หน้าแรก  »  บทความสุขภาพ  »  บำรุงไต บำบัดภาวะไตอ่อนแอ ไตเสื่อม การแพทย์จีนมีทางช่วย เอินเวย์มีทางออก

บำรุงไต บำบัดภาวะไตอ่อนแอ ไตเสื่อม การแพทย์จีนมีทางช่วย เอินเวย์มีทางออก

ภาวะไตอ่อนแอ สัญญาณอันตรายของสุขภาพ การแพทย์จีนมีทางรักษา

การแพทย์จีนมีประวัติศาสตร์อันยาวนานเป็นเวลานับพันปี ไม่ว่าทฤษฎีทางด้านกายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา พยาธิวิทยาหรือเภสัชวิทยาของการแพทย์จีน ต่างมีความแตกต่างไปจากการแพทย์ตะวันตกอย่างสิ้นเชิง เนื่องจากพื้นฐานที่แตกต่างกัน ดังนั้นเพื่อให้เข้าใจหลักการและวิธีการดูแลสุขภาพ ในทัศนะการแพทย์จีนได้ง่ายขึ้น เอินเวย์ ขอแนะนำให้ท่านถอดแว่นของนักวิชาการสมัยใหม่ทิ้งเสีย เพราะหากใช้ทฤษฎีการแพทย์ตะวันตกมาตีความกับการแพทย์จีนแล้ว อาจเกิดความสับสนได้…

เคสตัวอย่าง

คุณวัลวิภา อายุเพียง 34 ปี มีอาการอ่อนเพลียเรื้อรังและมึนศีรษะเป็นประจำมาร่วมปี เธอไปตรวจร่างกายที่โรงพยาบาล ไม่ว่าผลการตรวจเลือดหรือคลื่นแม่เหล็กถ่ายภาพสมอง (MRI) ต่างพบว่าปกติ จึงได้แต่คำแนะนำว่าอย่าเครียดและยาปลอบใจ ที่ว่าจะช่วยบำรุงร่างกายกลับมาทานที่บ้าน แต่อาการต่างๆ ก็ไม่เห็นทุเลาลง คุณวัลวิภาจึงต้องไปโรงพยาบาลอีก 2 แห่ง หวังว่าจะได้เจอหมอที่เก่งกว่ารักษาให้หายได้ แต่ผลการตรวจก็ออกมาเหมือนเดิมว่าปกติทุกประการ ทั้งๆ ที่เธอมีอาการหลายอย่างและรู้สึกไม่สบายมาก สุดท้ายเธอก็หันกลับมาหาหมอคนเดิมและขอให้คุณหมอวินิจฉัยใหม่ จนคุณหมอถามเธอว่า “หมอบอกแล้วว่าคุณไม่ได้เป็นอะไร คุณอยากให้เป็นอะไรหรือไง!?” นอกจากอาการอ่อนเพลียเรื้อรังและมึนศีรษะแล้ว เธอยังมีอีกสารพัดอาการ เช่น ปัสสาวะบ่อย นอนไม่หลับ ขี้หนาว สะดุ้งตื่นเป็นประจำ ปวดเมื่อยตามร่างกาย ผิวหน้าหมองคล้ำ ผมร่วง เป็นต้น เกิดอะไรขึ้นกับร่างกายของคุณวัลวิภา ???

ภาวะไตอ่อนแอ…สัญญาณอันตรายของสุขภาพ

คุณอาจมีปัญหาสุขภาพหรือประสบการณ์การรักษา ที่คล้ายกับคุณวัลวิภา เมื่อคุณหมอแผนตะวันตกบอกว่า คนไข้อย่างคุณวัลวิภาเธอไม่ได้เป็นอะไร แล้วคนไข้เหล่านั้นเป็นอะไรกันแน่ เกิดจากความเครียดหรืออุปทานไปเองจริงหรือ?!

จริงๆ แล้ว สารพัดอาการของคุณวัลวิภา หากวินิจฉัยตามหลักการแพทย์จีนคือ เกิดจากภาวะไตอ่อนแอ ซึ่งเป็นศัพท์เฉพาะของการแพทย์จีน ที่ได้มีการบันทึกในตำราการแพทย์มาแล้วนับพันปี หากแพทย์จีนท่านใดวินิจฉัยว่า คุณมีภาวะไตอ่อนแอ คุณอย่าเพิ่งเข้าใจผิดว่าคุณเป็นโรคไต และไม่ต้องรีบแย้งกลับไปว่าคุณเพิ่งไปตรวจสุขภาพมา ไตไม่มีปัญหาหรอก เพราะว่าภาวะไตอ่อนแอไม่ใช่โรคไต ในความหมายของการแพทย์ตะวันตก หากหมายถึงสภาพไตเสื่อมลง ไม่แข็งแรงเท่าที่ควร ทำให้สมรรถภาพการขับน้ำและของเสียของไตลดลง ส่งผลกระทบต่อดุลยภาพของอิเล็กโทรไลต์ และความเป็นกรดด่างของร่างกาย รวมทั้งเกิดภาวะพร่องฮอร์โมนชนิดสำคัญ ที่สร้างจากไตและต่อมหมวกไตด้วย การเปลี่ยนแปลงทั้งหมดนี้ จะทำให้เกิดอาการผิดปกติของอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย หากไม่มีการบำบัดรักษาอย่างทันท่วงที ก็จะแก่ก่อนวัยและพัฒนากลายเป็นโรคร้ายต่างๆ เช่น โรคระบบหลอดเลือดและหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคที่เกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน โรคเกาต์ อัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นต้น หรืออาจพัฒนากลายเป็นไตอักเสบหรือไตวายได้ในที่สุด

