หน้าแรก  »  บทความสุขภาพ  »  ตารางค่าความดันปกติในแต่ละช่วงอายุ ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย

ตารางค่าความดันปกติในแต่ละช่วงอายุ ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย

ตารางค่าความดันปกติของแต่ละช่วงอายุ ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย

ผู้สูงอายุ ผู้ใหญ่ทั่วไป และเด็ก จะมีค่าความดันปกติอยู่ที่เท่าไหร่ แล้วเกณฑ์ของผู้หญิงกับผู้ชายนั้นต่างกันหรือไม่ เพื่อไขข้อสงสัยเหล่านี้ ทางเอินเวย์ก็ได้นำข้อมูลในรูปแบบตารางมาให้ชมในบทความนี้แล้วค่ะ

YouTube player

วิธีอ่านค่าความดัน

ตัวอย่างวิธีอ่านค่าความดัน

การวัดความดันเราจะได้ตัวเลขออกมาหลักๆ 2-3 ค่า ซึ่งแต่ละค่านั้นก็จะมีความหมายดังนี้

  • ค่าความดันตัวบน (ตัวเลข 128 ในรูปตัวอย่าง) คือค่าความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัวเต็มที่ มีหน่วยเป็นมิลลิเมตรปรอท (mmHg) มีชื่อเรียกอื่นว่า
    • ความดันค่าสูง
    • ค่าความดันตัวหน้า
    • Systolic Blood Pressure (เขียนย่อว่า SBP หรือ SYS)
  • ค่าความดันตัวล่าง (ตัวเลข 94 ในรูปตัวอย่าง) คือค่าความดันโลหิตขณะหัวใจคลายตัวเต็มที่ มีหน่วยเป็นมิลลิเมตรปรอท (mmHg) มีชื่อเรียกอื่นว่า
    • ความดันค่าต่ำ
    • ค่าความดันตัวหลัง
    • Diastolic Blood Pressure (เขียนย่อว่า DBP หรือ DIA)
  • ค่าชีพจร (ตัวเลข 67 ในรูปตัวอย่าง) คือค่าที่ใช้บอกจำนวนครั้งการเต้นของหัวใจใน 1 นาที ค่าปกติจะอยู่ในช่วง 60-100 ครั้ง/นาที โดยค่านี้จะไม่ใช่ค่าความดัน แต่จะเป็นข้อมูลเสริมที่ใช้ดูว่าหัวใจของเราเต้นเร็วปกติหรือไม่ ซึ่งก็จะมีแค่ในเครื่องวัดบางรุ่นเท่านั้น

สำหรับการจดบันทึกค่าความดันนั้น ส่วนใหญ่ก็จะเขียนในรูป ค่าความดันตัวบน/ค่าความดันตัวล่าง ซึ่งก็คือ 128/94 เมื่ออิงจากรูปตัวอย่างนั่นเอง

ตารางค่าความดันปกติ แต่ละช่วงอายุ

อ้างอิงจากแนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงฉบับปี พ.ศ. 2562 ที่จัดทำโดยสมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย ค่าความดันปกติสำหรับผู้ใหญ่ทุกช่วงอายุทั้งในผู้หญิงและผู้ชายจะใช้เกณฑ์เดียวกัน ซึ่งก็คือน้อยกว่า 140/90 mmHg

ส่วนค่าความดันปกติสำหรับเด็กนั้น เนื่องจากเด็กจะมีความดันน้อยกว่าผู้ใหญ่ หลายๆ ประเทศจึงกำหนดเกณฑ์ปกติให้ไม่เกินเปอร์เซ็นไทล์ที่ 95 เมื่อเทียบกับเด็กวัยเดียวกัน ซึ่งของไทยก็จะมีข้อมูลจากรายงานสำรวจสุขภาพที่อาจพอใช้เทียบได้

ช่วงอายุค่าความดันปกติ (mmHg)
0-17 ปีไม่เกินเปอร์เซ็นไทล์ที่ 95
18-49 ปีน้อยกว่า 140/90
50-59 ปีน้อยกว่า 140/90
60-69 ปีน้อยกว่า 140/90
70-79 ปีน้อยกว่า 140/90
≥ 80 ปีน้อยกว่า 140/90

*ค่าความดันถ้าสูงเกินเกณฑ์แค่ตัวหน้าหรือตัวหลัง เช่น 142/85 mmHg ก็จะถือว่าเข้าข่ายเป็นโรคความดันโลหิตสูงเช่นกัน ซึ่งก็ควรได้รับการตรวจและวินิจฉัยจากแพทย์

**ค่าความดันในผู้ใหญ่ดีที่สุดคือน้อยกว่า 120/80 mmHg ถ้าความดันอยู่ในช่วง 120-139/80-89 mmHg จะถือว่าเริ่มสูงเกินค่าอุดมคติ ซึ่งก็ควรได้รับการใส่ใจดูแลแต่เนิ่นๆ เพื่อลดโอกาสที่จะพัฒนาไปเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ทั้งนี้ เนื่องจากผลวัดความดันอาจคลาดเคลื่อนได้จากปัจจัยต่างๆ การวินิจฉัยโรคความดันโลหิตสูงนั้น แพทย์จึงจะพิจารณาจากผลวัดความดันในสถานพยาบาลเป็นหลัก ซึ่งก็อาจมีการวัดซ้ำ หรือใช้ข้อมูลปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและหลอดเลือดร่วมด้วย เพื่อให้การวินิจฉัยมีความแม่นยำมากขึ้น

