ต่อมไทรอยด์อยู่ตรงไหนและทำหน้าที่อะไร
ต่อมไทรอยด์เป็นต่อมไร้ท่อที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย ซึ่งอยู่บริเวณลำคอด้านหน้าต่ำกว่าลูกกระเดือกเล็กน้อย มีลักษณะเป็นแผ่นเนื้อเยื่อคล้ายปีผีเสื้ออยู่ 2 ข้างทั้งซ้ายและขวา ต่อมไทรอยด์มีหน้าที่หลั่งฮอร์โมนออกมา 2 ตัวซึ่งเรียกง่ายๆ ว่า T3 และ T4 เข้าไปในกระแสเลือดเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายทำงานปกติ เช่น การเผาผลาญอาหาร การควบคุมอุณหภูมิ การใช้ออกซิเจน การทำงานของระบบประสาท การสังเคราะห์โปรตีน การเจริญเติบโต เป็นต้น
ไทรอยด์เป็นพิษคืออะไร
ไทรอยด์เป็นพิษ หมายถึงต่อมไทรอยด์มีการหลั่งฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินไปจนทำให้เกิดอาการผิดปกติต่าง ๆ ซึ่งเป็นโรคที่พบได้ค่อนข้างบ่อยและพบได้ทุกวัย แต่จะพบมากในช่วงอายุระหว่าง 20-40 ปี พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย 5 เท่า โรคนี้มักจะเรื้อรังเป็นปี ๆ บางรายอาจหายได้เอง แต่ก็จะกำเริบได้อีก หากไม่ได้รับการรักษาอาจเป็นอันตรายร้ายแรงได้ นอกจากนี้ยังพบว่าโรคนี้มีความสัมพันธ์กับกรรมพันธุ์และความเครียดทางจิตใจ
ไทรอยด์เป็นพิษเกิดจากสาเหตุอะไร
ปกติต่อมไทรอยด์จะสร้างฮอร์โมนภายใต้การควบคุมของต่อมใต้สมอง กล่าวคือ ถ้าต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย ต่อมใต้สมองก็จะหลั่งฮอร์โมนออกมากระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์ทำงานมากขึ้น แต่ถ้าต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป ต่อมใต้สมองก็ลดการหลั่งฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์ ทำให้ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยลงสู่ระดับปกติ
ผู้ที่เป็นโรคไทรอยด์เป็นพิษจะพบว่าต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไปโดนอยู่นอกเหนือการควบคุมของต่อมใต้สมอง ทำให้มีการหลั่งฮอร์โมนไทรอยด์ออกมาในกระแสเลือดเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะไปกระตุ้นเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกายทำงานมากผิดปกติจนเกิดอาการไม่สบายต่าง ๆ
ไทรอยด์เป็นพิษมีอาการอย่างไร
- เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ ใจหวิว ใจสั่น มือสั่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาทำงานละเอียด เช่น เขียนหนังสือ งานฝีมือ เป็นต้น
- มักจะมีความรู้สึกขี้ร้อน ชอบอาการเย็นมากกว่าอาการร้อน เหงื่อออกง่าย (ฝ่ามือจะมีเหงื่อชุ่มตลอดเวลา)
- น้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็วโดยที่ผู้ป่วยทานได้ปกติหรืออาจทานจุขึ้นกว่าเดิมด้วยซ้ำ ทั้งนี้ เนื่องจากร่างกายมีการเผาผลาญอาหารมากขึ้น
- มักจะมีลักษณะอยู่ไม่สุข ชอบทำโน่นทำนี่ บางทีดูเป็นคนขี้ตื่นหรือมีท่าทางหลุกหลิก อาจมีอาการหงุดหงิด โมโหง่าย
- บางรายอาจมีลักษณะตาโปนหรือหนังตาหดรั้งขึ้นไปทำให้เห็นตาขาวข้างบนชัด
- บางรายอาจมีอาการถ่ายเหลวบ่อยครั้งคล้ายท้องเดิน หรืออาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน
- บางครั้งอาจมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง กลืนลำบากหรือมีอัมพาตเป็นครั้งคราวจากโพแทสเซียมในเลือดต่ำ
- ผู้หญิงบางรายอาจมีประจำเดือนน้อย หรือมาไม่สม่ำเสมอหรือประจำเดือนขาด
แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยโรคไทรอยด์เป็นพิษไม่จำเป็นต้องรอให้มีครบทุกอาการ อาจมีอาการเด่นอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เหนื่อยง่าย ใจสั่นหรือน้ำหนักลดลงผิดปกติ เป็นต้น ถ้าสงสัยอย่าปล่อยทิ้งไว้ ควรรีบตรวจและเช็คเลือดหรือทำอัลตร้าซาวด์ดูว่ามีความผิดปกติหรือไม่
