หน้าแรก  »  บทความสุขภาพ  »  โรคไตเสื่อม ค่าไตผิดปกติ โรคใกล้ตัวที่ไม่เลือกวัย เอินเวย์มีทางออก

โรคไตเสื่อม ค่าไตผิดปกติ โรคใกล้ตัวที่ไม่เลือกวัย เอินเวย์มีทางออก

โรคไตเสื่อม ค่าไตผิดปกติ โรคใกล้ตัวที่ไม่เลือกวัย เอินเวย์มีทางออก

สถานการณ์ “โรคไต” ในคนไทยรุนแรงและหนักหน่วงมากขึ้น นพ.วุฒิเดช โอภาศเจริญสุข นายกสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย ได้เปิดเผยความรุนแรงของโรคไตเรื้อรังในประเทศไทยบนเวทีสัมมนา “รู้ใจ ไม่รู้ไต” เมื่อปลายเดือน มี.ค. 2567 โดยเน้นย้ำถึงสถานการณ์ความรุนแรงของโรคไตเรื้อรังในประเทศไทยซึ่งจะเป็นปัญหาต่อระบบสาธารณสุขของประเทศ

ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังสูงเป็นอันดับที่ 4 ของโลก เมื่อเทียบเป็นอัตราส่วนต่อประชากร โดยพบผู้ป่วยโรคไตทุกระยะในประชากรวัยผู้ใหญ่มากถึง 17.5% หรือประมาณ 9.7 ล้านคน และพบโรคไตในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมากถึง 2.4 ล้าน และ 2.1 ล้านคน ตามลำดับ ที่น่าตกใจคือผู้ป่วยโรคไตมีแนวโน้มอายุที่น้อยลงเรื่อยๆ

โรคไตเสื่อมคืออะไร

โรคไตเสื่อม เป็นภาวะที่ไตสูญเสียความสามารถในการทำงานลงอย่างช้าๆ โดยในช่วงแรกอาจมีเพียงอาการไตอ่อนแอที่เรื้อรังไปเรื่อยๆ จนผู้ป่วยคุ้นชินกับอาการของร่างกายไปเอง เช่น ปัสสาวะบ่อยขึ้นโดยเฉพาะตอนกลางคืน หลังเข้านอนยังต้องลุกขึ้นมาเข้าห้องน้ำ อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ไม่มีเรี่ยวแรง นอนหลับไม่ดี ปวดหลัง ปวดเอว ปวดเมื่อยตามร่างกาย หย่อนสมรรถภาพทางเพศ ผมหงอกก่อนวัย หูอื้อ หูมีเสียง ขอบตาหมองคล้ำ ฯลฯ หากปล่อยให้ไตเสื่อมไปเรื่อยๆ ในระยะที่ไตได้รับความเสียหายไปมากแล้ว ซึ่งอัตราการกรองของไตลดลงมาก ก็จะเกิดของเสียคั่งค้างอยู่ในร่างกายจนทำให้เกิดภาวะไตวาย ในระยะนี้ผู้ป่วยอาจต้องฟอกไตหรืออาจเสียชีวิตได้ในที่สุด

