หน้าแรก  »  บทความสุขภาพ  »  เนื้องอกในรังไข่สาเหตุเกิดจากอะไร อาการที่พบบ่อย แนวทางการรักษา

เนื้องอกในรังไข่สาเหตุเกิดจากอะไร อาการที่พบบ่อย แนวทางการรักษา

เนื้องอกในรังไข่สาเหตุเกิดจากอะไร อาการที่พบบ่อย แนวทางการรักษา

เนื้องอกในรังไข่เป็นโรคที่พบได้บ่อยในทางนรีเวช พบมากในสตรีวัย 20-50 ปี ในช่วงแรกมักยังไม่แสดงอาการจึงยากต่อการตรวจพบ แต่จะแสดงอาการเมื่อขนาดของก้อนใหญ่ขึ้นแล้ว หรือในกรณีที่ร้ายแรงอาจพบเมื่อก้อนมีขนาดใหญ่มาก จนรังไข่เกิดการม้วนบิดตัวหรือมีการอักเสบร่วมด้วย โดยผู้ป่วยเนื้องอกในรังไข่ 20%-25% ตรวจพบว่ามีประวัติมาจากพันธุกรรม

ชนิดและตำแหน่ง

เนื้องอกในรังไข่ สามารถแบ่งได้ 3 ประเภท

  1. เนื้องอกรังไข่ชนิดที่เป็นถุงน้ำ (Cyst) ภายในถุงอาจมีของเหลวลักษณะข้น เหนียวหรือเนื้อเยื่ออื่นๆ บรรจุอยู่ บางรายอาจหายไปเองได้ตามธรรมชาติ
  2. เนื้องอกรังไข่ชนิดธรรมดาหรือไม่ร้ายแรง (Benign)
  3. เนื้องอกรังไข่ชนิดร้ายแรงหรือมะเร็งรังไข่ (Malignant) พบน้อยและมักพบในสตรีวัย 40 – 50 ปี

อาการที่พบบ่อย

ผู้ป่วยเนื้องอกในรังไข่ไม่ว่าจะเป็นชนิดใด ก็ตามมักแสดงอาการที่คล้ายคลึงกัน ดังนี้

  • ประจำเดือนผิดปกติ เลือดออกกะปริดกะปรอย
  • ปวดท้องประจำเดือน ทั้งๆ ที่ไม่เคยปวดมาก่อน อาการปวดจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
  • ปวดหน่วงท้องน้อย ปวดบั้นเอว
  • ตกขาวผิดปกติ
  • มีบุตรยาก
  • ผู้ป่วยบางรายอาจคลำพบก้อนบริเวณท้องน้อยได้ด้วยตนเอง

แนวทางการบำบัดทั่วไป

จะเน้นลดการอักเสบ ปรับฮอร์โมนหรือผ่าตัด เมื่อตรวจพบว่าเนื้องอกนั้นมีขนาดใหญ่หรือเป็นเนื้อร้าย ซึ่งอาจแค่ตัดเนื้องอกออกหรือผ่าตัดนำรังไข่หรือมดลูกออกไปทั้งหมด จึงมีผลต่อโอกาสการตั้งครรภ์ในผู้ต้องการมีบุตร

