
โรคหลอดเลือดสมองเกิดจากการตีบตันของหลอดเลือดที่นำพาสารอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงสมอง โดยจะส่งผลให้เซลล์สมองเกิดความเสียหาย และเกิดเป็นอาการผิดปกติต่างๆ
ตัวอย่างอาการของโรคหลอดเลือดสมองก็อย่างเช่น
- ชาหรืออ่อนแรงที่ใบหน้าหรือแขนขาครึ่งซีก
- พูดลำบาก พูดไม่ชัด
- มึนงงสับสน
- เวียนหัว
- ปวดหัวรุนแรง
- ทรงตัวไม่ได้ เดินเซ
- ตามัว สูญเสียการมองเห็นที่ตาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้าง
โรคหลอดเลือดหัวใจ
โรคหลอดเลือดหัวใจเกิดจากการตีบตันของหลอดเลือดที่นำพาสารอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงหัวใจ โดยจะส่งผลให้เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจเกิดความเสียหาย และเกิดเป็นอาการผิดปกติต่างๆ
ตัวอย่างอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจก็อย่างเช่น
- หน้ามืด เวียนหัว
- เหนื่อย อ่อนเพลีย
- คลื่นไส้
- เหงื่อออก
- หายใจไม่เต็มอิ่ม
- เจ็บหน้าอก
ทั้งโรคหลอดเลือดสมองและโรคหลอดเลือดหัวใจจะถือเป็นโรคร้ายแรงที่ต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างเร่งด่วน ผู้ใดที่มีกลุ่มอาการเหล่านี้เกิดขึ้น ก็ควรติดต่อแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจและรักษาโดยเร็ว
ทั้งนี้ เนื่องจากอาการเวียนหัวและปวดหัวนั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุ ผู้ที่มีเพียงอาการเวียนหัวหรือปวดหัว จึงมีแนวโน้มสูงว่าจะไม่ได้เกี่ยวกับโรคกลุ่มดังกล่าว ซึ่งหากมีอาการรุนแรง เรื้อรัง หรือรู้สึกกังวลใจ ก็ควรเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แน่ชัด
ไขมันในเลือดสูงมีอาการแสดงอะไรบ้าง
ผู้ที่มีไขมันในเลือดสูงส่วนใหญ่จะไม่ได้มีอาการผิดปกติใดๆ แสดงออกมา ยกเว้นแค่เพียงบางคนที่อาจมีตุ่มไขมันขึ้นบนผิวหนังได้ เมื่อมีไขมันในเลือดอยู่ในระดับที่สูงมาก
ด้วยเหตุนี้ ทุกคนจึงควรได้รับการตรวจไขมันในเลือดอย่างเหมาะสม เพื่อเป็นการเฝ้าระวังให้สามารถรู้ตัวและรักษาได้แต่เนิ่นๆ ก่อนที่หลอดเลือดจะอุดตัน และเกิดเป็นโรคร้ายแรงต่างๆ อย่างเช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ฯลฯ
ซึ่งคร่าวๆ แล้ว ผู้ใหญ่ทั่วไปที่มีสุขภาพดีก็ควรตรวจไขมันในเลือดทุกๆ 4-6 ปี ส่วนผู้ที่มีความเสี่ยงสูง อย่างเช่น ผู้ที่มีอายุเยอะ มีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์ เป็นโรคเบาหวาน เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด มีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่ดี ฯลฯ ก็ควรตรวจให้ถี่ขึ้น อาจจะอย่างน้อยทุกๆ 1-2 ปี หรือตามที่แพทย์ผู้ดูแลแนะนำ
การดูแลสุขภาพหลอดเลือดตามทัศนะการแพทย์จีน
การแพทย์จีนนิยมใช้วิธีบำบัดแบบองค์รวมและปรับสมดุลร่างกาย ผ่านตำรับยาที่สกัดจากพืชสมุนไพรธรรมชาติหลายชนิด เพื่อดูแลแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ ซึ่งก็จะมีหลักการทำงานดังนี้
- ปรับสมดุลตับ เพื่อให้ตับผลิตไขมันในปริมาณที่เหมาะสม ไม่ผลิตไขมันมากหรือเร็วเกินไป
- ลดระดับไตรกลีเซอไรด์ เพิ่ม HDL เพื่อส่งเสริมการนำ LDL ซึ่งเป็นคอเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดีไปทำลายที่ตับ
- สลายภาวะเลือดคั่ง ลดความข้นหนืดของเซลล์เม็ดเลือด
- ยับยั้งการก่อตัวของลิ่มเลือด
- ผลักดันการไหลเวียนของเลือด เพิ่มประสิทธิภาพการไหลเวียนของเลือดในหลอดเลือดฝอย
- ลดการแข็งตัวและเพิ่มความยืดหยุ่นของหลอดเลือด
ท่านที่สนใจดูแลไขมันในเลือดและสุขภาพหลอดเลือดตามทัศนะการแพทย์จีน ก็สามารถขอรับคำปรึกษาจากแพทย์แผนจีนและผู้เชี่ยวชาญได้ที่ไอดีไลน์ @enwei
จบแล้วกับประเด็นคำถามที่ว่า เวียนหัว ปวดหัว ใช่อาการไขมันในเลือดสูงหรือไม่ ทางเอินเวย์หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์แก่ทุกท่านนะคะ
เอินเวย์ ศูนย์รวมยาสมุนไพรจีนระดับพรีเมี่ยมจากประเทศจีน ซึ่งอยู่เคียงข้างสังคมไทยมานานกว่า 30 ปี ขอเป็นอีกหนึ่งทางเลือกธรรมชาติในการดูแลสุขภาพตามศาสตร์การแพทย์จีน เพื่อให้ทุกท่านได้มีสุขภาพที่ดี