YouTube player

ไตเป็นรากฐานของชีวิต

ไต (รวมทั้งต่อมหมวกไตด้วย) มีบทบาทสำคัญยิ่ง ในการควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกาย การพัฒนาสมอง การสร้างกระดูก การสร้างเม็ดเลือด สมรรถภาพทางเพศ การสืบพันธุ์และความชรา นอกจากนี้ ไตยังมีความสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับ ระบบการทำงานของหัวใจ ปอด ตับ ม้าม ระบบฮอร์โมน ระบบประสาทและระบบภูมิคุ้มกัน ทั้งนี้ เนื่องจากไตมีหน้าที่สำคัญดังนี้

  1. ขับของเสียออกจากร่างกาย เช่น ของเสียที่มาจากการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย ของเสียที่มาจากการเผาผลาญอาหาร ของเสียที่มาจากการใช้ยา สารเคมีหรือสารแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย เป็นต้น
  2. รักษาความสมดุลของน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย ไตจะทำหน้าที่ควบคุมปริมาณน้ำ และระดับความเข้มข้นของเกลือแร่ในร่างกาย ถ้าไตไม่แข็งแรง ปริมาณน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย ก็จะขาดความสมดุล จนเกิดผลกระทบหรือเป็นอันตรายต่อร่างกายได้
  3. รักษาความสมดุลของสภาพความเป็นกรดและด่าง ไตทำหน้าที่รักษาความเป็นกรดและด่างของร่างกาย ให้อยู่ในภาวะสมดุล เพื่อให้อวัยวะต่างๆ ในร่างกายทำงานได้อย่างปกติ
  4. ควบคุมความดันโลหิตของร่างกายให้อยู่ในสภาวะปกติ ไตเป็นอวัยวะสำคัญที่สุดอย่างหนึ่ง ที่จะควบคุมความดันโลหิตในร่างกาย ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ถ้าไตทำงานผิดปกติ ความดันโลหิตก็จะสูงผิดปกติ
  5. ไตทำหน้าที่ควบคุมและสร้างฮอร์โมนสำคัญหลายชนิด เช่น Erythropoietin ซึ่งเป็นฮอร์โมนสำคัญในการกระตุ้นไขกระดูก สร้างเม็ดเลือดแดง Renin และ Prostaglandin ซึ่งเป็นฮอร์โมนสำคัญ ในการช่วยควบคุมความดันโลหิตในร่างกาย เป็นต้น
  6. ไตทำหน้าที่ควบคุมความแข็งแกร่งของกระดูก ไตควบคุมการสร้างวิตามินดี แคลเซียมและฟอสฟอรัส ถ้าไตเสื่อมลง กระดูกก็จะไม่แข็งแรงหรือผุกร่อน รวมทั้งระดับแคลเซียมและฟอสฟอรัสในเลือด ก็อาจผิดปกติจนเป็นอันตรายต่อร่างกายได้

การแพทย์จีน จึงเปรียบไตเป็นเสมือนรากฐานของชีวิต ปัจจุบัน การแพทย์จีนนิยมใช้ยาสมุนไพรจีนที่อยู่ในรูปแบบของสารสกัด ในการบำรุงรักษาไต เพื่อสร้างเสริมสุขภาพหรือบำบัดหลายๆ อาการให้หายพร้อมๆ กัน ทั้งๆ ที่แต่ละอาการดูเหมือนจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกัน ในมุมมองของการแพทย์ตะวันตกก็ตาม บำรุงไตบำบัดสารพัดโรค จึงถือเป็นวิทยาการอันล้ำค่าของการแพทย์จีน และมีบทบาทสำคัญในการดูแลรักษาสุขภาพของชาวจีนมาโดยตลอด จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมจีนไปแล้ว