(เกณฑ์ค่าความดันปกติอาจต่างกันไปบ้างสำหรับแต่ละประเทศ ขึ้นอยู่กับที่คณะทำงานด้านสุขภาพของประเทศนั้นๆ กำหนด ยกตัวอย่างเช่น ประเทศอังกฤษได้กำหนดให้เกณฑ์ความดันปกติสำหรับผู้ใหญ่ทั่วไปคือน้อยกว่า 140/90 mmHg และสำหรับผู้ที่มีอายุ 80 ปีขึ้นไป คือน้อยกว่า 150/90 mmHg ในขณะที่ประเทศสหรัฐอเมริกาจะกำหนดเกณฑ์ไว้ที่น้อยกว่า 130/80 mmHg สำหรับผู้ใหญ่ทุกช่วงอายุ)

ความดันสูงอันตรายไหม

แม้โรคความดันโลหิตสูงในคนส่วนใหญ่จะไม่แสดงอาการ แต่หากปล่อยไว้นานโดยไม่ได้ควบคุม ก็อาจนำไปสู่โรคและอาการผิดปกติต่างๆ ได้ ยกตัวอย่างเช่น

  • หัวใจวาย ภาวะความดันสูงอาจทำให้เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจอุดตัน
  • เส้นเลือดในสมองแตก ภาวะความดันสูงอาจทำให้เส้นเลือดในสมองแตก ซึ่งอาจนำไปสู่โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือส่งผลให้เสียชีวิตได้
  • ภาวะหัวใจล้มเหลว ภาวะความดันสูงอาจทำให้หัวใจต้องทำงานหนักต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ซึ่งก็จะส่งผลให้หัวใจทำงานล้มเหลวในที่สุด
  • โรคไต ภาวะความดันสูงอาจทำให้เส้นเลือดบริเวณไตเสียหาย
  • สูญเสียการมองเห็น ภาวะความดันสูงอาจทำให้เส้นเลือดบริเวณดวงตาเสียหาย
  • หย่อนสมรรถภาพทางเพศ ภาวะความดันสูงอาจทำให้เกิดปัญหาการแข็งตัวในผู้ชายหรือปัญหาอารมณ์ทางเพศลดลงในผู้หญิง
  • หลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ ภาวะความดันสูงอาจทำให้หลอดเลือดบริเวณแขน ขา ศีรษะ หรือบริเวณอื่นตีบแคบลง ซึ่งจะส่งผลให้เกิดอาการเจ็บปวด เหน็บชา หรืออ่อนแรง

ความดันสูงต้องดูแลจัดการอย่างไร

การดูแลรักษาโรคความดันโลหิตสูง หลักๆ แล้วจะมีอยู่ 2 วิธี ซึ่งก็คือ

  1. ปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิต เพื่อคุมปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลต่อความดัน เช่น ปรับการกิน ออกกำลังกาย เลิกบุหรี่ จัดการความเครียด นอนหลับให้เพียงพอ ฯลฯ
  2. ใช้ยาลดความดัน ถ้าความดันสูงมาก หรือมีปัจจัยเสี่ยงในด้านโรคหัวใจและหลอดเลือดร่วมด้วย แพทย์ก็มักจะใช้ยาลดความดันร่วมกับการปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิต เพื่อให้การรักษานั้นมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

การดูแลความดันในทัศนะการแพทย์จีน

การแพทย์จีนนิยมใช้วิธีบำบัดแบบองค์รวมและปรับสมดุลร่างกาย ผ่านตำรับยาที่สกัดจากพืชสมุนไพรธรรมชาติหลายชนิด เพื่อดูแลแก้ไขปัญหาความดันสูงที่ต้นเหตุ ซึ่งก็จะมีหลักการทำงานดังนี้

  • ทำความสะอาดหลอดเลือด สลายลิ่มเลือดและไขมัน ทำให้หลอดเลือดโล่งสะอาด จึงช่วยป้องกันและบำบัดโรคที่พบบ่อยในผู้ที่มีความดันโลหิตสูงได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น หลอดเลือดหัวใจตีบ เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง อัมพฤกษ์ อัมพาต ฯลฯ
  • บำรุงไต ให้หยิน-หยางในไตเกิดความสมดุล ไตจึงสามารถส่งหยินไปหล่อเลี้ยงตับได้อย่างเพียงพอ ช่วยป้องกันไม่ให้ตับร้อนรุ่มจนเกินไป ซึ่งเป็นต้นเหตุสำคัญของความดันสูง เมื่อตับอยู่ในสภาวะสมดุลก็จะมีการสร้างคอเลสเตอรอลในปริมาณที่เหมาะสม และในขณะเดียวกันเมื่อไตแข็งแรงขึ้น พลังชี่ที่เป็นแรงผลักดันของเลือดก็จะสมบูรณ์ขึ้น ระบบการไหลเวียนของเลือดจึงทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ท่านที่สนใจดูแลความดันและสุขภาพหลอดเลือดตามทัศนะการแพทย์จีน ก็สามารถขอรับคำปรึกษาจากแพทย์แผนจีนและผู้เชี่ยวชาญได้ที่ไอดีไลน์ @enwei

จบแล้วกับตารางค่าความดันปกติของแต่ละช่วงอายุ ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย พร้อมด้วยข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ทางเอินเวย์หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์แก่ทุกท่านนะคะ

เอินเวย์ ศูนย์รวมยาสมุนไพรจีนระดับพรีเมี่ยมจากประเทศจีน ซึ่งอยู่เคียงข้างสังคมไทยมานานกว่า 30 ปี ขอเป็นอีกหนึ่งทางเลือกธรรมชาติในการดูแลสุขภาพตามศาสตร์การแพทย์จีน เพื่อให้ทุกท่านได้มีสุขภาพที่ดี

ปรึกษาแพทย์จีน
ปรึกษาแพทย์จีน
Scroll to Top