สาเหตุในมุมมองของการแพทย์จีน

  • ภาวะเลือดและลมปราณอุดกั้น เนื่องจากได้รับพิษเย็นจึงเกิดการสะสมอุดกั้นภายในร่างกาย ส่งผลให้เลือดและลมปราณไหลเวียนไม่สะดวก ประกอบกับความเครียดสะสมเป็นเวลานาน ทำให้การกระจายลมปราณและเลือดของตับเสียความสมดุล ส่งผลให้ตับอุดตันเลือดและลมปราณไหลเวียนไม่สะดวก มีการคั่งค้างจนกลายเป็นเลือดคั่ง จึงแสดงอาการปวดท้องประจำเดือน ประจำเดือนผิดปกติ เป็นต้น
  • ภาวะเสมหะและเลือดคั่งอุดกั้น เกิดจากมีภาวะคิดมาก วิตกกังวลและเครียดเป็นประจำ ส่งผลกระทบต่อม้าม ซึ่งม้ามมีหน้าที่ในการกระจายสารอาหารและสารน้ำ ไปทั่วทั้งร่างกาย ถ้าม้ามทำงานผิดปกติหรือบกพร่อง จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการกระจายสารน้ำ ส่งผลให้สารน้ำคั่งค้างจนสกปรกเหนียวข้น (เสมหะ) กีดขวางการไหลเวียนของเลือดและลมปราณ อีกทั้งสารน้ำที่สกปรกเหนียวข้น (เสมหะ) เกิดร่วมกับภาวะเลือดคั่ง เมื่อสะสมเป็นกลุ่มก้อน จะกลายเป็นเนื้องอกในรังไข่ในที่สุด

การแพทย์จีนบำบัดจากต้นเหตุ

การแพทย์จีนจึงนิยมใช้สมุนไพรจีนที่มีสรรพคุณในการบำบัดภาวะเนื้องอกในรังไข่ ดังนี้

  • สลายเลือดคั่ง (化瘀)
  • กระตุ้นการไหลเวียนเลือด (活血)
  • สลายก้อน (消癥)

จากการศึกษาวิจัยและทดลองทางการแพทย์และเภสัชวิทยาในปัจจุบันพบว่า ยาสมุนไพรจีนที่อยู่ในรูปแบบสารสกัดเป็นรูปแบบที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งคงผลได้ยาวนาน เนื่องจากสามารถสกัดและควบคุมสารออกฤทธิ์ได้อย่างแม่นยำ

กลไกการออกฤทธิ์ของยา

  • ปรับสมดุลการไหลเวียนเลือดทั่วร่างกาย กระตุ้นการไหลเวียนเลือด ลดความหนืดความข้นของเลือด จึงช่วยให้เลือดและสารน้ำที่คั่งค้างในรังไข่ลดลงและลดขนาดของก้อน
  • ลดการอักเสบ ลดระดับสารที่ทําให้อักเสบ เช่น IL-1β, IL-2, TNF-α และเพิ่มสารที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ เช่น IL-4, IL-10
  • ปรับสมดุลฮอร์โมนทางเภสัชวิทยา กลไกของยาคล้ายคลึงกับยากลุ่ม GnRHa ในทางแผนปัจจุบัน สามารถลดระดับ FSH, LH จึงมีผลในการลดระดับ Estrogen / Progesterone ยับยั้งการเจริญเติบโตของก้อนเนื้องอก
  • ต้านการเจริญเติบโตของเซลล์เนื้องอก ลดระดับ Bcl-2, Survivin, c-myc
  • ปรับสมดุลระบบภูมิคุ้มกัน เพิ่มระดับ IgG, IgM, CD4+/CD8+, NK cell

ผลการทดลองทางคลินิก

ผลการทดลองทางคลินิกตามหลักการแพทย์สากลพบว่า มีประสิทธิภาพในการบำบัดเนื้องอกในรังไข่ ลดการเจริญเติบโตของก้อนเนื้องอก ลดขนาดของก้อน ปรับสมดุลประจำเดือน ลดการอักเสบและลดอาการที่เกิดขึ้นจากเนื้องอกรังไข่ ทั้งยังส่งเสริมให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้นอีกด้วย

Clinical Trial เนื้องอกรังไข่ ในผู้ป่วย 280 ราย 91.4%* มีประสิทธิภาพในการลดการเจริญเติบโตของก้อนเนื้องอก ลดขนาดหรือสลายก้อนเนื้องอก

*河南中医. 2004, 24(5):22

YouTube player
ปรึกษาแพทย์จีน
ปรึกษาแพทย์จีน
Scroll to Top