หน้าแรก  »  บทความสุขภาพ  »  สารพันคำตอบ ไขมันในเลือดสูงและหลอดเลือดตีบ

สารพันคำตอบ ไขมันในเลือดสูงและหลอดเลือดตีบ

โคเลสเตอรอลคืออะไร

โคเลสเตอรอลเป็นไขมันชนิดหนึ่ง แต่ไม่ใช่ไขมันที่เราเห็นในเนื้อสัตว์ ถึงแม้ว่าโคเลสเตอรอลมีประโยชน์ในการสร้างน้ำดี ฮอร์โมนบางชนิด วิตามินดี เยื่อหุ้มเซลล์ และฉนวนรอบเส้นประสาท แต่ถ้าโคเลสเตอรอลในกระแสเลือดมีมากเกินความต้องการของร่างกาย หรือมากกว่า 200 mg/dl โคเลสเตอรอลเหล่านี้ก็จะไปสะสมตามผนังหลอดเลือดและพอกหนาขึ้นตามอายุ ทำให้หลอดเลือดตีบลงและขาดความยืดหยุ่น เลือดจึงไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ไม่เพียงพอ ภาวะตีบนี้มีโอกาสเกิดขึ้นกับหลอดเลือดทุกส่วนของร่างกาย แต่ตำแหน่งที่อันตรายที่สุดได้แก่ หลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมอง

โคเลสเตอรอลในกระแสเลือดมาจากไหน

โคเลสเตอรอลในกระแสเลือดส่วนใหญ่ผลิตจากตับ ร่างกายดูดซึมโคเลสเตอรอลจากอาหารได้น้อย หากตับขาดสภาพความสมดุลก็จะมีการผลิตโคเลสเตอรอลมากเกินไป ซึ่งเป็นสาเหตุว่าทำไมบางคนมีการควบคุมอาหารแล้ว แต่ก็ยังมีระดับโคเลสเตอรอลในเลือดสูงเกินไป อย่างไรก็ตาม ระดับโคเลสเตอรอลในกระแสเลือดจะสูงขึ้นได้จากการทานอาหารที่มีโคเลสเตอรอลหรือกรดไขมันอิ่มตัวสูง รวมถึงการทานอาหารประเภทแป้งและน้ำตาลเกินความต้องการของร่างกายด้วย

โคเลสเตอรอลมีกี่ชนิด

  • HDL ซึ่งเป็นโคเลสเตอรอลชนิดดี เปรียบเสมือน “ตำรวจ” ที่พาโคเลสเตอรอลกลับมาที่ตับ เพื่อขจัดออกจากร่างกาย ไม่ปล่อยให้สะสมตามผนังหลอดเลือด
  • LDL ซึ่งเป็นโคเลสเตอรอลชนิดเลว เปรียบเสมือน “ผู้ร้าย” คอยแอบพาโคเลสเตอรอลไปสะสมตามผนังหลอดเลือด

ดังนั้น ถ้าใครมี LDL โคเลสเตอรอลสูง ก็จะมีความเสี่ยงต่อภาวะหลอดเลือดตีบได้มากกว่า ในขณะที่บางคนที่มี HDL โคเลสเตอรอลสูง ก็จะมีผลลดความเสี่ยงต่อภาวะหลอดเลือดตีบได้ด้วย

ไตรกลีเซอไรด์คืออะไร

ไตรกลีเซอไรด์เมื่ออยู่ในกระแสเลือดก็เปรียบเสมือน ผู้ช่วยผู้ร้าย แม้โคเลสเตอรอลไม่สูงแต่ถ้าไตรกลีเซอไรด์สูง ก็จะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน โรคหัวใจขาดเลือด อัมพฤกษ์ อัมพาต นอกจากนี้ ระดับไตรกลีเซอไรด์ที่สูง ยังอาจทำให้ตับอ่อนอักเสบและยับยั้งกระบวนการขับกรดยูริกออกจากร่างกายด้วย

ระดับโคเลสเตอรอลที่เหมาะสม ควรจะเป็นอย่างไร

ตารางระดับโคเลสเตอรอลที่เหมาะสม

ภาวะโคเลสเตอรอลในเลือดสูง จะก่ออันตรายต่อร่างกายอย่างไร 

1. ผลเสียต่อเลือด ทำให้เลือดมีความหนืดมากขึ้น เลือดจึงไหลเวียนไม่สะดวกและตกตะกอนตามผนังหลอดเลือด ซึ่งจะยิ่งวนกลับมาทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวกเพิ่มมากยิ่งขึ้น