YouTube player

ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ไตเสื่อม

  1. ผู้ที่มีโรคประจำตัวในกลุ่มโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคเกาต์ โดยโรคประจำตัวเหล่านี้จะเป็นปัจจัยเร่งให้ไตเสื่อม ไตวาย ได้เร็วกว่าคนทั่วไป จึงจำเป็นต้องใส่ใจดูแลควบคุมโรคแต่เนิ่นๆ
  2. ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคไตเสื่อม
  3. ผู้สูงวัย โรคไตเสื่อมจะมีโอกาสเกิดมากขึ้นตามอายุ
  4. ผู้ที่เป็นโรคอ้วน มีไขมันเกินเกณฑ์
  5. ผู้ที่ทานยาแก้ปวดเป็นประจำ
  6. ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือสูบบุหรี่เป็นประจำ
  7. ผู้ที่ทานยาที่ไม่ได้มาตรฐานตามกระบวนการที่ถูกต้อง
  8. ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น อุบัติเหตุที่กระทบกระแทกไต ทำงานหนัก เครียดบ่อย อดหลับอดนอน ยาฆ่าแมลงที่ตกค้างในผักผลไม้ สารเร่งฮอร์โมนที่สะสมในเนื้อสัตว์ อาหารทะเลที่แช่ฟอร์มาลีน สารกลุ่มโซเดียมในอาหาร (เช่น เกลือ ผงชูรส ผงฟู ฯลฯ) อาหารรสจัด รสเค็ม อาหารแปรรูปอื่นๆ เป็นต้น

ไตมีหน้าที่อะไรบ้าง

ไตเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญมาก มี 2 ข้าง อยู่ตรงตำแหน่งบั้นเอว มีลักษณะคล้ายเม็ดถั่ว ภายในไตประกอบด้วยหน่วยไตที่เป็นหลอดเลือดฝอยจำนวนมาก ซึ่งจะมีหน้าที่สำคัญดังนี้

  1. กำจัดของเสียออกจากร่างกาย ไตเปรียบเสมือนโรงงานซักล้าง มีหน้าที่หลักคือกรองของเสียและสารพิษเพื่อขับออกจากร่างกายผ่านทางปัสสาวะ และยังมีหน้าที่ดูดซึมและกักเก็บสารที่มีประโยชน์ไว้ในร่างกาย
  2. รักษาความสมดุลน้ำ เกลือแร่ ความเป็นกรด-ด่างของร่างกาย
  3. ควบคุมความดันโลหิตให้เป็นปกติ
  4. สร้างฮอร์โมนสำคัญให้กับร่างกาย โดยเฉพาะฮอร์โมนที่มีความสำคัญต่อการสร้างเม็ดเลือดแดง
  5. ควบคุมดูแลความแข็งแรงของกระดูก
  6. ในมุมมองการแพทย์จีน ไตยังเป็นรากฐานสำคัญซึ่งทำงานสัมพันธ์กับทุกอวัยวะในร่างกาย

ไตอ่อนแอ สัญญาณเตือนก่อนเกิดไตเสื่อม

ไตจะเสื่อมลงตามอายุที่เพิ่มขึ้นและปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เมื่อคนเราย่างเข้าสู่วัย 25-30 ปี ไตจะค่อยๆ อ่อนแอลง ซึ่งอาการและสัญญาณเตือนของภาวะไตอ่อนแอก็มักจะมีดังนี้

  • ปัสสาวะผิดปกติ ปัสสาวะบ่อยโดยเฉพาะตอนกลางคืน มีกลิ่นหรือสีผิดปกติ ปัสสาวะเป็นฟอง
  • ปวดหลัง ปวดบั้นเอว ปวดเมื่อยตามร่างกาย เกิดตะคริวหรือมีอาการเหน็บชาบ่อยครั้ง
  • ร่างกายอ่อนเพลีย เหนื่อยล้าง่าย ไม่ค่อยมีเรี่ยวแรง
  • นอนหลับยาก หลับไม่ค่อยสนิท ฝันบ่อย สะดุ้งตื่น ตื่นแล้วไม่สดชื่น
  • ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร
  • บวมน้ำตามร่างกาย
  • เป็นหวัดง่าย ภูมิแพ้กำเริบ คันตามผิวหนัง
  • ค่าไตผิดปกติ โดยค่า BUN และ Creatinine จะสูงเกินเกณฑ์มาตรฐาน ส่วนค่า eGFR จะต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน

ผลตรวจค่าไตมีอะไรบ้าง ค่าปกติคือเท่าไหร่

  • BUN (Blood Urea Nitrogen) ได้จากการตรวจวัดระดับไนโตรเจนในกระแสเลือดที่มาจากยูเรีย ซึ่งถือเป็นของเสียชนิดหนึ่ง ถ้าค่าสูงเกินเกณฑ์แปลว่าไตทำงานบกพร่อง โดยค่าปกติจะอยู่ที่ประมาณ 10-20 mg/dL
  • Creatinine ได้จากการตรวจวัดระดับ Creatinine ในกระแสเลือด ซึ่งเป็นของเสียที่เกิดจากเผาผลาญใช้งานกล้ามเนื้อ ถ้าค่าสูงเกินเกณฑ์แปลว่าไตทำงานบกพร่อง โดยค่าปกติจะอยู่ที่ประมาณ 0.6-1.2 mg/dL
  • eGFR คือค่าประสิทธิภาพการทำงานของไต เป็นการวัดอัตราการกรองของกระแสเลือดในไตต่อนาที ส่วนใหญ่จะคิดด้วยการเอาค่า Creatinine มาเข้าสูตรคำนวณ โดยค่าปกติจะต้องมากกว่า 90 ml/min/1.73m2

ภาวะไตเสื่อมแบ่งออกได้เป็น 5 ระยะ

  • ไตเสื่อมระยะที่ 1 eGFR ≤ 90 ml/min/1.73m2
  • ไตเสื่อมระยะที่ 2 eGFR 60 – 89 ml/min/1.73m2
  • ไตเสื่อมระยะที่ 3 eGFR 30 – 59 ml/min/1.73m2
  • ไตเสื่อมระยะที่ 4 eGFR 15 – 29 ml/min/1.73m2
  • ไตเสื่อมระยะที่ 5 (ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย) eGFR < 15 ml/min/1.73m2
YouTube player

ไตเป็นรากฐานของชีวิต เป็นอวัยวะหัวใจสำคัญในทางการแพทย์แผนจีน

ภาวะไตเสื่อม ไตวาย ทางการแพทย์แผนจีนได้จัดให้อยู่ในกลุ่มภาวะพร่องพลังหรือสวีเหลา (虚劳) ซึ่งหมายความว่าร่างกายจะอ่อนแอไปได้ทุกระบบ จึงกระทบต่อภาพรวมของสุขภาพ

การแพทย์แผนจีนจึงนิยมใช้วิธีการดูแลรักษาแบบองค์รวมเพื่อบำบัดกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นทั้งหมดและฟื้นฟูการทำงานของไต

สมุนไพรจีนสมัยใหม่มีบทบาทสำคัญในการบำรุงไตและรักษาโรคไตอย่างไร

เอินเวย์ (Enwei) ได้คัดเลือกยาสมุนไพรจีนบำรุงไตสูตรเฉพาะ ซึ่งเป็นต้นตำรับยาบำรุงฟื้นฟูปรับสมดุลไต มีประวัติการใช้ในวงการแพทย์จีนมากว่า 1,000 ปี และยังมีตำรับยารักษาโรคไต โดยประกอบด้วยสารสำคัญจากสมุนไพรจีนดังนี้

  • ยาบำรุงฟื้นฟูปรับสมดุลไต Dihuang, Shanzhuyu, Shanyao, Mudanpi, Ze Xie, Fuling, Guizhi, Fuzi, Niuxi, Shechuangzi ฯลฯ
  • ยารักษาภาวะไตเสื่อม Muohanlian, Shanyao, Chishao, Zhuling, Daji, Machixian, Danggui, Gouqi, Shehuanzi, Xiaoji, Diyu, Dihuang, Chuanxiong ฯลฯ

ตำรับยาทั้ง 2 นี้ ผ่านการควบคุมสารออกฤทธิ์อย่างเข้มข้น แม่นยำ และคงที่ เห็นผลเด่นชัด ปลอดภัย จัดเป็นอันดับ 1 ของยาสมุนไพรจีนสมัยใหม่เพื่อบำรุงฟื้นฟูปรับสมดุลไตและรักษาโรคไต จากการศึกษา วิจัย ทดลองทางคลินิกตามหลักการแพทย์สากล มีอัตราการเห็นผล 95% และ 72% ตามลำดับ