สาเหตุใดทำให้ไตเสื่อมเร็วกว่าปกติ

ไตจะเสื่อมสภาพลงตั้งแต่อายุ 30 ปี ซึ่งเป็นความเสื่อมของร่างกาย ที่เป็นไปตามวัฏจักรเกิด แก่ เจ็บ ตายของสิ่งมีชีวิต จึงไม่มีใครสามารถหลีกเลี่ยงได้ ส่วนจะเสื่อมเร็วช้าหรือมากน้อย อาจไม่เท่ากันในแต่ละคน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง อาทิ

  • กรรมพันธุ์ พ่อแม่ไม่แข็งแรง หรือมีลูกตอนอายุน้อยหรืออายุมากเกินไป หรือมีลูกหลายคน หรือคลอดก่อนกำหนด หรือตอนตั้งครรภ์คุณแม่มีอาการเครียด ไม่มีการพักผ่อนและบำรุงอย่างเพียงพอ ทำให้ไตของลูกอ่อนแอตั้งแต่กำเนิด
  • การมีเพศสัมพันธ์มากเกินควร ทำให้ไตสูญเสียพลังมากไป
  • ประสบอุบัติเหตุ ไตถูกกระทบกระเทือนหรือถูกกระแทกอย่างแรงบริเวณเอว
  • ทำงานหนัก ทำงานเกินกำลังหรือทำงานหามรุ่งหามค่ำ อดหลับอดนอน
  • โรคเรื้อรังต่างๆ เช่น ความดันโลหิตสูง มะเร็ง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง วัณโรค หน่วยไตอักเสบ กรวยไตอักเสบ SLE โรคเกาต์ ฯลฯ
  • ปัจจัยเสี่ยงในชีวิตประจำวัน ผลกระทบจากการใช้ยาเคมี เช่น ยาแก้ปวด ยาคุมกำเนิด ยารักษาสิว ยาลดความดัน ฮอร์โมนทดแทน ยาลดความอ้วน ฯลฯ ความเครียด มลภาวะเป็นพิษ ยาฆ่าแมลงที่ตกค้างในผักผลไม้ สารฮอร์โมนที่สะสมในเนื้อสัตว์ อาหารทะเลที่แช่ฟอร์มาลิน หรือได้รับสารปนเปื้อนจากสิ่งแวดล้อม สารโซเดียม (ผงชูรส ผงฟู ฯลฯ) ที่มีอยู่ตามอาหาร ขนมขบเคี้ยวและบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อาหารรสจัด รสเค็มและเครื่องดื่มที่ผสมสี ฯลฯ

ปัจจัยดังกล่าว ล้วนทำให้ไตเสื่อมลงอย่างรวดเร็วและก่อนวัยอันควร เราจึงพบบ่อยว่าหลายๆ คน แม้ยังอยู่ในวัยหนุ่มสาว แต่ก็มีอาการของภาวะไตอ่อนแออย่างครบครัน เช่นเดียวกับคุณวัลวิภา

ภาวะไตอ่อนแอจะแสดงอาการอย่างไรบ้าง

ภาวะไตอ่อนแอ จะแสดงอาการหลากหลายตามระบบต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งอาจแสดงอาการใดอาการหนึ่ง หรือหลายๆ อาการพร้อมกันก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพความเสื่อมโทรมของไต อายุและระยะเวลาที่เรื้อรัง

ระบบทางเดินปัสสาวะ

  • ปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะตอนกลางคืนต้องลุกขึ้นมาเข้าห้องน้ำ
  • ปัสสาวะไม่สุด กะปริดกะปรอย
  • อั้นปัสสาวะไม่อยู่
  • น้ำปัสสาวะขุ่นหรือมีฟอง
  • อาการบวมน้ำ (ใช้นิ้วกดบริเวณหน้าแข้งแล้วมีรอยบุ๋ม)

ระบบกล้ามเนื้อและกระดูก

  • ปวดหลังปวดเอว แขนขาไม่มีเรี่ยวแรง
  • ชาปลายมือปลายเท้า
  • เป็นตะคริวบ่อย
  • ปวดข้อเป็นประจำ
  • เป็นโรคเกาต์
  • ภาวะกระดูกพรุน

ระบบประสาทและอารมณ์

  • เหนื่อยง่าย อ่อนเพลียง่าย
  • วิงเวียนศีรษะเป็นประจำ
  • นอนไม่หลับหรือหลับไม่สนิท ตื่นตอนกลางคืนเป็นประจำ
  • แขนขากระตุกในขณะนอนหลับ หรือสะดุ้งตื่นเป็นประจำ
  • ฝันทั้งคืน ตื่นเช้าขึ้นมาไม่สดชื่น ไม่อยากลุกจากที่นอน
  • ฝันว่าตกจากที่สูง จนตกใจตื่นเป็นประจำ
  • ซึมเศร้า กระวนกระวายหรือวิตกกังวล
  • ขี้หลงขี้ลืม ขาดสมาธิ
  • มีเหงื่อออกมากในขณะนอนหลับ
  • ขี้หนาว ฝ่ามือฝ่าเท้าร้อนหรือเย็นเกินไป