2. ผลเสียต่อหัวใจ เมื่อมีโคเลสเตอรอลสะสมในหลอดเลือดหัวใจก็จะเสี่ยงต่อกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือหัวใจวายได้ แต่ในกรณีหลอดเลือดหัวใจยังตีบไม่มาก ผู้ป่วยอาจไม่รู้สึกมีอาการใดๆ อาการผิดปกติต่างๆ จะเกิดขึ้นต่อเมื่อหลอดเลือดหัวใจตีบไปแล้วมากกว่า 75% อาทิ

  • เจ็บหน้าอก รู้สึกแน่นหน้าอก ลำคอ ท้องส่วนบน หรือต้นแขน มักเกิดในขณะออกกำลังกายหรือเครียด เมื่อได้พักอาการมักดีขึ้น
  • หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก เหนื่อย เกิดขึ้นได้ทั้งขณะออกแรง พักผ่อน หรือนอนหลับ
  • บวม บวมบริเวณเท้า มักจะเกิดขึ้นเวลาค่ำ
  • ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว แรง หรือจังหวะไม่สม่ำเสมอ
  • อ่อนเพลีย ความรู้สึกเหมือนไม่มีแรง เหนื่อยง่ายผิดปกติ
  • เป็นลม อาการหมดสติอย่างเฉียบพลัน หรือรู้สึกศีรษะเบาหวิว

3. ผลเสียต่อสมอง ทำให้หลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันและเสี่ยงต่อการเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต ซึ่งมักจะมีสัญญาณเตือนดังนี้

  • มึนงงหรือวิงเวียนบ่อย
  • ปวดศีรษะเป็นประจำ
  • ใบหน้าบิดเบี้ยว
  • ลิ้นชาหรือแข็ง พูดไม่ชัด ตามัว
  • แขนขาอ่อนแรง
  • กลืนอาหารลำบาก
  • ทรงตัวไม่อยู่ เดินเซเหมือนคนเมาเหล้า

4. ผลเสียต่อถุงน้ำดี  โคเลสเตอรอลมีผลต่อการสร้างน้ำดี แต่ปริมาณโคเลสเตอรอลที่มากเกินไปจะทำให้เกิดนิ่วในถุงน้ำดี

5. ผลเสียต่อส่วนอื่นๆ ของร่างกาย ระบบหลอดเลือดเปรียบเสมือนร่างแหที่แผ่กระจายทั่วร่างกาย เมื่อโคเลสเตอรอลในกระแสเลือดเพิ่มสูงขึ้น ย่อมส่งผลต่อทุกๆ ส่วนของร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยเบาหวาน อาจทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนได้ เช่น เบาหวานขึ้นตา ทำให้ตามัวมองไม่ชัด หรือไตวาย เป็นต้น

ปัจจัยเสี่ยงของโรคระบบหลอดเลือดและหัวใจมีอะไรบ้าง

ปัจจัยเสี่ยงของโรคระบบหลอดเลือดและหัวใจมีอยู่หลายอย่าง เช่น การสูบบุหรี่ ขาดการออกกำลังกาย น้ำหนักเกิน ความเครียด การใช้ยาคุมกำเนิดหรือสารฮอร์โมนทดแทนเป็นประจำ การรับประทานอาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูงเป็นประจำ การดื่มกาแฟมากเกินควร ท้องผูกเป็นประจำ ความดันโลหิตสูงกว่า 140/90 มม.ปรอท โคเลสเตอรอลสูงกว่า 200 mg/dl  ไตรกลีเซอไรด์สูงกว่า 150 mg/dl ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่า 99 mg/dl  กรรมพันธุ์ (มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง อัมพฤกษ์ อัมพาต ฯลฯ) สตรีหลังหมดประจำเดือน เป็นต้น สำหรับผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปหรือมีปัจจัยเสี่ยง 2 ข้อขึ้นไป ควรป้องกันโรคระบบหลอดเลือดและหัวใจแต่เนิ่นๆ

คนที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ จะต้องมีโคเลสเตอรอลสูง…จริงหรือไม่ 

แม้ว่าโคเลสเตอรอลสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อการเกิดโรคหัวใจ แต่บางคนเป็นโรคหัวใจโดยที่ระดับโคเลสเตอรอลปกติหรือต่ำกว่าปกติ ดังนั้น ผู้ที่มีระดับโคเลสเตอรอลปกติหรือต่ำกว่าปกติ จึงไม่ควรมองข้ามอาการของโรคหัวใจ เช่น เจ็บหน้าอก หายใจไม่อิ่ม บวม ใจสั่น อ่อนเพลีย เป็นลม เป็นต้น

คนผอมไม่มีปัญหาโคเลสเตอรอลสูง…จริงหรือไม่

โคเลสเตอรอลในเลือดสูงไม่ได้ขึ้นอยู่กับรูปร่าง ไม่ว่าคนผอมหรือคนอ้วน ต่างก็มีโอกาสเป็นได้เช่นกัน

คนอายุน้อยไม่มีปัญหาโคเลสเตอรอลสูง…จริงหรือไม่

งานวิจัยหลายชิ้นรายงานว่า คราบไขมันบนผนังหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจสามารถเกิดขึ้นตั้งแต่อายุช่วงวัยรุ่นตอนปลาย ดังนั้น ผู้ที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป ควรตรวจระดับโคเลสเตอรอลและป้องกันแต่เนิ่นๆ

สำหรับผู้ที่ออกกำลังกายหรือมีการควบคุมอาหารอยู่แล้ว จะเสี่ยงต่อโรคระบบหลอดเลือดและหัวใจไหม

การออกกำลังกายหรือลดอาหารประเภทไขมันหรือโคเลสเตอรอลสูง จะช่วยลดปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะโคเลสเตอรอลในเลือดสูงได้บ้าง แต่ก็ไม่สามารถลดระดับโคเลสเตอรอลให้ลงมาอยู่ในระดับปลอดภัยเสมอไป เนื่องจากอายุที่เพิ่มขึ้นมักจะทำให้ตับขาดความสมดุล ผลที่ตามมาคือ มีการผลิตโคเลสเตอรอลมากเกินควร ทั้งๆ ที่มีการควบคุมอาหารและออกกำลังกายแล้วก็ตาม

ผู้ที่ยังไม่มีอาการของโรคหัวใจ ควรป้องกันอย่างไร

ผู้ที่ยังไม่มีอาการมิได้หมายถึงคนๆ นั้นไม่เสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เนื่องจากหลอดเลือดหัวใจต้องตีบไปแล้วมากกว่า 75% ถึงเริ่มแสดงอาการ และจากสถิติทางคลินิกพบว่าราวๆ 1 ใน 5 ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบจะไม่แสดงอาการใดๆ เป็นสัญญาณเตือน ดังนั้น สำหรับผู้ที่อายุ 40 ปีขึ้นไปหรือผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคระบบหลอดเลือดและหัวใจ ควรป้องกันกันแต่เนิ่นๆ ส่วนยาสมุนไพรจีนที่มีสรรพคุณในการทำความสะอาดหลอดเลือด ก็จะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการป้องกันโรคนี้ด้วย

ทำไมบางคนระดับโคเลสเตอรอลอยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่ก็ยังมีอาการปวด แน่น จุกเสียดหน้าอก

ระดับโคเลสเตอรอลที่เราทราบจากผลการตรวจเลือดนั้น เป็นเพียงระดับโคเลสเตอรอลที่อยู่ในกระแสเลือดเท่านั้น ไม่ได้รวมถึงส่วนที่สะสมตามผนังหลอดเลือด ดังนั้น ผู้ที่มีระดับโคเลสเตอรอลปกติก็อาจมีภาวะไขมันสะสมตามผนังหลอดเลือดหัวใจได้เช่นกัน จึงมีอาการปวด แน่น จุกเสียดหน้าอก เหนื่อยง่าย และหายใจไม่สะดวก

ผู้ที่ได้ทำบอลลูนหรือบายพาสมาแล้ว จำเป็นต้องใช้สมุนไพรจีนที่มีสรรพคุณในการทำความสะอาดหลอดเลือดอีกไหม

