หน้าแรก  »  บทความสุขภาพ  »  สาเหตุ อาการ การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม ปวดเข่า ปวดข้อ

สาเหตุ อาการ การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม ปวดเข่า ปวดข้อ

สาเหตุ อาการ การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม ปวดเข่า ปวดข้อ

โรคข้อเข่าเสื่อม ปวดเข่า ปวดข้อ

ข้อเข่าเสื่อมเป็นสาเหตุอันดับต้น ๆ ของอาการปวดข้อในคนที่อายุมากกว่า 40 ปี พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายประมาณ 3 เท่าโดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน นอกจากนี้คนที่อ้วนหรือทำงานหนัก ยืน วิ่งหรือเดินมาก ๆ อาจทำให้ข้อเข่าเสื่อมก่อนวัยอันควร ผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมอาจมีภาวะเสื่อมของข้อหลาย ๆ แห่งพร้อมกันโดยเฉพาะในข้อที่ต้องแบกรับน้ำหนักมาก เช่น ข้อสะโพก ข้อกระดูกสันหลัง กระดูกคอ ข้อนิ้วมือ เป็นต้น

สาเหตุและอาการข้อเข่าเสื่อม

ผิวของข้อเข่ามีกระดูกอ่อนปกคลุมอยู่ ทำหน้าที่เสมือนโช้คอัพรองรับและกระจายน้ำหนัก ภายในข้อเข่ามีน้ำไขข้อหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อรอบเข่าเพื่อป้องกันการสึกกร่อนของข้อเข่า เมื่ออายุมากขึ้นหรือรับน้ำหนักมากเกินไป หรือมีการบาดเจ็บกระดูกอ่อนตรงผิวข้อเข่าจะค่อย ๆ สึกกร่อน ส่งผลให้มีกระดูกงอก(หินปูน) ขรุขระและมีการสูญเสียน้ำไขข้อในข้อเข่า ทำให้ข้อเข่าเกิดเสียงดังและมีอาการปวดขัดเมื่อมีการเคลื่อนไหว หากข้อเข่าที่เสื่อมมีการอักเสบก็จะมีการสร้างน้ำไขข้อเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดอาการบวม ตึงและปวดของข้อเข่า เมื่อข้อเข่าเสื่อมมากขึ้นจะโก่งงอ พร้อมทั้งอาจทำให้ข้อเข่ามีขนาดใหญ่ขึ้น ในที่สุดผู้ป่วยต้องใช้ไม้เท้าช่วยหรือบางคนจะเดินน้อยลง ทำให้กล้ามเนื้อที่ขาลีบลง ข้อจะยึดติดเหมือนมีสนิมเกาะ เหยียดขาได้ไม่สุด

ภาพแสดงลักษณะข้อเข่าเสื่อม

ข้อจำกัดของยาแผนปัจจุบันในการรักษาข้อเข่าเสื่อม

ถึงแม้ว่าการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยกลุ่มยา NSAIDs เป็นแนวทางการรักษาของการแพทย์แผนปัจจุบันก็ตาม แต่อาจไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วย เนื่องจากเป็นเพียงการระงับอาการไว้ชั่วคราว แต่มิได้หยุดยั้งการลุกลามของโรค และผลของการซ่อมแซมโครงสร้างข้อเข่าไม่เด่นชัด ที่สำคัญคือพิษของยาจะก่อให้เกิดอาการระคายเคืองของกระเพาะอาหาร โดยเฉพาะของผู้สูงอายุซึ่งมีระบบทางเดินอาหารที่ต้านทานต่อพิษของยาน้อยลงจึงทำให้อาหารไม่ย่อย กระเพาะอาหารอักเสบหรือเป็นแผลที่กระเพาะอาหารได้ง่ายกว่า พร้อมทั้งอาจส่งผลต่อร่างกายในหลาย ๆ ด้าน เช่น เป็นพิษต่อตับทำให้เซลล์ตับตาย ตับเสื่อมสภาพ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง กระดูกพรุน เป็นต้น

