หน้าแรก  »  บทความสุขภาพ  »  วิธีแก้ปวดคอบ่าไหล่ สะบัก ท้ายทอย เส้นคอตึง บรรเทาให้ดีขึ้นด้วยตัวเอง

วิธีแก้ปวดคอบ่าไหล่ สะบัก ท้ายทอย เส้นคอตึง บรรเทาให้ดีขึ้นด้วยตัวเอง

วิธีแก้ปวดคอบ่าไหล่ สะบัก ท้ายทอย เส้นคอตึง บรรเทาให้ดีขึ้นด้วยตัวเอง

ปวดคอบ่าไหล่ สะบัก ท้ายทอย เส้นคอตึง รู้สึกทรมาน จะขยับจะทำอะไรก็ลำบาก ใครที่กำลังประสบปัญหาเหล่านี้อยู่ ทางเอินเวย์ก็ได้นำวิธีแก้อาการเบื้องต้นด้วยตัวเองมาให้นำไปปฏิบัติกันแล้วค่ะ

วิธีแก้ปวดคอบ่าไหล่ สะบัก ท้ายทอย ด้วยตัวเอง

อาการปวดคอบ่าไหล่ สะบัก ท้ายทอย เส้นคอตึง สามารถบรรเทาให้ดีขึ้นด้วยตัวเองได้ด้วยวิธีการต่างๆ ดังนี้

1. ประคบเย็น

การประคบเย็นบริเวณที่ปวด จะช่วยลดการอักเสบและลดการไหลเวียนของเลือด ทำให้อาการปวดทุเลาลง โดยจะเหมาะเป็นพิเศษกับผู้ที่เกิดการบาดเจ็บเฉียบพลัน ปวดคอบ่าไหล่ สะบัก ท้ายทอย แบบกะทันหัน มีอาการบวม หรือต้องการผ่อนคลายกล้ามเนื้อหลังออกกำลังกาย

สำหรับวิธีการนั้น จะแนะนำให้ประคบเย็นครั้งละประมาณ 20 นาที โดยสามารถทำได้วันละหลายครั้งตามความจำเป็น แต่จะแนะนำให้หลีกเลี่ยงไม่ให้ผิวหนังสัมผัสกับน้ำแข็งหรือวัสดุที่เย็นจัดโดยตรง ควรใช้ผ้าสะอาดรอง (กรณีที่ใช้น้ำแข็ง) หรือรอให้เย็นน้อยลงเสียก่อน (กรณีที่ใช้แผ่นเย็นหรือวัสดุอื่นที่ไม่ใช่น้ำแข็ง) เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ผิวหนังโดนความเย็นกัด

2. ประคบร้อน

ในกรณีที่เป็นอาการปวดคอบ่าไหล่ สะบัก ท้ายทอย แบบเรื้อรัง ไม่ใช่อาการบาดเจ็บเฉียบพลัน และไม่มีอาการบวม การประคบร้อนซึ่งจะมีผลช่วยคลายกล้ามเนื้อและกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ก็จะช่วยบรรเทาอาการเส้นคอตึงและอาการปวดได้

สำหรับวิธีการก็จะคล้ายกับการประคบเย็น คือแนะนำให้ประคบร้อนครั้งละประมาณ 20 นาที และสามารถทำได้วันละหลายครั้งตามความจำเป็น แต่จะแนะนำให้หลีกเลี่ยงไม่ให้ผิวหนังสัมผัสกับความร้อนที่มากจนเกินไป เพราะอาจทำให้พุพองอักเสบ

3. ใช้ยาแก้ปวด

ยาบางชนิดก็สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดคอบ่าไหล่ สะบัก ท้ายทอยได้ เช่น ยาพาราเซตามอล หรือยาแก้อักเสบกลุ่ม NSAIDs อย่าง Ibuprofen, Naproxen หรือ Aspirin แต่ก็ควรใช้ภายใต้คำปรึกษาและการกำกับดูแลของแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อความปลอดภัย