หลักการออกฤทธิ์สำคัญ

  1. บำรุงไต ฟื้นฟูการทำงาน และชะลอความเสื่อมของไต
  2. กระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต ขจัดภาวะเลือดคั่ง
  3. ขจัดพิษร้อน พิษชื้น ในหน่วยไต ช่วยให้อัตราการกรองของหน่วยไต (Glomerular Filtration Rate, GFR) เพิ่มสูงขึ้น
  4. ฟื้นฟูสมรรถภาพการกรองของผนังหลอดเลือดฝอยของหน่วยไต จึงช่วยลดปริมาณโปรตีนและเม็ดเลือดแดงที่รั่วในปัสสาวะได้อย่างเด่นชัด
  5. เพิ่มประสิทธิภาพเม็ดเลือดขาวในการกำจัดสารแปลกปลอมและสารอิมมูนคอมเพล็กซ์ที่ตกตะกอนในหน่วยไตเพื่อป้องกันการอักเสบของหน่วยไต
  6. ช่วยขับปัสสาวะเพื่อขับน้ำส่วนเกินที่คั่งค้างอยู่ในร่างกาย บรรเทาอาการบวมน้ำตามร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  7. ช่วยปรับความดันโลหิตเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายต่อไตในระยะยาว
  8. ปรับสมดุลร่างกายแบบองค์รวม ฟื้นฟูและเสริมสร้างพื้นฐานร่างกายให้สมดุลแข็งแรง

โรคไต ภาวะไตเสื่อม ป้องกันไว้ดีกว่าแก้

การบำรุงรักษาไตจำเป็นจะต้องเริ่มตั้งแต่เนิ่นๆ แม้ว่าอายุจะยังไม่ถึง 30 ปีก็ตาม เนื่องจากภาวะไตอ่อนแอมักจะค่อยๆ เกิดอย่างช้าๆ และเป็นเรื้อรังยาวนาน จนเราคุ้นเคยกับความผิดปกติของร่างกายถึงขนาดลืมไปแล้วว่าตอนเราปกติจริงๆ นั้นเป็นอย่างไร

นอกจากนี้ ผลการตรวจเลือดเกี่ยวกับการทำงานของไตตามหลักการแพทย์ตะวันตกที่ต้องรอให้ไตเสียไปมากกว่า 70% จึงแสดงค่า BUN และ Creatinine ที่ผิดปกตินั้นก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนจำนวนมากเข้าใจผิดว่า ถ้าผลตรวจยังปกติดีก็แสดงว่าไตยังแข็งแรงอยู่ จึงทำให้หลายๆ คนชะล่าใจและปล่อยทิ้งไว้ให้เรื้อรังจนพัฒนาเป็นโรคไตเสื่อม ไตวาย แล้วค่อยดิ้นรนรักษาทุกวิถีทาง

ท้ายนี้ เอินเวย์ (Enwei) หวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุกท่านที่ได้อ่านบทความนี้จะตระหนักและใส่ใจดูแลสุขภาพของไตซึ่งเป็นรากฐานชีวิตตามหลักทฤษฎี “บำรุงไต บำบัดสารพัดโรค” ซึ่งเป็นหลักทฤษฎีอันล้ำค่าของวงการแพทย์จีนที่มีมานานนับพันปี

ปรึกษาทีมแพทย์จีน เภสัชกร หรือผู้เชี่ยวชาญของเอินเวย์ (Enwei) ได้ที่สายด่วนสุขภาพเอินเวย์ 02-751-4399 หรือไอดีไลน์ @enwei

YouTube player
ปรึกษาแพทย์จีน
ปรึกษาแพทย์จีน
Scroll to Top