หน้าแรก  »  บทความสุขภาพ  »  สาเหตุ อาการ การดูแลอาการปวดส้นเท้าในทัศนะการแพทย์จีน

สาเหตุ อาการ การดูแลอาการปวดส้นเท้าในทัศนะการแพทย์จีน

สาเหตุ อาการ การดูแลอาการปวดส้นเท้าในทัศนะการแพทย์จีน

อาการปวดส้นเท้าพบบ่อยในคนที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป โดยมีอาการปวด บวมที่ส้นเท้าและอาจลามขึ้นไปที่น่อง ทำให้ต้องเดินกะโผลกกะเผลก สำหรับผู้ที่มีอาการปวดส้นเท้าเรื้อรัง มักจะพบกระดูกงอกในส้นเท้าด้วย อาการปวดส้นเท้าจะเป็นหนักขึ้น เมื่ออากาศเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะพายุเข้าหรือฝนตก เวลาตื่นนอนหรือลุกจากที่นั่งใหม่ๆ และอาการอาจทุเลาลงบ้างเมื่อมีการเดินไปเดินมาสักพัก

สาเหตุของอาการปวดส้นเท้ามีด้วยกันหลายอย่าง เช่น น้ำหนักเกิน เดินมากๆ หรือยืนนานๆ เป็นประจำ ได้รับบาดเจ็บที่ส้นเท้า เบาหวาน เป็นต้น หรือเกิดจากความเสื่อมสภาพของร่างกายตามอายุ อาการปวดส้นเท้าจัดเป็นการอักเสบเฉพาะที่ซึ่งมิได้เกิดจากการติดเชื้อแต่อย่างใด หากแต่เกิดจากการไหลเวียนของเลือดลมบริเวณส้นเท้ามีการติดขัดและสะดุด ทำให้เลือดลมไหลเวียนไม่สะดวกจึงเกิดอาการปวดขึ้นมา ซึ่งสอดคล้องกับหลักการวินิจฉัยและรักษาอันสำคัญของการแพทย์จีน ปวดแสดงว่าไม่โล่ง โล่งแล้วก็จะไม่ปวด สำหรับผู้ที่มีอาการปวดส้นเท้า การเดินซึ่งเป็นกิจวัตรประจำวัน ก็จะทำให้ส้นเท้าอักเสบมากขึ้นและเรื้อรังเป็นเวลานาน หากไม่มีการรักษาอย่างถูกวิธี อาการอักเสบนี้ก็จะไประคายข้อต่อและเยื่อหุ้มกระดูกในส้นเท้า ทำให้ส้นเท้าเกิดกระดูกงอกขึ้นมาได้ ดังนั้น กระดูกงอกในส้นเท้าจึงมิได้เป็นสาเหตุของอาการปวดส้นเท้า แต่เป็นผลที่เกิดจากการอักเสบของส้นเท้าต่างหาก

การดูแลอาการปวดส้นเท้าในทัศนะการแพทย์จีน

สำหรับอาการปวดส้นเท้า การแพทย์จีนนิยมใช้สมุนไพรที่มีสรรพคุณในการขจัดพิษร้อน-ชื้นที่สะสมอยู่ในส้นเท้า เพื่อลดการอักเสบ พิษร้อน-ชื้นนี้เป็นต้นเหตุทำให้การไหลเวียนของเลือดลมในบริเวณนี้สะดุดและติดขัดจนเกิดอาการปวด ส่วนสมุนไพรที่มีสรรพคุณในการฟื้นฟูและกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดในร่างกายโดยเฉพาะบริเวณส้นเท้า ก็มีบทบาทสำคัญในการรักษาอาการปวดส้นเท้าเช่นกัน

แต่สำหรับผู้ที่ปวดส้นเท้าแบบจี๊ดๆ พร้อมมีอาการหายใจไม่สะดวก ปวด แน่น จุกเสียดหน้าอก เหนื่อยง่าย อ่อนเพลียง่าย ขึ้นบันไดชั้นสองชั้น หรือทำอะไรนิดๆ หน่อยๆ ก็รู้สึกเหนื่อย หรือลิ้นสีม่วงแดงนั้น ผู้ป่วยควรตระหนักว่าเลือดลมในร่างกายไม่ได้ติดขัดและสะดุดเฉพาะที่บริเวณส้นเท้าเท่านั้น แต่ก็ยังมีอีกหลายๆ จุด เกิดการติดขัดและสะดุด จนเลือดลมไหลเวียนไม่สะดวก โดยเฉพาะบริเวณหัวใจ จึงควรรักษาอาการปวดส้นเท้าควบคู่กับการทำความสะอาดหลอดเลือดทั่วทั้งร่างกาย

ส่วนผู้ป่วยปวดส้นเท้าที่มีอาการวิงเวียนศีรษะ หูอื้อ ตาลาย แขนขาอ่อนแรง ปวดเมื่อยตามร่างกาย ขี้หลงขี้ลืม ขี้หนาว ปัสสาวะบ่อย ฯลฯ แสดงว่าไตของผู้ป่วยนั้นอ่อนแอ ไม่แข็งแรงเท่าที่ควร จึงควรทำการบำรุงไตไปพร้อมๆ กัน

อาการปวดส้นเท้าก็จะค่อย ๆ ทุเลาลงหรืออาจหายไปในที่สุด

ปรึกษาแพทย์จีน
ปรึกษาแพทย์จีน
Scroll to Top