4. ออกกำลังกาย

การออกกำลังกายบางท่าก็อาจช่วยบรรเทาอาการปวดคอบ่าไหล่ สะบัก ท้ายทอยได้เช่นกัน อย่างเช่น หันคอ ยืดเหยียดคอ หมุนไหล่ กางแขนเพื่อบีบสะบัก เป็นต้น แต่ก็ควรทำช้าๆ เริ่มทีละน้อย ไม่ฝืนจนเกินไป และท่าไหนที่ทำแล้วเจ็บก็ควรงด ทั้งนี้ ใครที่มีโอกาสได้เข้าพบแพทย์หรือนักกายภาพบำบัด ก็อาจขอคำแนะนำสำหรับท่าออกกำลังกายที่เหมาะกับปัญหาของตนได้

5. เลี่ยงอิริยาบถที่ไม่ดี

ไม่ว่าเราจะพยายามบรรเทาอาการปวดคอบ่าไหล่ สะบัก ท้ายทอยด้วยวิธีการต่างๆ อย่างดีแค่ไหน แต่ถ้ายังมีเชื้อไฟที่คอยเอื้อให้เกิดอาการปวดอยู่เรื่อยๆ อย่างเช่น การมีอิริยาบถที่ไม่ดีบ่อยๆ ปัญหาอาการปวดก็จะมีแนวโน้มเป็นเรื้อรังหรือเกิดซ้ำไม่จบไม่สิ้น

ตัวอย่างอิริยาบถที่เอื้อให้เกิดอาการปวดคอบ่าไหล่ สะบัก ท้ายทอย ก็อย่างเช่น ก้มหน้าเล่นมือถือบ่อยๆ นั่งจ้องจอคอมที่อยู่สูงหรือต่ำจนเกินไป นอนคว่ำเล่นมือถือหรืออ่านหนังสือนานๆ นอนหนุนหมอนที่สูงหรือเตี้ยจนเกินไป เป็นต้น

ท่านั่งเล่น-นอนเล่นโทรศัพท์ที่ถูกต้อง เลี่ยงปวดคอ สายตาเสีย

ระดับจอคอมและระยะมองที่เหมาะสม เลี่ยงปวดคอ สายตาเสีย

6. จัดการความเครียด

แม้หลายคนมักจะมองข้าม แต่ความเครียดก็เป็นอีกปัจจัยที่เอื้อให้เกิดอาการปวดคอบ่าไหล่ สะบัก ท้ายทอย เพราะจะทำให้กล้ามเนื้อบริเวณดังกล่าวหดเกร็ง

ใครที่เครียดบ่อยก็อาจหาทางบรรเทาได้ด้วยการฟังเพลง ฝึกสมาธิ เล่นโยคะ ไปเที่ยว หากิจกรรมผ่อนคลายอื่นๆ ทำ หรือพยายามควบคุมหรือกำจัดปัจจัยที่เอื้อให้เกิดความเครียด

7. นอนพัก

บางครั้งการนอนพักก็อาจเป็นหนทางในการลดอาการปวดคอบ่าไหล่ สะบัก ท้ายทอยเบื้องต้นที่ทำได้ง่ายและได้ผลดี แต่ก็ต้องระวังเรื่องท่านอนและหมอนที่ใช้ด้วย

งานวิจัยปัจจุบันพบว่า ท่านอนหงายและนอนตะแคงจะเป็นท่าที่ดีต่ออาการปวดคอมากที่สุด ส่วนท่านอนคว่ำจะเป็นท่าที่ควรหลีกเลี่ยง เพราะจะทำให้ต้องหันคอเป็นระยะเวลานาน ส่งผลให้กล้ามเนื้อคอไม่ได้ผ่อนคลายเต็มที่ ส่วนหมอนที่ใช้ก็ควรมีความสูงที่พอเหมาะ และมีเนื้อหมอนที่ไม่แน่นแข็งหรืออ่อนยวบจนเกินไป