การทำบอลลูนคือ การสอดท่อที่มีบอลลูนเข้าไปในหลอดเลือดหัวใจเพื่อเบียดให้ไขมันแบนลงไปติดที่ผนังหลอดเลือด หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ไขมันในหลอดเลือดหัวใจยังมีมากเท่าเดิมเพียงแต่ถูกเบียดให้แบนลงเท่านั้น หลอดเลือดหัวใจของผู้ป่วยจึงมักจะกลับมาตีบใหม่ภายใน 3-6 เดือนหลังการทำบอลลูน โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีไขมันในเลือดสูง เบาหวาน ความดันโลหิตสูงหรือโรคไต โอกาสกลับมาตีบใหม่ก็จะเร็วขึ้น ที่สำคัญคือ หลอดเลือดส่วนอื่นๆ ของผู้ป่วยกลุ่มนี้ก็มักจะมีอาการตีบเช่นกัน การทำบอลลูนหรือบายพาสนั้นแก้ไขได้เฉพาะหลอดเลือดหัวใจจุดที่ได้ทำเท่านั้น แต่หลอดเลือดส่วนอื่นๆ ของร่างกายก็ยังคงสภาพตีบเช่นเดิม ดังนั้น ผู้ป่วยกลุ่มนี้จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการใช้สมุนไพรจีน เพื่อทำความสะอาดหลอดเลือดทั่วทั้งร่างกาย

ผลการตรวจหัวใจเป็นปกติ ขณะเดินสายพาน เป็นการรับประกันความแข็งแรงของหัวใจ…จริงหรือไม่

การตรวจหัวใจขณะเดินบนสายพาน เป็นวิธีทดสอบการไหลเวียนโลหิตของกล้ามเนื้อหัวใจขณะออกกำลัง แม้หลอดเลือดหัวใจตีบไปแล้ว 50% ผลการตรวจก็ยังเป็นปกติ ทำให้ผู้ที่ได้รับการตรวจเกิดความมั่นใจว่าตนเองปกติ ทั้งๆ ที่กำลังเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ คนจำนวนมากจึงเข้าใจผิดว่าการทดสอบด้วยวิธีนี้เป็นการรับประกันความแข็งแรงของหัวใจ ดังนั้น เมื่อมีสัญญาณเตือนของโรคหัวใจ พวกเขาเหล่านั้นจึงมักจะอดทนหรือไม่ยอมรับว่ามีอาการ คิดว่าเป็นเพราะเหนื่อยจากการโหมงานหนักหรือไม่แข็งแรงพอ จึงไม่ใส่ใจในการป้องกันและรักษา จนทราบในภายหลังเมื่อแพทย์วินิจฉัยโรคได้แล้วหรือต้องเสียชีวิตอย่างเฉียบพลันจากหัวใจวาย

ทำไมผู้ป่วยเบาหวานมักเสียชีวิตจากโรคหัวใจ

ผู้ป่วยเบาหวานมีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบในอายุที่น้อยกว่าแต่มีความรุนแรงที่มากกว่า เนื่องจากระดับน้ำตาลที่เพิ่มสูงขึ้นนั้น จะทำให้ผนังหลอดเลือดแดงทั่วร่างกายเกิดความผิดปกติและเสื่อมลงอย่างรวดเร็ว ประกอบกับผู้ป่วยเบาหวานมักจะมีโรคอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น โรคไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ เป็นต้น ซึ่งโรคเหล่านี้จะเร่งให้โครงสร้างและสภาพของหลอดเลือดเกิดความผิดปกติมากขึ้นและเร็วขึ้น หลอดเลือดหัวใจจึงเกิดการอักเสบ ทำให้คราบไขมันที่เกาะตามผนังหลอดเลือดมีการแตกออก และเกิดลิ่มเลือดมาอุดตันหลอดเลือดหัวใจอย่างเฉียบพลัน ส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย โรคหลอดเลือดหัวใจตีบจึงเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของผู้ป่วยเบาหวาน

