หน้าแรก  »  บทความสุขภาพ  »  ความดันสูงกินกาแฟได้ไหม ข้อมูลงานวิจัยปัจจุบันว่าอย่างไร

ความดันสูงกินกาแฟได้ไหม ข้อมูลงานวิจัยปัจจุบันว่าอย่างไร

ความดันสูงกินกาแฟได้ไหม ข้อมูลงานวิจัยปัจจุบันว่าอย่างไร

หลายคนที่มีความดันสูงมักจะสงสัยว่าตนสามารถกินกาแฟได้ไหม ถ้ากินจะทำให้ความดันเพิ่มสูงขึ้น หรือมีผลเสียอย่างอื่นหรือไม่ ในบทความนี้ ทางเอินเวย์ก็ขออาสามาตอบข้อสงสัยเหล่านี้แบบชัดๆ เองค่ะ

YouTube player

ความดันสูงกินกาแฟได้ไหม

คำแนะนำสมัยก่อนมักจะเน้นให้ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงงดกาแฟ เพราะถูกมองว่ามีสารคาเฟอีนที่มีฤทธิ์กระตุ้นหัวใจและหลอดเลือด แต่มุมมองระยะหลังก็ได้เปลี่ยนไป เนื่องด้วยข้อมูลจากงานวิจัยใหม่ๆ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

  • งานวิจัยขนาดใหญ่ในระยะหลังส่วนใหญ่ต่างก็พบว่า การดื่มกาแฟในปริมาณทั่วไปสำหรับผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงนั้น ไม่ได้มีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดผลเสีย ไม่ว่าจะเป็นในด้านความดัน อัตราการเสียชีวิต หรือความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • แต่สำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีความดันตั้งแต่ 160/100 mmHg ขึ้นไป (นับรวมผู้ที่มีความดันเข้าเกณฑ์แค่ตัวหน้าหรือตัวหลังด้วย) ก็มีงานวิจัยขนาดใหญ่ ซึ่งตีพิมพ์ในปี 2022 ที่ได้พบว่า การดื่มกาแฟตั้งแต่ 2 แก้วต่อวันขึ้นไปสำหรับคนกลุ่มนี้ อาจมีผลทำให้อัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มสูงขึ้น
  • จริงอยู่ที่การดื่มกาแฟจะมีผลเพิ่มความดันในระยะสั้น (มักไม่เกิน 3 ชั่วโมง) แต่ผลดังกล่าวนี้ก็มักจะอ่อนลงในผู้ที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ ความสามารถในการปรับตัวของร่างกายนี้ อาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้กาแฟมีผลกระทบต่อความดันและความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในระยะยาวน้อยกว่าที่หลายคนเคยคาดการณ์ไว้

จากข้อมูลเหล่านี้ ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงจึงอาจไม่จำเป็นต้องงดกาแฟเสมอไป ถ้าความดันยังอยู่ในระดับที่คุมได้ ไม่ได้สูงมากนัก แต่ก็ยังควรจำกัดปริมาณไม่ให้มากเกินไปอยู่ดี

ซึ่งทาง อย. ของประเทศสหรัฐอเมริกาก็ได้แนะนำปริมาณคาเฟอีนสำหรับผู้ใหญ่ทั่วไปไว้ที่ไม่เกิน 400 มิลลิกรัมต่อวัน หรือเทียบเป็นกาแฟได้ประมาณ 4 แก้ว การได้รับคาเฟอีนมากเกินไป อาจก่อให้เกิดอาการผิดปกติต่างๆ อย่างเช่น นอนไม่หลับ หงุดหงิด คลื่นไส้ ท้องเสีย ปวดหัว ฯลฯ โดยบางอาการเหล่านี้ก็อาจส่งผลกระทบทางอ้อมต่อความดัน และอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในด้านอื่นๆ ได้

(นอกจากกาแฟแล้ว เครื่องดื่มอื่นๆ อย่างเช่น ชา น้ำอัดลม และเครื่องดื่มชูกำลัง ก็มีคาเฟอีนอยู่ด้วยเช่นกัน ซึ่งก็ต้องนับรวมในเกณฑ์ 400 มิลลิกรัมนี้ด้วย)

ทั้งนี้ เพื่อความรอบคอบรัดกุม ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงก็ควรปฏิบัติตามแนวทางเหล่านี้เพิ่มเติม

  • ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงควรเลี่ยงการกินกาแฟหรือเครื่องดื่มชนิดอื่นที่มีคาเฟอีน ก่อนที่จะออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมที่ต้องใช้แรงเยอะ เนื่องจากกิจกรรมเหล่านี้จะส่งผลให้ความดันเพิ่มขึ้นชั่วคราว
  • ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ปกติแล้วไม่ค่อยได้กินกาแฟหรือเครื่องดื่มชนิดอื่นที่มีคาเฟอีน ก็ควรเริ่มกินเฉพาะตอนที่สามารถคุมความดันได้เท่านั้น และก็ควรค่อยๆ เริ่มทีละน้อย เนื่องจากความดันของคนกลุ่มนี้อาจได้รับผลกระทบจากคาเฟอีนมากกว่าผู้ที่ดื่มเป็นประจำ
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัวอื่นๆ หรือมีการใช้ยา ก็ควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรผู้ดูแล เกี่ยวกับประเด็นในด้านความปลอดภัยของการกินกาแฟและเครื่องดื่มชนิดอื่นที่มีคาเฟอีนให้มั่นใจเสียก่อน
  • อีกสิ่งที่ควรระวังสำหรับการกินกาแฟและเครื่องดื่มชนิดอื่นที่มีคาเฟอีนก็คือส่วนผสมต่างๆ ที่มีผลเสียต่อสุขภาพ อย่างเช่น ครีมเทียม น้ำตาล นมข้นหวาน ฯลฯ ซึ่งในกรณีของกาแฟ ก็ควรเน้นกินเป็นกาแฟดำ หรือกาแฟสูตรที่มีน้ำตาลและไขมันต่ำแทน

ปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลต่อความดัน

นอกจากประเด็นในด้านกาแฟและคาเฟอีนแล้ว ก็ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับความดัน และควรได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมด้วยเช่นกัน ตัวอย่างปัจจัยเหล่านี้ก็อย่างเช่น

  • อาหารการกิน การได้รับโซเดียมเกินจะมีผลทำให้ความดันเพิ่มสูงขึ้น ในทางกลับกัน การได้รับผักผลไม้และอาหารอื่นที่เป็นแหล่งของโพแทสเซียมและแร่ธาตุจำเป็นต่างๆ อย่างเพียงพอ ก็จะมีผลดีต่อความดัน
  • การออกกำลังกาย การออกกำลังกายประเภทแอโรบิคอย่างสม่ำเสมอ อย่างเช่น เดินเร็ว วิ่ง ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน ฯลฯ จะมีส่วนช่วยลดความดันได้
  • น้ำหนักตัว การดูแลน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ก็จะมีผลดีต่อความดันด้วยเช่นกัน
  • การนอนหลับ การนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ ซึ่งสำหรับผู้ใหญ่ทั่วไปก็คืออย่างน้อย 7 ชั่วโมงต่อวัน ก็จะเป็นอีกปัจจัยสำคัญในการดูแลควบคุมความดัน
  • ความเครียด ความเครียดเรื้อรังก็อาจมีผลทำให้ความดันเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งก็ควรได้รับการจัดการดูแลอย่างเหมาะสม
  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การได้รับแอลกอฮอล์เกินพอดี ทั้งจากเหล้า เบียร์ ไวน์ หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อื่น ก็เป็นอีกปัจจัยที่จะส่งผลให้ความดันเพิ่มสูงขึ้นในระยะยาว
  • การสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่ ทั้งการสูบเอง และการได้รับควันจากผู้อื่น ก็จะมีผลทำให้ความดันเพิ่มสูงขึ้น

การดูแลความดันในทัศนะการแพทย์จีน

การแพทย์จีนนิยมใช้วิธีบำบัดแบบองค์รวมและปรับสมดุลร่างกาย ผ่านตำรับยาที่สกัดจากพืชสมุนไพรธรรมชาติหลายชนิด เพื่อดูแลแก้ไขปัญหาความดันสูงที่ต้นเหตุ ซึ่งก็จะมีหลักการทำงานดังนี้

  • ทำความสะอาดหลอดเลือด สลายลิ่มเลือดและไขมัน ทำให้หลอดเลือดโล่งสะอาด จึงช่วยป้องกันและบำบัดโรคที่พบบ่อยในผู้ที่มีความดันโลหิตสูงได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น หลอดเลือดหัวใจตีบ เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง อัมพฤกษ์ อัมพาต ฯลฯ
  • บำรุงไต ให้หยิน-หยางในไตเกิดความสมดุล ไตจึงสามารถส่งหยินไปหล่อเลี้ยงตับได้อย่างเพียงพอ ช่วยป้องกันไม่ให้ตับร้อนรุ่มจนเกินไป ซึ่งเป็นต้นเหตุสำคัญของความดันสูง เมื่อตับอยู่ในสภาวะสมดุลก็จะมีการสร้างคอเลสเตอรอลในปริมาณที่เหมาะสม และในขณะเดียวกันเมื่อไตแข็งแรงขึ้น พลังชี่ที่เป็นแรงผลักดันของเลือดก็จะสมบูรณ์ขึ้น ระบบการไหลเวียนของเลือดจึงทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ท่านที่สนใจดูแลความดันและสุขภาพหลอดเลือดตามทัศนะการแพทย์จีน ก็สามารถขอรับคำปรึกษาจากแพทย์แผนจีนและผู้เชี่ยวชาญได้ที่ไอดีไลน์ @enwei

จบแล้วกับคำถามที่ว่า เป็นความดันสูงกินกาแฟได้ไหม พร้อมด้วยประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทางเอินเวย์หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์แก่ทุกท่านนะคะ

เอินเวย์ ศูนย์รวมยาสมุนไพรจีนระดับพรีเมี่ยมจากประเทศจีน ซึ่งอยู่เคียงข้างสังคมไทยมานานกว่า 30 ปี ขอเป็นอีกหนึ่งทางเลือกธรรมชาติในการดูแลสุขภาพตามศาสตร์การแพทย์จีน เพื่อให้ทุกท่านได้มีสุขภาพที่ดี

ปรึกษาแพทย์จีน
ปรึกษาแพทย์จีน
Scroll to Top