ระบบทางเดินอาหาร

  • เบื่ออาหาร
  • ลำไส้แปรปรวน
  • อุจจาระร่วงโดยเฉพาะร่วงระหว่างเช้ามืดถึงก่อนเที่ยง
  • อุจจาระไม่จับตัวเป็นก้อน
  • ท้องอืดท้องเฟ้อหรือท้องผูกเป็นประจำ

ระบบภูมิต้านทาน

  • เป็นหวัดบ่อยหรือเป็นหวัดง่าย
  • จาม คัดจมูกหรือน้ำมูกไหล เมื่ออากาศเปลี่ยนแปลง
  • ลมพิษ
  • สะเก็ดเงิน
  • SLE
  • ปวดข้อรูมาตอยด์

ระบบทางเดินหายใจ

  • ไอเรื้อรัง
  • หอบหืด

ระบบสืบพันธุ์

  • หย่อนสมรรถภาพทางเพศ หรือความต้องการทางเพศลดลง
  • ฝันเปียกมากกว่า 2 ครั้งต่อสัปดาห์ หรือหลั่งเร็วเป็นประจำ
  • ประจำเดือนมาผิดปกติ
  • ช่องคลอดไม่กระชับหรือเจ็บ เวลามีเพศสัมพันธ์
  • มีบุตรยากหรือแท้งบุตร
  • เข้าสู่วัยทองก่อนวัยอันควร

สภาพภายนอกของร่างกาย

  • ผิวหน้าหมองคล้ำ หยาบกร้าน ไม่มีเลือดฝาด มีฝ้าบนใบหน้า
  • ใต้ตาหมองคล้ำหรือบวม
  • หน้าอกหย่อนยาน
  • ผมหงอกก่อนวัย
  • ผมร่วงเกิน 50 เส้นต่อวัน หรือร่วงเป็นจำนวนมากตอนสระผม
  • น้ำหนักขึ้นหรือลงอย่างฮวบฮาบ

อาการทางหู-ตา

  • หูอื้อหรือไม่ค่อยได้ยิน ต้องให้คนอื่นพูดซ้ำเป็นประจำ
  • ตาลาย ตาพร่า
  • โรคเมเนียส์ (น้ำในหูไม่เท่ากัน)

หากคุณมีมากกว่า 2 อาการ แสดงว่าไตของคุณเสื่อมลงแล้ว ยิ่งมีอาการมากเท่าไร ไตก็ยิ่งเสื่อมโทรมลงมากเท่านั้น ซึ่งเป็นสัญญาณอันตรายของสุขภาพ ที่คุณควรจะหันมาใส่ใจอย่างจริงจัง

การบำรุงรักษาไตทำไมต้องเริ่มตั้งแต่วัยหนุ่มสาว

การบำรุงรักษาไตให้แข็งแรงอยู่เสมอ จำเป็นจะต้องเริ่มตั้งแต่วันนี้ ถึงแม้ว่าอายุยังไม่ถึง 30 ปีก็ตาม ไตอ่อนแอในช่วงแรก เราอาจไม่รู้สึกมีอาการผิดปกติมากมายก็ได้ เนื่องจากโดยธรรมชาติแล้ว ร่างกายสามารถปรับตัวได้ระดับหนึ่ง เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาการต่างๆ ของภาวะไตอ่อนแอ มักจะเรื้อรังอย่างช้าๆ จนเราคุ้นเคยกับความผิดปกติของร่างกาย ถึงขนาดลืมไปแล้วว่าตอนเราปกติจริงๆ นั้นเป็นอย่างไร

นอกจากนี้ ผลการตรวจเลือดเกี่ยวกับการทำงานของไต ตามหลักการแพทย์ตะวันตก ที่ต้องรอให้ไตเสียไปมากกว่า 70% จึงแสดงค่า BUN และ Creatinine ที่ผิดปกตินั้น ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนจำนวนมากเข้าใจผิดว่า ถ้าผลตรวจยังปกติก็แสดงว่าไตยังแข็งแรงอยู่ ทั้งๆ ที่ไตเสื่อมไปมากแล้วก็ตาม จึงทำให้หลายๆ คนชะล่าใจ และปล่อยทิ้งไว้ให้เรื้อรังจนพัฒนาเป็นโรคร้ายต่างๆ แล้วค่อยดิ้นรนรักษาด้วยทุกวิถีทาง

YouTube player
YouTube player
ปรึกษาแพทย์จีน
ปรึกษาแพทย์จีน
Scroll to Top