ข้อจำกัดของยาแผนปัจจุบันในการรักษาข้อเข่าเสื่อม

สาเหตุข้อเข่าเสื่อมในทัศนะการแพทย์จีน

  • ตับและไตอ่อนแอ ตับมีหน้าที่ในการสังเคราะห์สารตั้งต้นในการซ่อมแซมเอ็นที่ยึดเหนี่ยวข้อ ส่วนไตมีหน้าที่ในการสังเคราะห์สารที่ช่วยดูดซึมแคลเซียม เพื่อนำไปใช้ซ่อมแซมกระดูกและกระดูกอ่อนส่วนที่สึกกร่อน หากตับและไตอ่อนแอก็จะทำให้การซ่อมแซมเส้นเอ็นและกระดูกไม่มีประสิทธิภาพ
  • พิษเย็น-ชื้นที่สะสมบริเวณข้อเข่า พิษเย็น-ชื้นจะทำให้หลอดเลือดและเส้นลมปราณบริเวณข้อเข่าติดขัด ขัดขวางการไหลเวียนของเลือดและพลังลมปราณจนเกิดอาการปวดขึ้นมา ซึ่งสอดคล้องกับหลักการวินิจฉัยและรักษาอันสำคัญของการแพทย์จีนคือ ปวดแสดงว่าไม่โล่ง โล่งแล้วก็จะไม่ปวด 通则不痛, 痛则不通 นอกจากนี้ การไหลเวียนของเลือดและพลังลมปราณบริเวณข้อเข่าที่ติดขัดจะทำให้เส้นเอ็น กล้ามเนื้อและกระดูกได้รับการหล่อเลี้ยงไม่เพียงพอ ส่วนสารพิษต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการเมตาบอลิซึมก็ไม่สามารถลำเลียงออกไปได้หมดสิ้น จึงส่งผลให้เกิดความผิดปกติต่าง ๆ บริเวณข้อเข่ามากขึ้น

การแพทย์จีนมีวิธีรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมอย่างไร

การแพทย์จีนนิยมใช้ยาสมุนไพรจีนในการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม ซึ่งเป็นสูตรยาที่ประกอบด้วยตัวยาหลัก ตัวยาเสริม ตัวยาช่วยและตัวยานำพาในการเสริมฤทธิ์ยาซึ่งกันและกัน เพื่อระงับอาการปวด เสริมสร้างความแข็งแรงให้กับกระดูก ข้อต่อและเส้นเอ็น อีกทั้งช่วยซ่อมแซมโครงสร้างข้อเข่าที่เสื่อมลง

ตัวยาสมุนไพรสำหรับโรคข้อเข่าเสื่อม

จากการศึกษาทางเภสัชวิทยาในปัจจุบันพบว่ายาสมุนไพรจีนรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมมีกลไกการออกฤทธิ์สำคัญดังนี้

  • ยับยั้ง Matrix Metalloproteinases (MMPs) ซึ่งเป็นเอนไซม์ในการย่อยสลายกระดูกอ่อน จึงมีผลในการปกป้องกระดูกอ่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ปรับความสมดุลของกระบวนการเมตาบอลิซึมบริเวณข้อเข่า เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการใช้แรงของกระดูกบริเวณใต้กระดูกอ่อน
  • กระตุ้นสาร SOD ลดระดับ MDA เพื่อลดการอักเสบของเยื่อหุ้มข้อ จึงบรรเทาอาการปวด บวม แดงบริเวณข้อเข่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ยับยั้งสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบ เช่น NO, NOS, 1L-1β, INF-α เพื่อปกป้องกระดูกอ่อน

อาการปวด บวม แดง มีเสียงดังที่เข่าเมื่อมีการเคลื่อนไหวและอาการอื่น ๆ ที่เกิดจากโรคข้อเข่าเสื่อมจึงค่อย ๆ ทุเลาลงและเห็นผลโดยรวมสูงถึง 94.3% ที่สำคัญคือ สามารถซ่อมแซมโครงสร้างข้อเข่าที่เสื่อมด้วย ระยะเวลาการรักษาอาจไม่เท่ากันในแต่ละคน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอายุ ความรุนแรงของอาการและระยะเวลาที่เรื้อรัง

YouTube player
YouTube player
ปรึกษาแพทย์จีน
ปรึกษาแพทย์จีน
Scroll to Top