โรคความดันโลหิตสูง: เกณฑ์ สาเหตุ อาการ การป้องกัน การรักษา

ความดันโลหิตสูง ทำไมจึงจัดเป็นโรคอันตราย

ความดันโลหิตสูงเกิดจากหลอดเลือดแดงตีบลง ทำให้เลือดไหลผ่านได้ยากขึ้น ผลที่ตามมาคือ หัวใจต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อให้มีแรงดันมากขึ้นกว่าปกติ เลือดจะได้ไหลเวียนไปเลี้ยงทั่วร่างกายอย่างต่อเนื่องและเพียงพอ ภาวะความดันโลหิตสูงจะทำให้ผนังหลอดเลือดชำรุดเสียหาย หลอดเลือดแข็งตัว และทำให้ไขมันเกาะตามผนังหลอดเลือดได้ง่ายขึ้น ซึ่งจะเสี่ยงต่อโรคร้ายแรง เช่น โรคหัวใจขาดเลือด ภาวะหัวใจล้มเหลว โรคหลอดเลือดสมองและไตวาย เป็นต้น แต่ที่อันตรายที่สุดคือ ความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่ไม่แสดงอาการอะไรออกมาให้เห็นเลย มีส่วนน้อยเท่านั้นอาจมีอาการปวดท้ายทอยหรือมึนศีรษะเป็นประจำ ดังนั้น เราจะใช้อาการปวดศีรษะหรืออาการอื่นๆ มาเป็นเกณฑ์ในการเริ่มรักษาไม่ได้ ควรรักษาแต่เนิ่นๆ แม้จะไม่มีอาการใดๆ ก็ตาม

สมุนไพรบำบัดโรคระบบหลอดเลือดและหัวใจ ออกฤทธิ์อย่างไร

สมุนไพรจีนที่ใช้ในการบำบัดโรคระบบหลอดเลือดและหัวใจ ประกอบด้วย Yanhusuo (Yanhusuo), Nutgrass Galingale Rhizome (Xiangfu), Safflower (Honghua), Szechwan Lovage Rhizome (Chuanxiong), Red Peony Root (Chishao), Danshen Root (Danshen) ฯลฯ ซึ่งมีประวัติการใช้มาเนิ่นนาน จากการวิจัยและทดลองทางการแพทย์และเภสัชวิทยาในปัจจุบันพบว่า ยาสมุนไพรจีนที่อยู่ในรูปแบบของสารสกัดเป็นรูปแบบที่มีประสิทธิภาพสูงสุด เนื่องจากสามารถสกัดและควบคุมสารออกฤทธิ์ได้อย่างเข้มข้นและแม่นยำ เช่น สาร Protocatechualdehyde, Tetrahydropalmatine, Corydalis B, Paeoniflorin, Carthamin และ Ligustrazine เป็นต้น โดยมีกลไกออกฤทธิ์สำคัญดังนี้

  • ปรับความสมดุลของร่างกาย โดยเฉพาะความสมดุลของตับ ทำให้ตับมีการผลิตโคเลสเตอรอลในปริมาณที่เหมาะสมไม่มากเกินไป เพื่อขจัดต้นเหตุสำคัญของโรคระบบหลอดเลือดและหัวใจ
  • ฟื้นฟูการทำงานของตับอ่อน ทำให้ตับอ่อนผลิตอินซูลินในปริมาณที่เหมาะสม พร้อมทั้งส่งเสริมให้ร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินได้อย่างมีประสิทธิภาพ โรคเบาหวานจึงค่อยๆ ทุเลาลงอย่างเห็นได้ชัด
  • ลดภาวะการขาดเลือดของกล้ามเนื้อหัวใจ เพิ่มความสามารถในการบีบตัวและลดความต้องการออกซิเจนของกล้ามเนื้อหัวใจ จึงบรรเทาอาการปวด แน่น จุกเสียดหน้าอกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ลดความข้นของโคเลสเตอรอลและระดับไตรกลีเซอไรด์ เพิ่ม HDL โคเลสเตอรอลเพื่อนำ LDL โคเลสเตอรอลที่สะสมตามผนังหลอดเลือด กลับไปที่ตับเพื่อขจัดออกจากร่างกาย
  • เพิ่มความยืดหยุ่นของหลอดเลือด สลายและยับยั้งการก่อตัวของลิ่มเลือด ลดความเหนียวหนืดของเซลล์เม็ดเลือด จึงบำบัดความดันโลหิตสูง ภาวะหลอดเลือดหัวใจ และสมองตีบหรือแตกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจ สมองและอวัยวะต่างๆ ได้ดีขึ้น
YouTube player
YouTube player
YouTube player
ปรึกษาแพทย์จีน
ปรึกษาแพทย์จีน
Scroll to Top