ปวดคอนอนท่าไหน แล้วควรเลือกหมอนอย่างไร

เมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์

ถ้าอาการปวดคอบ่าไหล่ สะบัก ท้ายทอยมีความรุนแรง เป็นเรื้อรังไม่ดีขึ้นสักที หรือมีอาการผิดปกติบางอย่างเกิดขึ้นร่วมด้วย เช่น แขนอ่อนแรง แขนชา เป็นต้น ก็ควรพิจารณาเข้าพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม

บทสรุป

อาการปวดคอบ่าไหล่ สะบัก ท้ายทอย เส้นคอตึง สามารถบรรเทาเบื้องต้นด้วยตัวเองได้หลายวิธี เช่น ประคบเย็น ประคบร้อน กินยาแก้ปวด ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ นอนพัก จัดการความเครียด หรือเลี่ยงอิริยาบถที่ไม่ดี ซึ่งถ้าจะให้ดีก็อาจใช้หลายๆ วิธีการร่วมกัน ทั้งนี้ หากอาการปวดมีความรุนแรง เป็นเรื้อรังไม่หายสักที หรือมีอาการผิดปกติบางอย่างเกิดขึ้นร่วมด้วย เช่น แขนอ่อนแรงหรือแขนชา ก็ควรเข้าพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม

การบำบัดอาการปวดคอบ่าไหล่ สะบัก ท้ายทอย ในทัศนะการแพทย์จีน

ในทัศนะการแพทย์จีน อาการปวดคอบ่าไหล่ สะบัก ท้ายทอย เส้นคอตึง ไม่ว่าจะเกิดจากกระดูกคอเสื่อม ออฟฟิศซินโดรม หรือสาเหตุทั่วไปอื่นๆ ก็จะสามารถดูแลบำบัดที่ต้นเหตุได้ด้วยวิธีธรรมชาติ ผ่านการใช้ตำรับยาสมุนไพรจีนสกัดที่มีหลักการออกฤทธิ์แบบองค์รวมดังนี้

  • ทะลวงเส้นเลือดและเส้นลมปราณบริเวณคอบ่าไหล่ สะบัก ท้ายทอย ให้โล่งสะอาด
  • สลายภาวะเลือดคั่ง ช่วยให้เส้นเอ็น กล้ามเนื้อ และกระดูกคอ ได้รับเลือดไปหล่อเลี้ยงอย่างเพียงพอ
  • ขจัดพิษลม พิษเย็น และพิษชื้น ที่สะสมอยู่ตามบริเวณคอบ่าไหล่ สะบัก ท้ายทอย ซึ่งเป็นต้นเหตุสำคัญของอาการปวดเมื่อยบริเวณดังกล่าว
  • ผลักดันการไหลเวียนของเลือด ช่วยให้เลือดขึ้นไปเลี้ยงสมองได้ดีขึ้น อาการเวียนหัวปวดหัวจึงทุเลาลง
  • เสริมสร้างพลังลมปราณเพื่อลดภาวะเส้นลมปราณติดขัด

ท่านที่สนใจดูแลอาการปวดคอบ่าไหล่ สะบัก ท้ายทอย เส้นคอตึง ตามทัศนะการแพทย์จีน ก็สามารถรับคำปรึกษาจากแพทย์และผู้เชี่ยวชาญจากเอินเวย์ได้โดยตรงที่เบอร์ 02-751-4399 หรือไอดีไลน์ @enwei

จบแล้วกับข้อมูลแนวทางวิธีการแก้อาการปวดคอบ่าไหล่ สะบัก ท้ายทอย เส้นคอตึงเบื้องต้นด้วยตัวเอง ทางเอินเวย์หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์แก่ทุกท่านนะคะ

เอินเวย์ ศูนย์รวมยาสมุนไพรจีนระดับพรีเมี่ยมจากประเทศจีน ซึ่งอยู่เคียงข้างสังคมไทยมานานกว่า 30 ปี ขอเป็นอีกหนึ่งทางเลือกธรรมชาติในการดูแลสุขภาพตามศาสตร์การแพทย์จีน เพื่อให้ทุกท่านได้มีสุขภาพที่ดี

ปรึกษาแพทย์จีน
ปรึกษาแพทย์จีน
Scroll to Top