หน้าแรก  »  บทความสุขภาพ  »  โรคความดันโลหิตต่ำ ภัยเงียบที่มักถูกมองข้าม อันตรายแค่ไหน การแพทย์จีนแก้ต้นเหตุอย่างไร

โรคความดันโลหิตต่ำ ภัยเงียบที่มักถูกมองข้าม อันตรายแค่ไหน การแพทย์จีนแก้ต้นเหตุอย่างไร

โรคความดันโลหิตต่ำ อันตรายไหม การแพทย์จีนมีวิธีบำบัดอย่างไร

โรคความดันโลหิตต่ำก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนและอันตรายหลายอย่าง แต่มักจะถูกมองข้ามไป วันนี้เราจะมาวิเคราะห์เจาะลึกโรคนี้ว่าอันตรายแค่ไหน การแพทย์จีนมีวิธีบำบัดอย่างไร…

ความดันโลหิตต่ำเป็นสาเหตุทำให้หลอดเลือดฝอยส่วนปลายในร่างกายขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง รวมทั้งเกิดการคั่งของคาร์บอนไดออกไซด์และของเสียจากกระบวนการเมตาบอลิซึม ที่สำคัญคืออาจเกิดผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสมอง เนื่องจากขาดออกซิเจนและสารอาหารไปหล่อเลี้ยง ความสามารถในการมองเห็นและการได้ยินลดลง เป็นอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุหรือเป็นตัวเร่งอาการให้หนักขึ้น หรืออาจส่งผลให้หกล้มเนื่องจากเป็นลม อีกทั้งเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบหรือกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดอีกด้วย

แบบไหนถึงเข้าข่ายความดันโลหิตต่ำ

โดยทั่วไปในทางการแพทย์ ความดันโลหิตของผู้ใหญ่ที่ต่ำกว่า 90/60 มิลลิเมตรปรอท (MmHg) และความดันโลหิตของผู้สูงอายุที่ต่ำกว่า 100/70 มิลลิเมตรปรอท (MmHg) จะถูกจัดว่าเข้าข่ายความดันโลหิตต่ำ ซึ่งจะพบบ่อยในสตรีที่ร่างกายอ่อนแอ ผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นความดันโลหิตต่ำ

ความดันโลหิตต่ำแบ่งออกเป็น 2 ชนิด

ชนิดเฉียบพลัน ซึ่งจะแสดงอาการหลักๆ คือ หน้ามืดและช็อกหมดสติ มักจะเกิดกับผู้ที่เป็นลมหรือหัวใจล้มเหลว

ชนิดเรื้อรัง ซึ่งแบ่งเป็น 3 ประเภทคือ

  1. เป็นมาตั้งแต่กำเนิด
  2. การเปลี่ยนอิริยาบถ
  3. การใช้ยาและเจ็บป่วย

ความดันโลหิตต่ำมีอาการอย่างไร

บางรายจะมีอาการหูอื้อ ปวดศีรษะ มึนงง หน้ามืด ตาลาย ปวดหลังและบั้นเอว มือเท้าเย็น อ่อนเพลีย สมองล้า ขี้หลงขี้ลืม ง่วงเหงาหาวนอน หน้าตาอิดโรย ขาดสมาธิ หรือรู้สึกว่าสมองถูกบีบรัด ท้องเดิน ท้องผูก มีแก๊สสะสมในลำไส้ ท้องอืดท้องเฟ้อ อาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ หรือประจำเดือนผิดปกติ

ความดันโลหิตต่ำมีอาการอย่างไร

การแพทย์จีนได้จัดโรคความดันโลหิตต่ำ ให้อยู่ในกลุ่มโรคที่เกิดจากการพร่องลงของพลังชี่และเลือดในร่างกาย หรือที่เรียกว่าชี่พร่อง-เลือดพร่องนั่นเอง เลือดกับพลังชี่มีคุณสมบัติต่างกันคือ เลือดเป็นหยินชอบอยู่นิ่งและให้ความชุ่มชื้น ส่วนพลังชี่เป็นหยางชอบเคลื่อนไหวและให้ความอบอุ่น ซึ่งความสัมพันธ์ของเลือดกับพลังชี่ แท้ที่จริงแล้วก็คือความสัมพันธ์ของหยิน-หยางในระบบการไหลเวียนของเลือดนั่นเอง

  • เลือดกับพลังชี่ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน : กระบวนการเกิดและการสร้างเลือด ต้องอาศัยพลังชี่และการเคลื่อนไหวของพลังชี่ ถ้าพลังชี่สมบูรณ์เลือดก็จะสร้างขึ้นมาได้อย่างเพียงพอ ในทางกลับกัน พลังชี่ก็ต้องอาศัยเลือดไปหล่อเลี้ยงและให้ความชุ่มชื้น การไหลเวียนของเลือดจะนำพลังชี่ไปทุกๆ เซลล์ของร่างกาย ถ้าเลือดพร่องลงพลังชี่ก็จะพร่องลงตามไปด้วย ชี่พร่องและเลือดพร่องจึงมักจะเกิดขึ้นร่วมกันอยู่เสมอ
  • พลังชี่ผลักดันการไหลเวียนของเลือด : เลือดเป็นหยินชอบอยู่นิ่งไม่สามารถไหลเวียนได้เอง ต้องอาศัยแรงผลักดันจากพลังชี่ จึงกล่าวได้ว่า พลังวิ่งเลือดเดิน พลังนิ่งเลือดหยุด ถ้าพลังชี่พร่องลงเลือดก็จะไหลเวียนช้าลง ทำให้ชี่และเลือดไม่สามารถไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงร่างกายอย่างทั่วถึง ส่งผลให้เกิดภาวะความดันโลหิตต่ำ อวัยวะต่างๆ จึงได้รับการหล่อเลี้ยงไม่เพียงพอจนเกิดโรคภัยไข้เจ็บได้

การแพทย์จีนมีวิธีบำบัดโรคความดันโลหิตต่ำอย่างไร

การแพทย์จีนนิยมใช้วิธี บำรุงชี่-บำรุงเลือด เพื่อบำบัดภาวะความดันโลหิตต่ำ เมื่อชี่-เลือดในร่างกายสมบูรณ์ขึ้น ความดันโลหิตก็จะค่อยๆ กลับสู่ภาวะปกติ อาการต่างๆ ที่เกิดจากโรคความดันโลหิตต่ำ จึงทุเลาลงหรือหายไปในที่สุด

YouTube player

ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

Collatin

Collatin

การไหลเวียนเลือด // ระบบภูมิคุ้มกัน

ปรึกษาแพทย์จีน
ปรึกษาแพทย์จีน
Scroll to Top