สาเหตุโรคไทยรอยด์เป็นพิษในทัศนะการแพทย์จีน
ในทัศนะการแพทย์จีน โรคไทรอยด์เป็นพิษส่วนใหญ่เกิดจากสภาพหยินพร่อง – หยางเกิน (阴虚阳亢) ในร่างกาย กล่าวคือหยินในไตพร่องลงและหยางในตับมีมากเกินไป
ในตับและในไตมีทั้งหยิน (ความเย็น) และหยาง (ความร้อน) ปกติไตจะต้องส่งหยินในไตไปหล่อเลี้ยงตับเพื่อมิให้ตับรุ่มร้อนเกินไป แต่ถ้าไตเสื่อมลงจะไม่สามารถส่งหยินไปหล่อเลี้ยงตับได้อย่างเพียงพอ ส่งผลให้ความร้อนในตับมีมากเกินไปจนลอยตัวขึ้นไปกระทบบนศีรษะ (肝阳上亢) จึงทำให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น อยู่ไม่เป็นสุข ขี้ตื่นหรือมีท่าทางหงุดหงิด โมโหง่าย รู้สึกขี้ร้อน เหงื่อออกง่าย มือสั่น ใจหวิว ใจสั่น เป็นต้น
นอกจากนี้ หยางในตีบมีมากเกินไปยังส่งผลกระทบต่ออวัยวะและระบบการทำงานอื่น ๆ ในร่างกาย อาทิ
- ผลกระทบต่อกระเพาะอาหาร ทำให้กระเพาะอาหารร้อน จึงรู้สึกหิวบ่อย ทานจุขี้นกว่าเดิม
- ผลกระทบต่อม้าม หนึ่งในหน้าที่สำคัญของม้ามคือควบคุมการดูดซึมอาหารและน้ำของร่างกาย หากม้ามอ่อนแอก็จะเกิดอาการเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง กล้ามเนื้ออ่อนแรง ไม่สามารถขับเคลื่อนการส่งน้ำและความชื้นได้ปกติ ซึ่งจะทำให้น้ำและความชื้นมีการสะสมและเกาะกลุ่มเป็นก้อนไปคั่งค้างตามจุดต่าง ๆ ของร่างกาย รวมทั้งบริเวณต่อมไทรอยด์ด้วย จึงทำให้ต่อมไทรอยด์โตขึ้น ถ้ามีการสะสมเกาะกลุ่มเป็นเวลานานและหนาแน่นขึ้นก็จะกลายเป็นเนื้องอก
- ผลกระทบต่อระบบการไหลเวียนของโลหิต ซึ่งทำให้เลือดเหนียวหนืดและไหลเวียนไม่สะดวก
การแพทย์จีนมีวิธีบำบัดโรคไทรอยด์เป็นพิษอย่างไร
สำหรับโรคไทรอยด์เป็นพิษ การแพทย์จีนนิยมใช้สมุนไพรจีนในการบำรุงหยินในไต เพื่อลดภาวะหยางในตับมีมากเกินไป ปรับความสมดุลของม้าม เพื่อขจัดปัญหาความชื้นสะสมที่เกาะกลุ่มเป็นก้อนไปคั่งอยู่ตามจุดต่าง ๆ ของร่างกายร่วมกับช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต
จากการวิจัยและทดลองทางการแพทย์และเภสัชวิทยาในปัจจุบันพบว่า ยาสมุนไพรจีนที่อยู่ในรูปแบบของสารสกัดเป็นรูปแบบที่มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูงที่สุด เนื่องจากสามารถสกัดและควบคุมสารออกฤทธิ์ได้อย่างเข้มข้นและแม่นยำโดยมีกลไกออกฤทธิ์สำคัญดังนี้
- สามารถลดอัตราการเต้นของหัวใจ จึงลดอาการใจสั่น ใจหวิวได้อย่างเด่นชัด
- ยับยั้งการสร้างฮอร์โมนไทรอยด์ขึ้นมาใหม่ และยับยั้งการออกฤทธิ์ของไทรอยด์ที่มีอยู่แล้ว จึงสามารถลดฮอร์โมนไทรอยด์ T3 และ T4 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ปรับลดอัตราการสร้างความร้อนของร่างกายที่ระดับต่ำสุดของปฏิกิริยาเคมีในเซลล์ในภาวะที่ตื่น (Basal Metabolism Rate : BMR) เพื่อลดการเผาผลาญที่มากเกินไปของร่างกาย
อาการเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ ใจหวิว ใจสั่น มือสั่น ขี้ร้อน ตาโปนและอาการอื่นๆ ของโรคไทรอยด์เป็นพิษก็จะค่อยๆ ทุเลาลงและเห็นผลโดยรวมสูงถึง 92.7% ระยะเวลาการรักษาอาจไม่เท่ากันในแต่ละคน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอายุ ความรุนแรงของอาการและระยะเวลาที่เรื้อรัง
ที่สำคัญคือ การรักษาโรคไทรอยด์เป็นพิษด้วยวิธีการบำบัดแบบองค์รวมสามารถหลีกเลี่ยงผลเสียจากการรักษาด้วยวิธีอื่น เช่น ไปกดการสร้างเม็ดเลือดขาว ทำให้ภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำจนเกิดอาการแพ้ ซึ่งมีผื่นคันขึ้นตามผิวหนังหรือทำให้ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนได้น้อยเกินความต้องการของร่างกาย เป็นต้น
*ตัวอย่างสถิติผลการรักษาจากโรงพยาบาลในประเทศจีน