หน้าแรก  »  บทความสุขภาพ  »  ออฟฟิศซินโดรม โรคกระดูกคอเสื่อม โรคฮิตของคนยุคนี้

ออฟฟิศซินโดรม โรคกระดูกคอเสื่อม โรคฮิตของคนยุคนี้

ออฟฟิศซินโดรม โรคกระดูกคอเสื่อม โรคฮิตของคนยุคนี้

โรคกระดูกคอเป็นอีกหนึ่งโรคฮิตในปัจจุบัน เกิดขึ้นได้ทั้งในผู้สูงอายุและในวัยหนุ่มสาว แม้กระทั่งในเด็กนักเรียน นักศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มมนุษย์ก้มหน้า ผู้ที่ต้องทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือมีอิริยาบถอยู่ในท่าเดียวนานๆ

อาการโรคกระดูกคอเสื่อมที่สังเกตได้

  • ปวดต้นคอ ไหล่ สะบัก
  • หนักบริเวณท้ายทอย
  • ปวดศีรษะ เวียนหัว
  • ตาพร่ามัว
  • มือชา แขนชา

สาเหตุโรคกระดูกคอเสื่อมที่พบได้บ่อย

  • ภาวะกระดูกคอเสื่อม พบได้บ่อยในผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป
  • อิริยาบถหรือท่าที่ผิดสุขลักษณะ เช่น การหนุนหมอนสูงเกินไป การทำงานในท่าเดียวนานๆ เขียนหนังสือ นั่งอ่านเอกสาร นั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ นั่งดูทีวี เป็นต้น
  • คอเคล็ดหรือยอก เกิดจากคอมีการเคลื่อนไหวเร็วเกินไปหรือรุนแรงเกินไป
  • บาดเจ็บจากอุบัติเหตุหรือการเล่นกีฬา
  • ข้ออักเสบ ซึ่งอาจทำให้กระดูกคออักเสบไปด้วย
  • ความเครียดทางจิตใจ ทำให้กล้ามเนื้อคอตึงเกร็งเป็นประจำ จนส่งผลกระทบต่อกระดูกคอ
  • ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
5 สาเหตุสำคัญก่อโรคกระดูกคอเสื่อม

วิธีบำบัดทั่วไป

การบำบัดด้วยกลุ่มยาแก้ปวด ยาลดการอักเสบหรือยาคลายกล้ามเนื้อนั้น เป็นเพียงระงับอาการปวดและอักเสบไว้ชั่วคราว มิได้แก้ไขที่ต้นเหตุของโรค การผ่าตัดอาจได้ผลดีแต่คงไม่เหมาะกับผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีโรคประจำตัว อีกทั้งผู้ป่วยหลายๆ ท่านก็ยังลังเลเรื่องค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจตามมาด้วย

สาเหตุโรคกระดูกคอเสื่อมในทัศนะการแพทย์จีน

การแพทย์จีนได้จัดโรคกระดูกคอ ให้อยู่ในกลุ่มโรคชาและปวดเมื่อยอันเนื่องจากเส้นลมปราณติดขัด (痹症) ทำให้เลือดไหลเวียนช้าลงและเกิดภาวะเลือดคั่ง ไปกีดขวางการไหลเวียนของเลือดจนเกิดอาการปวด ซึ่งสอดคล้องกับหลักการวินิจฉัยและบำบัดอันสำคัญของการแพทย์จีน ปวดแสดงว่าไม่โล่ง โล่งแล้วก็จะไม่ปวด (通则不痛, 痛则不通) ส่วนพิษของลมและเย็น-ชื้น (风寒湿邪) ที่สะสมในเส้นลมปราณบริเวณคอและไหล่จะจับตัวเป็นก้อน ทำให้เส้นลมปราณและหลอดเลือดติดขัดมากยิ่งขึ้น เส้นเอ็นกล้ามเนื้อและกระดูกคอจะได้รับการหล่อเลี้ยงจากเลือดไม่เพียงพอ จึงเสื่อมลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดอาการผิดปกติหลายๆ อย่างตามมา

การแพทย์จีนมีวิธีบำบัดโรคกระดูกคอเสื่อมอย่างไร

  • ทะลวงหลอดเลือดและเส้นลมปราณบริเวณคอและไหล่ สลายเลือดคั่ง ช่วยให้เส้นเอ็น กล้ามเนื้อและกระดูกคอ ได้รับการหล่อเลี้ยงจากเลือดมากขึ้น
  • ขจัดพิษของลมและเย็น-ชื้นที่สะสมอยู่ตามบริเวณไหล่และคอ เพื่อขจัดสาเหตุสำคัญของโรคกระดูกคอ
  • บำรุงเลือดลม กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด เลือดจึงไปเลี้ยงสมองได้มากขึ้น
  • เสริมสร้างพลังลมปราณ เพื่อลดภาวะเส้นลมปราณติดขัด
YouTube player
ปรึกษาแพทย์จีน
ปรึกษาแพทย์จีน
Scroll to Top